Menu Close

อบรมพนักงาน วิธียื่นภาษีออนไลน์ 2566 ฉบับมือใหม่

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคืออะไร?

กรมสรรพากรได้นิยามความหมายของคำว่า “ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา” ไว้ว่า

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีท่ีจัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีท่ีมีลักษณะพิเศษ ตามท่ีกฎหมายกำหนด และมีรายได้เกิดขึ้น ตามเกณฑ์ท่ีกำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี รายได้ท่ีเกิดข้ึนในปีใด ๆ ผู้มีรายได้มีหน้าท่ีต้องนำไปแสดงรายการตนเอง ตามแบบแสดงรายการภาษีท่ีกำหนดภายในเดือนมกราคมถึงมีนาคมของปีถัดไป

ใครมีหน้าที่ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา?

คนไทยทุกคนที่มีรายได้พึงประเมินถึงเกณฑ์ขั้นต่ำ มีหน้าที่ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แบ่งเกณฑ์ตามสถานะโสดและสมรส โดยมีรายละเอียดดังนี้

คนโสดที่มีรายได้เป็นเงินเดือนตั้งแต่ 10,000 บาท ต่อเดือน (ภ.ง.ด. 91) หรือ 120,000 บาท ต่อปี รวมถึงคนโสดที่มีรายได้ประเภทอื่นที่ไม่ใช่เงินเดือน (ภ.ง.ด. 90) ตั้งแต่ 5,000 บาท ต่อเดือน หรือ 60,000 บาท ต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่นภาษี
คนที่สมรสแล้วที่มีรายได้เป็นเงินเดือน (ภ.ง.ด. 91) ตั้งแต่ 18,333 บาท ต่อเดือน หรือ 220,000 บาท ต่อปี รวมถึงคนที่สมรสแล้วที่มีรายได้ประเภทอื่นที่ไม่ใช่เงินเดือน (ภ.ง.ด. 90) ตั้งแต่ 10,000 บาท ต่อเดือน หรือ 120,000 บาท ต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่นภาษี

ต้องยื่นภาษีเงินได้เมื่อไร?

ปกติการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะยื่นปีละ 1 ครั้ง ภายในวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 มีนาคม ของปีถัดไป เช่น รายได้เกิดขึ้นในปี 2565 (ปีภาษี 2565) ต้องยื่นภาษีภายในวันที่ 1 ม.ค. – 31 มี.ค. 2566

หากเป็นเงินได้บางลักษณะ เช่น การให้เช่าทรัพย์สิน เงินได้จากวิชาชีพอิสระ เงินได้จากการรับเหมา เงินได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ เป็นต้น จะต้องยื่นภาษีตอนกลางปี ภายในเดือนกันยายนของทุกปี
เอกสารที่ต้องเตรียมยื่นภาษีออนไลน์
การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ ภ.ง.ด. 91 สำหรับผู้ที่มีรายได้จากเงินเดือนเพียงอย่างเดียว และ ภ.ง.ด. 90 สำหรับผู้ที่มีรายได้อื่น ๆ นอกเหนือจากเงินเดือน โดยมีเอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับยื่นภาษีดังนี้

หนังสือรับรองภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ) โดยเป็นเอกสารที่แสดงถึงรายได้รวมทั้งปี หลังจากหักชำระกองทุน หรือเงินทุนสำรองต่าง ๆ
รายการลดหย่อนภาษีที่รวบรวมไว้ทั้งปี เช่น ค่าเลี้ยงดูบิดา-มารดา ค่าเลี้ยงดูบุตร เป็นต้น
เอกสารประกอบการลดหย่อนภาษีเพื่อประกอบการกรอกแบบฟอร์มยื่นภาษี เช่น จำนวนเงินที่ซื้อกองทุน เบี้ยประกันชีวิต ประกันสุขภาพ หรือค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าหรือบริการ เป็นต้น
ผลการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
กรณีไม่มีภาษีต้องชำระ หรือมีภาษีชำระไว้เกิน
ในกรณีไม่มีภาษีต้องชำระ ระบบจะแจ้งผลการยื่นแบบและหมายเลขอ้างอิง พร้อมออกเอกสารแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและใบเสร็จรับเงินเพื่อเป็นหลักฐานในการยื่นแบบ

กรณีมีภาษีชำระไว้เกิน กรมสรรพากรจะทำการอนุมัติคืนภาษีให้ทันที โดยสามารถเลือกรับคืนเงินภาษีที่ชำระเกินได้ทั้งช่องทางพร้อมเพย์ และบัญชีของธนาคารกรุงไทย พร้อมติดตามสถานะคืนเงินภาษีได้ผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร https://www.rd.go.th/

กรณีมีภาษีต้องชำระเพิ่มเติม
ในกรณีมีภาษีต้องชำระเพิ่มสามารถเลือกชำระภาษีได้หลายช่องทาง ได้แก่ QR Code, E-Payment, Internet Credit Card, ATM on Internet, บัตรภาษี และชำระผ่านช่องทางอื่น ๆ เช่น Pay-In Slip ผ่านช่องทาง Counter Service, Tele-Banking และอื่น ๆ

ทั้งนี้หากมียอดภาษีที่ต้องชำระตั้งแต่ 3,000 บาท ขึ้นไป สามารถเลือกผ่อนชำระภาษีได้สูงสุด 3 งวดเท่า ๆ กัน โดยไม่มีดอกเบี้ยหรือค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในกรณีที่ชำระเงินภายในวันที่กำหนด (หากไม่ชำระภายในวันที่กำหนดจะคิดดอกเบี้ย 1.5% ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีงวดที่เหลือ) โดยระบบจะคำนวณยอดชำระพร้อมกำหนดวันที่ต้องชำระให้ทั้ง 3 งวด และจะมี SMS จากกรมสรรพากรแจ้งเตือนเมื่อครบกำหนดวันที่ต้องชำระภาษี

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคืออะไร?
กรมสรรพากรได้นิยามความหมายของคำว่า “ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา” ไว้ว่า
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีท่ีจัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีท่ีมีลักษณะพิเศษ ตามท่ีกฎหมายกำหนด และมีรายได้เกิดขึ้น ตามเกณฑ์ท่ีกำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี รายได้ท่ีเกิดข้ึนในปีใด ๆ ผู้มีรายได้มีหน้าท่ีต้องนำไปแสดงรายการตนเอง ตามแบบแสดงรายการภาษีท่ีกำหนดภายในเดือนมกราคมถึงมีนาคมของปีถัดไป
ใครมีหน้าที่ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา?
คนไทยทุกคนที่มีรายได้พึงประเมินถึงเกณฑ์ขั้นต่ำ มีหน้าที่ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แบ่งเกณฑ์ตามสถานะโสดและสมรส โดยมีรายละเอียดดังนี้
คนโสดที่มีรายได้เป็นเงินเดือนตั้งแต่ 10,000 บาท ต่อเดือน (ภ.ง.ด. 91) หรือ 120,000 บาท ต่อปี รวมถึงคนโสดที่มีรายได้ประเภทอื่นที่ไม่ใช่เงินเดือน (ภ.ง.ด. 90) ตั้งแต่ 5,000 บาท ต่อเดือน หรือ 60,000 บาท ต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่นภาษี
คนที่สมรสแล้วที่มีรายได้เป็นเงินเดือน (ภ.ง.ด. 91) ตั้งแต่ 18,333 บาท ต่อเดือน หรือ 220,000 บาท ต่อปี รวมถึงคนที่สมรสแล้วที่มีรายได้ประเภทอื่นที่ไม่ใช่เงินเดือน (ภ.ง.ด. 90) ตั้งแต่ 10,000 บาท ต่อเดือน หรือ 120,000 บาท ต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่นภาษี
ต้องยื่นภาษีเงินได้เมื่อไร?
ปกติการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะยื่นปีละ 1 ครั้ง ภายในวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 มีนาคม ของปีถัดไป เช่น รายได้เกิดขึ้นในปี 2565 (ปีภาษี 2565) ต้องยื่นภาษีภายในวันที่ 1 ม.ค. – 31 มี.ค. 2566
หากเป็นเงินได้บางลักษณะ เช่น การให้เช่าทรัพย์สิน เงินได้จากวิชาชีพอิสระ เงินได้จากการรับเหมา เงินได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ เป็นต้น จะต้องยื่นภาษีตอนกลางปี ภายในเดือนกันยายนของทุกปี
เอกสารที่ต้องเตรียมยื่นภาษีออนไลน์
การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ ภ.ง.ด. 91 สำหรับผู้ที่มีรายได้จากเงินเดือนเพียงอย่างเดียว และ ภ.ง.ด. 90 สำหรับผู้ที่มีรายได้อื่น ๆ นอกเหนือจากเงินเดือน โดยมีเอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับยื่นภาษีดังนี้
หนังสือรับรองภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ) โดยเป็นเอกสารที่แสดงถึงรายได้รวมทั้งปี หลังจากหักชำระกองทุน หรือเงินทุนสำรองต่าง ๆ
รายการลดหย่อนภาษีที่รวบรวมไว้ทั้งปี เช่น ค่าเลี้ยงดูบิดา-มารดา ค่าเลี้ยงดูบุตร เป็นต้น
เอกสารประกอบการลดหย่อนภาษีเพื่อประกอบการกรอกแบบฟอร์มยื่นภาษี เช่น จำนวนเงินที่ซื้อกองทุน เบี้ยประกันชีวิต ประกันสุขภาพ หรือค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าหรือบริการ เป็นต้น
ผลการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
กรณีไม่มีภาษีต้องชำระ หรือมีภาษีชำระไว้เกิน
ในกรณีไม่มีภาษีต้องชำระ ระบบจะแจ้งผลการยื่นแบบและหมายเลขอ้างอิง พร้อมออกเอกสารแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและใบเสร็จรับเงินเพื่อเป็นหลักฐานในการยื่นแบบ
กรณีมีภาษีชำระไว้เกิน กรมสรรพากรจะทำการอนุมัติคืนภาษีให้ทันที โดยสามารถเลือกรับคืนเงินภาษีที่ชำระเกินได้ทั้งช่องทางพร้อมเพย์ และบัญชีของธนาคารกรุงไทย พร้อมติดตามสถานะคืนเงินภาษีได้ผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร https://www.rd.go.th/
กรณีมีภาษีต้องชำระเพิ่มเติม
ในกรณีมีภาษีต้องชำระเพิ่มสามารถเลือกชำระภาษีได้หลายช่องทาง ได้แก่ QR Code, E-Payment, Internet Credit Card, ATM on Internet, บัตรภาษี และชำระผ่านช่องทางอื่น ๆ เช่น Pay-In Slip ผ่านช่องทาง Counter Service, Tele-Banking และอื่น ๆ
ทั้งนี้หากมียอดภาษีที่ต้องชำระตั้งแต่ 3,000 บาท ขึ้นไป สามารถเลือกผ่อนชำระภาษีได้สูงสุด 3 งวดเท่า ๆ กัน โดยไม่มีดอกเบี้ยหรือค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในกรณีที่ชำระเงินภายในวันที่กำหนด (หากไม่ชำระภายในวันที่กำหนดจะคิดดอกเบี้ย 1.5% ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีงวดที่เหลือ) โดยระบบจะคำนวณยอดชำระพร้อมกำหนดวันที่ต้องชำระให้ทั้ง 3 งวด และจะมี SMS จากกรมสรรพากรแจ้งเตือนเมื่อครบกำหนดวันที่ต้องชำระภาษี
error: เนื้อหาได้รับการคุ้มครอง !!