Menu Close

TO BE NUMBER ONE

โครงการ TO BE NUMBER ONE

โครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ( TO BE NUMBER ONE)

 

 
ขอชอบคุณตัวแทนมอบป้าย TO BE NUMBER ONE ให้แก่บริษัท สยามวอเตอร์เฟลม ในการเข้าร่วม โครงการ To Be number one
      เนื่องด้วยทาง บริษัทสยามวอเตอร์เฟลมจำกัด ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของเยาวชนและพนักงาน และเห็นถึงโทษอันตราย จากสิ่งเสพติดทั้งหลาย ทางบริษัทจึงได้เข้าร่วมโครงการเพื่อเป็นอีกหนึงเสียง เพื่อร่วมขับเคลื่อน ต่อต้านยาเสพติด เพื่อสุขภาพของเยาวชนและพนักงาน อีกทั้งสิ่งแวดล้อม ชุมชน,สังคม ให้ปลอดภัยและน่าอยู่ ปลอดจากสิ่งเสพติดทุกชนิด
ความเป้นมาของโครงการ
ความเป็นมา คำขวัญ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย
    พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
“TO BE NUMBER ONE” ไม่ได้เป็นสิ่งแปลกประหลาดสำหรับลูกของข้าพเจ้า เพราะเกิดขึ้นมายาวนานหลายสิบปีแล้ว นับว่าเขาต้องเป็น TO BE NUMBER ONE เป็นคนแรก เคยกรรแสงตอนเด็ก ๆ เรียนไม่ได้ที่ ๑ จะเป็นอย่างไร ตอนใหม่ ๆ ก็แย่ รอมาตั้ง ๕๐ กว่าปีแล้ว ๔๐ กว่าปีแล้ว ทำให้ไม่แปลกใจว่า ทำไมต้องโครงการ TO BE NUMBER ONE ซึ่งมันดูแล้วอาจจะน่าหมั่นไส้ว่า ทำไมต้องมี NUMBER ONE แต่เมื่อโครงการนี้กำเนิดขึ้นมาถึง ๓ ปี ก็เห็นได้ว่าประสิทธิผลเป็น NUMBER ONE จริงๆ เราขอชมเชยทุกคน ที่ร่วมมือให้โครงการ เพื่อช่วยประชาชนที่เกิดความเดือดร้อน มีความสำเร็จเป็นส่วนใหญ่แล้ว ฉะนั้นจึงบอกว่า ก้าวหน้าต่อไปเถอะ ต้องบูรณาการทุกฝ่าย ต้องช่วยกัน โดยเฉพาะกระทรวงศึกษาธิการ ให้ถือเป็นหน้าที่โดยตรง ในการดูแลเยาวชนให้ปลอดภัยจากยาเสพติด
 
ความเป็นมา
    “ยาเสพติด” ปัญหาสำคัญระดับชาติที่รัฐบาลถือเป็นนโยบายที่ต้องเร่งดำเนินการแก้ไขอย่างจริงจัง ทั้งนี้เพราะปัญหายาเสพติดที่มีการระบาดในทุกพื้นที่ของประเทศไทยได้ทวีความรุนแรงมากขึ้น ทุกขณะ ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านการเมืองและความมั่นคงของประเทศ
     ตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นมา สภาพปัญหายาเสพติดเปลี่ยนแปลงไปจากที่เป็นอยู่ในอดีตอย่างสิ้นเชิงจากเดิมที่ “เฮโรอีน ” เป็นปัญหาสำคัญที่ตำรวจต้องเร่งปราบปรามให้สิ้นซาก กลายเป็น “ยาบ้า” หรือสารเมทแอมเฟตามีน ที่กำลังระบาดตั้งแต่ระดับครอบครัว โรงเรียน ชุมชน สังคมและประเทศ จากข้อมูลการสำรวจพบว่ามีเยาวชนจำนวนกว่า 6 แสนคน หลงเข้าสู่วังวนของ ยาบ้า และจากสถิตินักโทษเด็ดขาดของกรมราชทัณฑ์ที่ถูกจำคุกอยู่ตามทัณฑสถานทั่วประเทศ สำรวจ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2543 มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 137,344 คน ในจำนวนนี้เป็นนักโทษคดียาเสพติดเกินกว่าครึ่ง คือประมาณ 87,966 คน คิดเป็นร้อยละ 64.05 และในจำนวนนักโทษเด็ดขาด คดียาเสพติดเหล่านี้มีจำนวนมากถึง 27,499 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 31.26 ของนักโทษคดียาเสพติดที่ต้องโทษในคดีเสพหรือครอบครองและทั้งเสพและครอบครอง
     ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงมีความห่วงใยต่อประชาชนชาวไทยเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชนที่เป็นกลุ่มขนาดใหญ่ เพราะมีจำนวนถึง 21 ล้านคน และเป็นกลุ่มที่มีคุณค่าอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ นอกจากนี้ยังถือเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อการติดยาเสพติดสูง เนื่องจากเป็นวัยที่ต้องการเรียนรู้ในสิ่งต่างๆ แต่ยังขาดวุฒิภาวะทางอารมณ์ที่ดีพอ รวมทั้งต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกายและจิตใจ จึงทรงพระกรุณาธิคุณรับเป็นองค์ประธานโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ซึ่งปัจจุบันได้ใช้ชื่อเพื่อให้ง่ายต่อการรณรงค์ว่าโครงการ TO BE NUMBER ONE เพื่อรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดภายในประเทศให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ โดยความร่วมมือและรวมพลังจากภาครัฐและเอกชน กระตุ้นและปลุกจิตสำนึกของปวงชนในชาติให้มีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักว่าการที่จะเอาชนะปัญหายาเสพติดมิใช่หน้าที่ของบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่ง
     แต่ทุกคนในชาติจะร่วมแรง ร่วมใจกันเป็นพลังของแผ่นดินที่จะต่อสู้และเอาชนะปัญหายาเสพติดให้ได้โดยเร็ว โดยทรงมีพระประสงค์มุ่งเน้นการรณรงค์ในกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ วัยรุ่นและเยาวชน โดยกลวิธีสร้างกระแสการแสดงพลังอย่างถูกต้องโดยไม่ข้องแวะกับยาเสพติด การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตให้แก่เยาวชนในชุมชน จัดระบบการบำบัดรักษารองรับภายใต้โครงการ “ใครติดยา ยกมือขึ้น” ทั้งนี้เพื่อคืนคนดีสู่สังคมและป้องกันการกลับมาเสพซ้ำ ตลอดจนการสร้างเครือข่ายสมาชิกและชมรม TO BE NUMBER ONE เพื่อร่วมกันรณรงค์และจัดกิจกรรมป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นเสมือนการเติมสิ่งที่ดีให้กับชีวิต เพื่อให้เกิดค่านิยมของการเป็นหนึ่งโดยไม่ต้องพึ่งยาเสพติด ดังพระราชดำรัสในวโรกาส การแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ “TO BE NUMBER ONE” เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2545 ณ ห้องประชุมกระทรวงสาธารณสุข ความว่า “กิจกรรมในโครงการ TO BE NUMBER ONE จะเบนความสนใจจากการหาความสุขชั่วครั้งชั่วคราวจากยาเสพติด อยากให้โครงการนี้สำเร็จด้วยดี แต่จะทำคนเดียวไม่ได้ จึงขอความร่วมมือจากทุกคน ”
 
 
      ดังนั้น โครงการ TO BE NUMBER ONE จึงเริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ ปี 2545 จนถึงปัจจุบัน โดยมี “กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข” ได้รับมอบหมายทำหน้าที่เลขานุการโครงการ เพื่อเป็นแกนกลางในการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน
คำขวัญโครงการ TO BE NUMBER ONE
“ เป็นหนึ่งโดยไม่พึ่งยาเสพติด ” ความหมายคือ การเป็นหนึ่ง ทุกคนเป็นได้ เพราะทุกคนต่างมีดีอยู่ในตัวเอง หากค้นพบสิ่งที่ตัวเองชื่นชอบ สนใจและมีความถนัด สามารถฝึกฝนและทำจนเป็นผลสำเร็จได้ ทำแล้วมีความสุข มีความเชื่อมั่นและมีความภาคภูมิใจ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างกระแสค่านิยมและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจในกลุ่มเยาวชนไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด
2. เพื่อพัฒนาศักยภาพและคุณภาพเยาวชนให้เป็นคนรุ่นใหม่ที่เชื่อมั่นและภาคภูมิใจในตนเอง
3. เพื่อสนับสนุนเยาวชนและชุมชนให้จัดกิจกรรมสร้างสรรค์โดยการสนับสนุนของสังคม
4. เพื่อสร้างความเข้าใจและยอมรับผู้มีปัญหายาเสพติด โดยให้โอกาสกลับมาเป็นคนดีของสังคม
5. เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในกลุ่มประชาชนและเยาวชนทั่วไป
เป้าหมายของโครงการ
กลุ่มเป้าหมายหลัก
1. วัยรุ่นและเยาวชนอายุ 6 – 24 ปี
2. เยาวชน และประชาชนกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มเสพ
กลุ่มเป้าหมายรอง
ประชาชนทั่วไป
error: เนื้อหาได้รับการคุ้มครอง !!