Menu Close

การทำความสะอาด ภายในฟาร์ม

การทำความสะอาด ภายในฟาร์ม

การทำความสะอาด ภายในฟาร์ม 

      การทำความสะอาด ภายในฟาร์ม การทำความสะอาด และ การฆ่าเชื้อโรงเรือน และอุปกรณ์ ที่ถูกต้องจะช่วยลดปริมาณเชื้อโรคที่อยู่ใน สิ่งแวดล้อมเหลือน้อยจนไม่สามารถจะก่อให้เกิดโรคได้ดังนั้น ผู้เลี้ยงสัตว์ปีกจึงต้องให้ความใส่ใจและเข้มงวด กับขั้นตอนการทำความสะอาดและการฆ่าเชื้อโรคเพื่อให้ระบบการป้องกันทางชีวภาพที่เราได้วางแผนเอาไว้มี ประสิทธิภาพมากที่สุด 

การเตรียมโรงเรือน  

      การเตรียมโรงเรือนเพื่อให้พร้อมที่จะนำไปรุ่นใหม่เข้ามาเลี้ยงนั้นจะต้องมีการวางแผนและกำหนด ระยะเวลาในการปฏิบัติแต่ละขั้นตอนและจะต้องระบุจำนวนคนที่จะปฏิบัติงาน จำนวนอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ จะต้องใช้ รวมทั้งวิธีการและสารเคมีที่จะต้องใช้ในการทำความสะอาดและการฆ่าเชื้อโรค การเตรียมโรงเรือน และอุปกรณ์มีขั้นตอนหลัก ๆ ดังนี้ 
การจับไก่ออก เมื่อสิ้นสุดการเลี้ยงไก่จะต้องจับไก่ออกให้หมดให้เร็วที่สุดเพื่อจะช่วยหยุดวงจรการ ต่อของเชื้อโรคระหว่างฝูง เนื่องจากไก่ที่หลงเหลืออยู่จะเป็นตัวอมโรคและเป็นพาหะนำโรค 
 
       การควบคุมสัตว์พาหะ ในขั้นตอนการทำความสะอาดโรงเรือนจ าเป็นอาจจำเป็นจะต้องกำหนด ขั้นตอนการปฏิบัติเพิ่มเติมก่อนที่จะนำเอาวัสดุรองพื้นเก่าออกเพื่อป้องกันเชื้อโรคไปปนเปื้อนกับสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การฉีดพ่นยาฆ่าแมลงภายในโรงเรือนให้ทั่วเพื่อกำจัดแมลง การวางยาเบื่อหนูจะต้องวางในตำแหน่ง เดียวกันกับการวางอุปกรณ์ให้อาหารจะได้ผลในการกำจัดหนูมากที่สุด จากนั้นจะรมด้วยก๊าซฟอร์มัลดีไฮด์เพื่อ ฆ่าเชื้อโรคบางชนิดก่อนแล้วจึงปัดกวาดฝุ่น หยากไย่ ตามพื้นผิวโรงเรือนและอุปกรณ์ โดยเริ่มปฏิบัติจากที่สูงลง มาสู่ที่ต่ำ จากนั้นใช้พลาสติกปิดคลุมอุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้าเพื่อป้องกันการเปียกน้ำ จากนั้นจึงฉีดพ่นสารละลายดี เทอร์เจนท์ (Detergent) เพื่อชะล้างฝุ่นและสิ่งสกปรกที่เกาะติดอยู่ตามพื้นผิวผนัง เพดานและอุปกรณ์ลงมา  
Temp controller
       การเอาวัสดุรองพื้นเก่าและมูลออก วัสดุรองพื้นเก่าและมูลจะต้องเอาออกจนหมดและจะต้องขน ย้ายออกไปให้ไกลจากพื้นที่เลี้ยงไก่ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้หรืออย่างน้อยให้ห่างจากพื้นที่เลี้ยงไก่ไม่น้อยกว่า  3.2 กิโลเมตร เนื่องจากวัสดุรองพื้นและมูลจะมีแมลงที่เป็นพาหะนำโรค มีเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรียที่ขับถ่าย ออกมาจากไก่ปนเปื้อนอยู่ ดังนั้นในบางพื้นที่วัสดุรองพื้นและมูลจะเป็นตัวดึงดูดให้นกป่าเข้ามา 
 
เนื่องจากมีเศษ อาหารและแมลงอาศัยอยู่ซึ่งอาจจะกลายเป็นพาหะนำเชื้อโรคกลับมายังฝูงไก่ที่เลี้ยงได้  อย่างไรก็ตาม การยังคงเหลือมูลเก่าไว้บางส่วนในกรณีที่ต้องการควบคุมแมลงวันสำหรับไก่ไข่ที่เลี้ยง บนกรงก็สามารถทำได้ในระบบการเลี้ยงไก่ไข่แบบขังกรงที่มีการเก็บมูลไว้ด้านใต้โรงเรือน (Deep pit) การ เหลือมูลเดิมไว้หนาประมาณ 3-4 นิ้ว จะช่วยให้มูลของไก่ฝูงใหม่แห้งเร็วขึ้น 
 
      การเลี้ยงไก่กระทงโดยใช้วัสดุรองพื้นเดิมเลี้ยงไก่รุ่นต่อไปสามารถช่วยลดต้นทุนการเลี้ยงได้ การใช้วัสดุ รองพื้นเลี้ยงไก่หลายรุ่นเรียกว่า Built-up litter system แต่จะต้องเก็บเอาวัสดุรองพื้นที่เปียกชื้นหรือจับตัว เป็นก้อนออกให้หมด อย่างไรก็ตาม กรณีที่เกิดโรคระบาดหรือมีไก่ตายมากผิดปกติจะต้องมีการเอาวัสดุรองพื้น ออกและทำความสะอาดทั้งหมดแล้วเข้าสู่โปรแกรมการทำความสะอาดตามขั้นตอนก่อนที่จะนำไก่เข้าเลี้ยง  ระบบการใช้วัสดุรองพื้นเลี้ยงไก่หลายรุ่นเหมาะสมสำหรับบางพื้นที่ที่มีปัญหาในการจัดหาวัสดุรองพื้นและไม่มี โรคระบาด แต่จะไม่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยเนื่องจากอยู่ในเขตร้อนมีอุณหภูมิเหมาะสมต่อการเจริญของ เชื้อโรคหลายชนิด

การทำความสะอาดระบบให้อาหาร 

      อาหารที่ยังเหลืออยู่ในถังเก็บอาหารและในระบบให้อาหาร ภายในโรงเรือนจะต้องเอาออกให้หมดโดยเร็ว เนื่องจากจะเป็นตัวดึงดูดให้แมลงปีกแข็งและหนูเข้ามา ถังเก็บ อาหาร (Silo หรือ Storage bin) จะต้องทำความสะอาดให้ทั่วถึงเพื่อป้องกันการเกิดเชื้อรา จะต้องเอาอาหาร ที่เหลือหรือตกค้างอยู่ในระบบการให้อาหารทั้งในท่อขนส่งและในถาดอาหารออกให้หมดก่อนที่จะล้างทำความ สะอาดและฆ่าเชื้อ อุปกรณ์ที่เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น มอเตอร์และสวิทช์ไฟต่าง ๆ จะใช้วิธีการทำความสะอาด 
 
       แบบแห้ง คือ การปัดกวาดด้วยแปรงหรือไม้กวาดหรือใช้เครื่องดูดฝุ่นแล้วทำการฆ่าเชื้อ ถ้าระบบให้อาหารเป็น แบบถาดอัตโนมัติ(Pan feeder) จะต้องถอดตัวถาดออกจากท่อลำเลียงอาหารเพื่อทำความสะอาดโดยเฉพาะ อย่างยิ่งชิ้นส่วนที่อาจจะก่อให้เกิดเชื้อรา จากนั้นทำการฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อแล้วนำไปผึ่งแดดให้แห้งเพื่อให้ แสงอัลตร้าไวโอเล็ต (Ultraviolet ; UV) ช่วยฆ่าเชื้อโรค ห้ามนำเอาอุปกรณ์ให้อาหารที่ล้างทำความสะอาด แล้วกลับเข้าไปในโรงเรือนจนกกว่าจะทำความสะอาดภายในโรงเรือนและฆ่าเชื้อจะแล้วเสร็จ 
 

ข้อควรระวังอีก ประการได้แก่อุปกรณ์ที่ทำจากพลาสติก

เมื่อโดนแสงแดดนาน ๆ จะทำให้อายุการใช้งานสั้นลงเนื่องจากจะ กรอบและแตกหักได้ง่าย ดังนั้น เมื่อผึ่งแดดจนแห้งแล้วให้รีบนำไปเก็บไว้ในที่ร่มทันที
 
การทำความสะอาดระบบให้น้ำ  อุปกรณ์ให้น้ำอัตโนมัติ เช่น นิปเปิล (Nipple) จะต้องล้างทำความสะอาดภายในท่อโดยการเปิดจุกด้านท้ายสุดของท่อ ทำความสะอาดคราบเมือกหรือเศษตะกอนภายใน ป่อน้ำออกให้หมด ไส้กรองน้ำ (Filter) จะต้องถอดออกมาทำความสะอาดหรือเปลี่ยนไส้กรองใหม่ การฆ่าเชื้อ ภายในท่อนำามักจะใช้สารประกอบคลอรีน เนื่องจากเป็นสารฆ่าเชื้อโรคที่มีประสิทธิภาพสูงในกรณีที่ไม่มี
 
      สารอินทรีย์ ซึ่งจะมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียและไวรัสได้ดี โดยจะมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อได้ดี ที่สุดเมื่อน้ำมีอุณหภูมิมากกว่า 65 °ฟ หรือ 18.3 °ซ การผสมคลอรีนในน้ำเพื่อฆ่าเชื้อในระบบให้น้ำสามารถใช้ เครื่องผสมยาอัตโนมัติ (Medication) ช่วยในการผสมน้ำกับคลอรีน จากนั้นจึงเปิดจุกปิดท่อน้ำท้ายท่อส่งน้ำของนิปเปิลหรือถอดนิปเปิลอันสุดท้ายออกจะช่วยให้น้ำไหลผ่านท่อได้เร็วขึ้น เมื่อน้ำผสมคลอรีนไฟลเข้าไปจน เต็มท่อแล้วให้ปิดขังไว้ประมาณ 24 ชั่วโมงแล้วค่อยเปิดจุกระบายน้ำผสมคลอรีนออกไป ระดับความเข้มข้น ของคลอรีนที่เหมาะสมในการฆ่าเชื้อคือ 140 ppm แต่จะต้องไม่เกิน 5% เนื่องจากคลอรีนจะมีฤทธิ์ในการกัด กร่อนชิ้นส่วนที่เป็นโลหะได้ 
 
Temp controller
การทำความสะอาดโรงเรือนและอุปกรณ์  การปัดกวาดหยากไย่และฝุ่นอีกครั้งโดยจะต้องเริ่มต้น จากด้านบนลงมาด้านล่างหรือจากบริเวณที่สูงลงมายังที่ต่ำเสมอ ปัดกวาดทำความสะอาดใบพัดลม บานเกล็ด  หลอดไฟและอุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ ผ้าม่านและผนัง เมื่อปัดกวาดจนสะอาดแล้ว ทำการล้างพื้นผิวภายใน 
 
โรงเรือนทั้งหมดด้วยน้ำผสมผงซักฟอกหรือน้ำผสมสารดีเทอร์เจนท์(Detergent) โดยการฉีดพ่นด้วยปั้มแรงดัน สูง (Pressure pump) โดยปรับแรงดันให้เหมาะสมคือ ไม่ต่ ากว่า 200 ปอนด์/ตารางนิ้ว (PSI) เพื่อขจัดคราบ และเศษสิ่งสกปรกที่สะสมอยู่ตามพื้นผิวและตามซอกมุมออก การล้างทำความสะอาดจะต้องเริ่มต้นจากบริเวณ ที่สูงแล้วค่อย ๆ ไล่ลงมาจนกระทั่งถึงพื้นเสมอ
 
 หลังจากฉีดพ่นด้วยสารดีเทอร์เจนท์แล้วจะต้องล้างด้วยน้ำเปล่า เพื่อล้างเอาสารดีเทอร์เจน์ออกให้สะอาด สุดท้ายหลังจากที่โรงเรือนแห้งดีแล้วให้ท าการฉีดพ่นด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ โรคให้ทั่วทุกซอกทุกมุมและตามพื้นผิวภายในโรงเรือนทั้งหมดแล้วทิ้งไว้ให้แห้ง หลังจากแห้งแล้วก็ให้ฉีดพ่น น้ำยาฆ่าเชื้อโรคซ้ำอีกครั้งหนึ่ง กรณีที่ไก่ฝูงก่อนหน้านี้ป่วยเป็นโรคแนะนำให้ฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคซ้ำ 2 ครั้ง

ข้อควรระวัง ยาฆ่าเชื้อโรคและยาฆ่าแมลง

 
จะต้องใช้อัตราความเข้มข้นที่แนะนำไว้ในฉลากอย่าง เคร่งครัดเพื่อป้องกันการดื้อยาและลดการสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุและจะต้องเลือกใช้ยาฆ่าแมลงตามที่กฎหมาย  กำหนดให้ใช้เท่านั้น 
การรมก๊าซฟอร์มัลดีไฮด์ (Fumigation) การรมก๊าซฟอร์มัลดีไฮด์เพื่อฆ่าเชื้อโรคเป็นวิธีที่ใช้กันมา นานแล้ว ประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อจะขึ้นกับสภาพแวดล้อมในขณะรมก๊าซฟอร์มัลดีไฮด์ สภาพแวดล้อมที่ เหมาะสมได้แก่ 
ควรเพิ่มความชื้นสัมพัทธ์ภายในโรงเรือนให้อยู่ระหว่าง 70-80%RH 
เพิ่มอุณหภูมิภายในโรงเรือนให้สูงกว่า 21 °ซ  
 
จัดวางถาดน้ำไว้ในโรงเรือนเพื่อเพิ่มความชื้นภายในโรงเรือนและเพิ่มประสิทธิภาพการ ทำงานของก๊าซฟอร์มัลดีไฮด์และจะมีการควบแน่น (Condensation) ไปเป็น Polymerized form 4. โรงเรือนจะต้องปิดให้สนิทและทำให้เย็นลงเป็นเวลา 24 ชั่วโมงหลังจากรมก๊าซฟอร์มัลดี ไฮด์ เพื่อให้เกิดการควบแน่น (Condensation) ได้ทั่วถึง
การพักเล้า (เว้นระยะเวลาห่างระหว่างฝูง) (Idle between flock หรือ down time) หลังจากทำความสะอาดโรงเรือนและฉีดพ่นน้ ายาฆ่าเชื้อโรคเสร็จสิ้นแล้วให้นำวัสดุรองพื้นเข้าไปในโรงเรือน  
Temp controller
ติดตั้งอุปกรณ์ให้น้ำและอุปกรณ์ให้อาหาร ติดตั้งเครื่องกกให้พร้อม จากนั้นก็ทำการพักเล้าโดยการปิดล๊อก ประตูโรงเรือนห้ามมิให้บุคคลและจะต้องป้องกันสัตว์ต่าง ๆ เข้าไปภายในโรงเรือน การฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อโรคเป็น การลดปริมาณของเชื้อโรคโดยตัวสารเคมีไปสัมผัสกับเชื้อโรคโดยตรง การลดความชื้นทั้งในอากาศและบน พื้นผิวต่าง ๆ จะสามารถฆ่าเชื้อโรคได้ เนื่องจากเชื้อโรคจะไม่สามารถมีชีวิตรอดได้ภายใต้สภาพอากาศแห้ง  
 
ระยะเวลาพักเล้าที่เหมาะสมจะช่วยในการฆ่าเชื้อโรคได้ เนื่องจากเชื้อโรคสามารถมีชีวิตอยู่ภายนอกร่างกายไก่ หรือสัตว์พาหะได้ในเวลาที่สั้นยาวแตกต่างกัน ฉะนั้น การพักเล้าจึงเป็นขั้นตอนสำคัญที่จะช่วยลดปริมาณเชื้อ โรคลงได้ ซึ่งจะใช้เวลาพักเล้าสั้นยาวเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับธรรมชาติของเชื้อโรคและความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ เพราะการพักเล้านานขึ้นจะทำให้ผลผลิตต่อปีลดลง ระยะพักเล้าที่เหมาะสมที่สุดคือ ไม่ควรต่ำกว่า 2 สัปดาห์ 

การเลือกยาฆ่าเชื้อโรค 

ยาฆ่าเชื้อโรค (Disinfectant) เป็นสารเคมีที่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้โดยการสัมผัสโดยตรง ประสิทธิภาพ และกลไกการฆ่าเชื้อโรคนั้นจะแตกต่างกันไปตามชนิดของยาฆ่าเชื้อโรค  
ข้อพิจารณาในการเลือกชนิดยาฆ่าเชื้อโรค ได้แก่ 
ราคา 
ประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรค 
ประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคในกรณีมีอินทรียวัตถุ 
การเป็นพิษทั้งกับมนุษย์และสัตว์ 
การตกค้างทั้งในตัวสัตว์และสิ่งแวดล้อม 
ผลกระทบต่อเสื้อผ้าและวัสดุที่เป็นโลหะ 
ประสิทธิภาพเมื่อใช้ร่วมกับสบู่ 
ค่าความเป็นกรด-ด่าง หรือค่า pH 
ระยะเวลาที่ต้องการในการสัมผัสและฆ่าเชื้อโรค 
อุณหภูมิที่เหมาะสมในการออกฤทธิ์
Temp controller
การพิจารณาเลือกชนิดของยาฆ่าเชื้อโรคนั้นจะให้ความสำคัญกับปัจจัยดังกล่าวข้างต้นแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้ แต่สิ่งสำคัญได้แก่ จะต้องพิจารณาถึงประสิทธิภาพใน การฆ่าเชื้อโรคและความเป็นพิษต่อสัตว์เป็นสิ่งสำคัญ ไม่มียาฆ่าเชื้อโรคชนิดใดที่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ทันที ยา ฆ่าเชื้อโรคทุกชนิดต้องการเวลาระยะหนึ่งในการทำปฏิกิริยา ความเข้มข้นของยาฆ่าเชื้อโรคและอุณหภูมิจะมี 
 
ผลต่ออัตราความเร็วในการฆ่าเชื้อโรค ซึ่งจะต้องใช้ในอัตราส่วนที่เหมาะสมตามที่แนะน าโดยบริษัทผู้ผลิตจึงจะ ให้ผลดีที่สุด การเพิ่มอุณหภูมิของน้ำจะทำให้ประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคของยาฆ่าเชื้อโรคส่วนใหญ่เพิ่มขึ้น  ยาฆ่าเชื้อโรคทุกชนิดจะลดประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคลงถ้าสัมผัสกับสารอินทรียวัตถุที่ตกค้างอยู่ตามพื้นผิว ต่าง ๆ
 
โดยอินทรียวัตถุจะไปขัดขวางการสัมผัสระหว่างยาฆ่าเชื้อโรคกับตัวเชื้อโรคหรืออินทรียวัตถุจะไปจับกับ ยาฆ่าเชื้อโรคแทนเชื้อโรค ทำให้ประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคลดลงหรืออาจจะทำให้ยาฆ่าเชื้อโรคเปลี่ยน สภาพเป็นกลางไปในที่สุด 
ยาฆ่าเชื้อโรคที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีก ได้แก่ 
ฟีนอล (Phenols) 
คลอรีน หรือ ไฮโปคลอไรท์(Chlorine or hypochlorite) 
ไอโอโดฟอร์ หรือ ไอโอดีน (Iodophores or iodine) 
ควอเตอร์นารีแอมโมเนียม (Quaternary ammonium) 
ฟอร์มัลดีไฮด์ (Formaldehyde) 
สารออกซิไดซิง (Oxidizing agent) 
สารฆ่าเชื้อธรรมชาติ (Natural disinfecting agents)
ฟีนอล (Phenols) 
 
ฟีนอลเป็นอนุพันของ Coal-tar เมื่อละลายน้ำจะมีสีขาวขุ่นคล้ายน้ำนม ฟีนอลมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ แบคทีเรีย เชื้อราและเชื้อไวรัสได้ดี สามารถออกฤทธิ์ได้ดีถึงแม้ว่าจะมีอินทรียวัตถุหลงเหลืออยู่เมื่อเทียบกับ ไอโอดีนและคลอรีน แต่ไม่มีฤทธิ์ในการทำลายสปอร์ของเชื้อแบคทีเรีย ฟีนอลนิยมใช้ฆ่าเชื้ออุปกรณ์และในอ่าง น้ำยาจุ่มเท้าในโรงฟักไข่ 
Temp controller

ไฮโปคลอไรท์ (Hypochlorite) 

สารประกอบคลอรีนมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อโรคได้ดีบริเวณพื้นผิวที่สะอาด แต่จะหมดฤทธิ์ถ้าสัมผัสกับส อินทรียวัตถุหรือสิ่งสกปรก คลอรีนมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียและไวรัสหลายชนิด ประสิทธิภาพในการฆ่า เชื้อจะเพิ่มขึ้นเมื่อใช้กับน้ำอุ่น สารละลายคลอรีนมีฤทธิ์ระคายเคืองต่อผิวหนังและกัดกร่อนวัสดุที่เป็นโลหะ แต่ ก็มีราคาถูกและไม่มีฤทธิ์ตกค้างเนื้อจากเป็นสารระเหยได้ง่าย การใช้สารละลายคลอรีนเพื่อการฆ่าเชื้อมักจะใช้  ที่ความเข้มข้นประมาณ 10% 

ไอโอโดฟอร์ (Iodophores) 

สารประกอบไอโอดีนจะถูกนำมาใช้เป็นยาฆ่าเชื้อโรคในรูปของไอโอโดฟอร์ ซึ่งเป็นสารที่เกิดจากการ รวมตัวของไอโดดีนและสารที่ทำให้ไอโดดีนละลายได้ในน้ำ ไอโอโดฟอร์เป็นสารฆ่าเชื้อโรคที่ดีแต่ประสิทธิภาพ จะลดลงเมื่อสัมผัสกับอินทรียวัตถุ ไอโอโดฟอร์มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อราและเชื้อไวรัส ในโรงฟักไข่ มักจะใช้ไอโอโดฟอร์กับอุปกรณ์และผนังและฆ่าเชื้อโรคในน้ำ สารไอโอดีนมีความเป็นพิษน้อยแต่จะทำให้ 
เสื้อผ้าและพื้นผิวที่มีรูพรุนเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาล

ควอเตอร์นารีแอมโมเนียม (Quaternary ammonium) 

คุณสมบัติของสารประกอบควอเตอร์นารีแอมโมเนียม ได้แก่ ไม่มีกลิ่น ไม่มีสี ไม่ทำให้เกิดการระคาย เคืองต่อผิวหนัง มีคุณสมบัติในการระงับกลิ่นและเป็นลดแรงตึงผิวหรือสารดีเทอร์เจน (Detergent) ด้วย  จัดเป็นสารฆ่าเชื้อโรคที่ดีเมื่อใช้ในอัตราส่วนที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม สารประกอบควอเตอร์นารีแอมโมเนียม จะหมดฤทธิ์เมื่อสัมผัสกับสบู่หรืออนุพันธ์ของสบู่ และประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียจะลดเมื่อมี อินทรีย์วัตถุ สารควอเตอร์นารีแอมโมเนียมมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัสและเชื้อรา นิยมใช้ในโรงฟัก ไข่ 
 
Temp controller

ฟอร์มัลดีไฮด์ (Formaldehyde) 

การรมก๊าซฟอร์มัลดีไฮด์เพื่อฆ่าเชื้อโรคเป็นวิธีที่ใช้กันมานานแล้ว โดยการทำผลึกของฟอร์มาลินทำ ปฏิกิริยากับกรดโครมิก (Chromic acid) จะเกิดเป็นก๊าซฟอร์มัลดีไฮด์ การฆ่าเชื้อโรคโดยใช้ก๊าซฟอร์มัลดีไฮด์ จะได้ผลดีเนื่องจากเป็นก๊าซจึงสามารถแทรกซึมไปตามรอยแตกหรือรอยแยกหรือตามซอกต่าง ๆ ได้ดี แต่ควร ระวัง เนื่องจากก๊าซฟอร์มัลดีไฮด์มีพิษต่อระบบหายใจทั้งสัตว์และมนุษย์จึงต้องใช้ให้อยู่ในพื้นที่ที่จำกัด 

การรมก๊าซ (Fumigation) 

 
มี 3 วิธี ได้แก่ 

การใช้ฟอร์มาลินทำปฏิกิริยากับด่างทับทิม 

เมื่อนำฟอร์มาลินมาทำปฏิกิริยากับด่างทับทิม (Formalin and potassium permanganate) จะ เกิดก๊าชฟอร์มัลดีไฮด์ (Formaldehyde) อัตราการใช้ฟอร์มาลินจำนวน 1 ลิตรต่อปริมาณโรงเรือน 25 ลบ. เมตร โดยใช้อัตราส่วนฟอร์มาลิน 3 ส่วนต่อด่างทับทิม 2 ส่วน 
 
ในการทำปฏิกิริยาแต่ละครั้งจะต้องฟอร์มาลิน จำนวนไม่เกิน 1.2 ลิตรต่อ 1 ภาชนะ การเลือกใช้ภาชนะในการทำปฏิกิริยาจะต้องให้มีขอบด้านข้างสูงไม่น้อย กว่า 3 เท่าของความลึกของฟอร์มาลินและจะต้องมีความกว้างของภาชนะเท่ากับความสูงเพื่อป้องกันไม่ให้ ฟองอากาศกระเด็นออกภายนอกเมื่อฟอร์มาลินทำปฏิกิริยากับด่างทับทิม ภาชนะจะต้องวางบนพื้นคอนกรีต โดยตรงหรือบนโลหะ จะต้องไม่วางบนหรือวางใกล้วัสดุรองพื้นหรือวัสดุที่ติดไฟได้ง่าย เนื่องจากเมื่อสารเคมีทำ ปฏิกิริยากันแล้วจะเกิดความร้อนขึ้น 
 
Temp controller

ตัวอย่างวิธีปฏิบัติในการรมก๊าซฟอร์มัลดีไฮด์ในโรงเรือน 

คำนวณปริมาตรของโรงเรือน ตัวอย่างเช่น โรงเรือนขนาด ยาว 55 เมตร กว้าง 10 เมตร เพดานสูง  3 เมตร เมื่อคำนวณแล้วจะได้ปริมาตรเท่ากับ 3,000 ลบ.เมตร 
2.จะต้องใช้ฟอร์มาลินทั้งหมดเท่ากับ 120 ลิตร (3,000÷25) 
3.จะต้องจัดภาชนะสำหรับทำปฏิกิริยาทั้งหมดจำนวน 100 ใบ 
4.จะต้องใช้ด่างทับทิมทั้งหมดเท่ากับ 80 กิโลกรัม 
5.อัตราส่วนการใช้เท่ากับด่างทับทิม 800 กรัม/ฟอร์มาลิน 1.2 ลิตร ดังนั้นทำการชั่งด่างทับทิม จำนวน 800 กรัม/1 ภาชนะ เทด่างทับทิมลงในภาชนะแล้วนำไปวางไว้ในตำแหน่งที่เหมาะสมจนทั่วทั้ง โรงเรือนจำนวน 100 ภาชนะ 
เริ่มใส่ฟอร์มาลินลงในภาชนะจำนวน 1.2 ลิตรต่อภาชนะ โดยเริ่มเทลงในภาชนะที่มีด่างทับทิมอยู่ ด้านท้ายสุดของโรงเรือนก่อนและค่อย ๆ ทยอยออกมาจนกระทั่งถึงด้านหน้าหรือบริเวณใกล้ประตูเป็นที่ สุดท้าย

การใช้พาราฟอร์มัลดีไฮด์ 

การรมก๊าซวิธีนี้นิยมใช้กันมากเนื่องจากสะดวกในการปฏิบัติงาน โดยการให้ความร้อนแก่เกล็ดพารา ฟอร์มัลดีไฮด์ที่อุณหภูมิประมาณ 218 °ซ (425 °ฟ) เกล็ดพาราฟอร์มัลดีไฮด์ก็จะระเหยกลายเป็นไอก๊าซฟอร์ มัลดีไฮด์ อัตราการใช้ พาราฟอร์มัลดีไฮด์จำนวน 1 กิโลกรัม/พื้นที่ 300 ลบ.เมตร 

การพ่นหมอกไอฟอร์มาลิน (Formalin vapor) 

การพ่นหมอกไอน้ำฟอร์มาลินในอัตราที่เหมาะสมสามารถฆ่าเชื้อโรคได้ โดยการใช้ฟอร์มาลินจำนวน  28 มิลลิลิตร ผสมกับน้ำ 28 มิลลิลิตร ต่อพื้นที่ 25 ตร.เมตร การปฏิบัติงานจะใช้เครื่องมือที่ผลิตขึ้นมาสำหรับ การพ่นหมอกไอฟอร์มาลินโดยเฉพาะ 
หมายเหตุ ฟอร์มาลินและก๊าซฟอร์มัลดีไฮด์เป็นพิษอย่างรุนแรงต่อมนุษย์และสัตว์เลี้ยง การรมก๊าช ฟอร์มัลดีไฮด์เป็นขั้นตอนที่อันตราย ดังนั้นการปฏิบัติงานจะต้องมีผู้ปฏิบัติงานอย่างน้อย 2 คนเพื่อคอย ช่วยเหลือในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุและผู้ปฏิบัติงานจะต้องสวมใส่ชุดปฏิบัติงานที่รัดกุม มีแว่นตา หน้ากากนิรภัย และถุงมือ อุปกรณ์ที่ใช้จะต้องสามารถป้องกันก๊าซพิษได้และจะต้องได้มาตรฐาน 

สารออกซิไดซิง (Oxidizing agent) 

มักจะใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (Hydrogent peroxide) เป็นสารออกซิไดซิง ไฮโดรเจนเปอร์ออกซ์  กรดเปอร์ราซิติก (Peracetic acid) และกรดโปรพิออนิก (Propionic acid) หรือ แอซิดเปอร์ออกซิเจน (Acid  peroxigent) มักจะใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีก เป็นสารที่มีประสิทธิภาพในการต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย  สปอร์ของเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัสและเชื้อรา มักนิยมใช้สารออกซิไดซิงในการล้างทำความสะอาดท่อน้ำและ ระบบการให้น้ำแบบนิปเปิล ฯลฯ
Temp controller

สารฆ่าเชื้อธรรมชาติ (Natural disinfecting agents) 

ในธรรมชาติก็มีกลไกในการลดปริมาณของเชื้อโรคอยู่แล้วเพื่อไม่ให้มีมากเกินไปจนทำให้เกิดโรค ระบาด ซึ่งเราสามารถนำกลไกเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ได้และมีราคาถูกด้วย ได้แก่ แสงแดด ความร้อน ความ เย็นและความแห้ง รังสีอัลตราไวโอเล็ตในแสงแดดมีศักยภาพในการฆ่าเชื้อโรคได้ดีมากแต่รังสีอัลตราไวโอเล็ต ไม่สามารถทะลุผ่านกระจก หลังคาและฝุ่นหนา ๆ ได้ การทำให้แห้งโดยอากาศหรือลมสามารถฆ่าเชื้อโรคได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากทำความสะอาดแล้ว การออกแบบโปรแกรมการทำความสะอาดและการสุขาภิบาล โรงเรือนและอุปกรณ์ที่ดีจะช่วยให้ฟาร์มปราศจากโรคระบาดได้ ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการผลิตดีขึ้น 
 
การจัดการของเสียในฟาร์มสัตว์ปีก (Waste management) 
 
ของเสียจากฟาร์มสัตว์ปีกนับวันจะยิ่งมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เนื่องจากมีการขยายฟาร์ม เลี้ยงสัตว์ปีกให้ใหญ่ขึ้น เลี้ยงสัตว์ปีกจ านวนมากขึ้น ของเสียจากฟาร์มที่มีผลกระทบต่อชุมชน และสิ่งแวดล้อม  ได้แก่ ซากไก่ตาย กลิ่นรบกวน และมีสิ่งที่อาจก่อให้เกิดความรำคาญ เช่น หนู แมลงวัน ฯลฯ และสิ่งที่ ก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำและอากาศ ฯลฯ 

มลพิษที่เกิดจากฟาร์มสัตว์ปีก

 
 ได้แก่ 
มูล (Manure) 
กลิ่น (Odors) 
เสียง (Noise) 
ขน (Feathers) 
สิ่งปนเปื้อนในอากาศ เช่น ฝุ่น ก๊าซ และสารเคมีต่าง ๆ
น้ำทิ้ง (Water runoff) 
แมลงและหนู (Insects and rodents) 
ซากไก่ตาย (Dead birds) การจัดการฟาร์มสัตว์ปีก (ปรับปรุง 2560)
 
Temp controller
ขยะจากโรงฟักไข่ (Hatchery debris) เช่น เปลือกไข่ฟัก ไข่ตายโคม ลูกไก่ตายและคัดทิ้ง  ฯลฯ 
ฝุ่นจากโรงงานอาหารสัตว์ (Dust from feed manufacturing plants) 
ของเสียจากโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์ (Processing plants wastes) 
ควันจากท่อไอเสียและเสียงเครื่องยนต์ในโรงงาน (Exhaust from internal  combustion engines) 
ทัศนียภาพที่ไม่นาดู (Unsightliness) เช่น ขยะมูลฝอย ซากสัตว์ตายที่กระจายเกลื่อนทั่ว พื้นที่ เป็นต้น 
สารเคมีตกค้างในเนื้อเยื่อและไข่ (Toxic chemical residue in tissue and eggs) 15. แสงสว่าง (Light) จากหลอดไฟฟ้าในโรงเรือนและในบริเวณฟาร์ม
 
 

การทำความสะอาด ภายในฟาร์ม 

การทำความสะอาดและการฆ่าเชื้อโรงเรือนและอุปกรณ์ที่ถูกต้องจะช่วยลดปริมาณเชื้อโรคที่อยู่ใน สิ่งแวดล้อมเหลือน้อยจนไม่สามารถจะก่อให้เกิดโรคได้ดังนั้น ผู้เลี้ยงสัตว์ปีกจึงต้องให้ความใส่ใจและเข้มงวด กับขั้นตอนการทำความสะอาดและการฆ่าเชื้อโรคเพื่อให้ระบบการป้องกันทางชีวภาพที่เราได้วางแผนเอาไว้มี ประสิทธิภาพมากที่สุด 
การเตรียมโรงเรือน  
การเตรียมโรงเรือนเพื่อให้พร้อมที่จะนำไปรุ่นใหม่เข้ามาเลี้ยงนั้นจะต้องมีการวางแผนและกำหนด ระยะเวลาในการปฏิบัติแต่ละขั้นตอนและจะต้องระบุจำนวนคนที่จะปฏิบัติงาน จำนวนอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ จะต้องใช้ รวมทั้งวิธีการและสารเคมีที่จะต้องใช้ในการทำความสะอาดและการฆ่าเชื้อโรค การเตรียมโรงเรือน และอุปกรณ์มีขั้นตอนหลัก ๆ ดังนี้ 
การจับไก่ออก เมื่อสิ้นสุดการเลี้ยงไก่จะต้องจับไก่ออกให้หมดให้เร็วที่สุดเพื่อจะช่วยหยุดวงจรการ ต่อของเชื้อโรคระหว่างฝูง เนื่องจากไก่ที่หลงเหลืออยู่จะเป็นตัวอมโรคและเป็นพาหะนำโรค 
 
การควบคุมสัตว์พาหะ ในขั้นตอนการทำความสะอาดโรงเรือนจ าเป็นอาจจำเป็นจะต้องกำหนด ขั้นตอนการปฏิบัติเพิ่มเติมก่อนที่จะนำเอาวัสดุรองพื้นเก่าออกเพื่อป้องกันเชื้อโรคไปปนเปื้อนกับสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การฉีดพ่นยาฆ่าแมลงภายในโรงเรือนให้ทั่วเพื่อกำจัดแมลง การวางยาเบื่อหนูจะต้องวางในตำแหน่ง เดียวกันกับการวางอุปกรณ์ให้อาหารจะได้ผลในการกำจัดหนูมากที่สุด จากนั้นจะรมด้วยก๊าซฟอร์มัลดีไฮด์เพื่อ ฆ่าเชื้อโรคบางชนิดก่อนแล้วจึงปัดกวาดฝุ่น หยากไย่ ตามพื้นผิวโรงเรือนและอุปกรณ์ โดยเริ่มปฏิบัติจากที่สูงลง มาสู่ที่ต่ำ จากนั้นใช้พลาสติกปิดคลุมอุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้าเพื่อป้องกันการเปียกน้ำ จากนั้นจึงฉีดพ่นสารละลายดี เทอร์เจนท์ (Detergent) เพื่อชะล้างฝุ่นและสิ่งสกปรกที่เกาะติดอยู่ตามพื้นผิวผนัง เพดานและอุปกรณ์ลงมา  
Temp controller
การเอาวัสดุรองพื้นเก่าและมูลออก วัสดุรองพื้นเก่าและมูลจะต้องเอาออกจนหมดและจะต้องขน ย้ายออกไปให้ไกลจากพื้นที่เลี้ยงไก่ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้หรืออย่างน้อยให้ห่างจากพื้นที่เลี้ยงไก่ไม่น้อยกว่า  3.2 กิโลเมตร เนื่องจากวัสดุรองพื้นและมูลจะมีแมลงที่เป็นพาหะนำโรค มีเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรียที่ขับถ่าย ออกมาจากไก่ปนเปื้อนอยู่ ดังนั้นในบางพื้นที่วัสดุรองพื้นและมูลจะเป็นตัวดึงดูดให้นกป่าเข้ามา เนื่องจากมีเศษ อาหารและแมลงอาศัยอยู่ซึ่งอาจจะกลายเป็นพาหะนำเชื้อโรคกลับมายังฝูงไก่ที่เลี้ยงได้  อย่างไรก็ตาม การยังคงเหลือมูลเก่าไว้บางส่วนในกรณีที่ต้องการควบคุมแมลงวันสำหรับไก่ไข่ที่เลี้ยง บนกรงก็สามารถทำได้ในระบบการเลี้ยงไก่ไข่แบบขังกรงที่มีการเก็บมูลไว้ด้านใต้โรงเรือน (Deep pit) การ เหลือมูลเดิมไว้หนาประมาณ 3-4 นิ้ว จะช่วยให้มูลของไก่ฝูงใหม่แห้งเร็วขึ้น 
 
การเลี้ยงไก่กระทงโดยใช้วัสดุรองพื้นเดิมเลี้ยงไก่รุ่นต่อไปสามารถช่วยลดต้นทุนการเลี้ยงได้ การใช้วัสดุ รองพื้นเลี้ยงไก่หลายรุ่นเรียกว่า Built-up litter system แต่จะต้องเก็บเอาวัสดุรองพื้นที่เปียกชื้นหรือจับตัว เป็นก้อนออกให้หมด อย่างไรก็ตาม กรณีที่เกิดโรคระบาดหรือมีไก่ตายมากผิดปกติจะต้องมีการเอาวัสดุรองพื้น ออกและทำความสะอาดทั้งหมดแล้วเข้าสู่โปรแกรมการทำความสะอาดตามขั้นตอนก่อนที่จะนำไก่เข้าเลี้ยง  ระบบการใช้วัสดุรองพื้นเลี้ยงไก่หลายรุ่นเหมาะสมสำหรับบางพื้นที่ที่มีปัญหาในการจัดหาวัสดุรองพื้นและไม่มี โรคระบาด แต่จะไม่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยเนื่องจากอยู่ในเขตร้อนมีอุณหภูมิเหมาะสมต่อการเจริญของ เชื้อโรคหลายชนิด
 
การทำความสะอาดระบบให้อาหาร 
 
 อาหารที่ยังเหลืออยู่ในถังเก็บอาหารและในระบบให้อาหาร ภายในโรงเรือนจะต้องเอาออกให้หมดโดยเร็ว เนื่องจากจะเป็นตัวดึงดูดให้แมลงปีกแข็งและหนูเข้ามา ถังเก็บ อาหาร (Silo หรือ Storage bin) จะต้องทำความสะอาดให้ทั่วถึงเพื่อป้องกันการเกิดเชื้อรา จะต้องเอาอาหาร ที่เหลือหรือตกค้างอยู่ในระบบการให้อาหารทั้งในท่อขนส่งและในถาดอาหารออกให้หมดก่อนที่จะล้างทำความ สะอาดและฆ่าเชื้อ อุปกรณ์ที่เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น มอเตอร์และสวิทช์ไฟต่าง ๆ จะใช้วิธีการทำความสะอาด 
 
แบบแห้ง คือ การปัดกวาดด้วยแปรงหรือไม้กวาดหรือใช้เครื่องดูดฝุ่นแล้วทำการฆ่าเชื้อ ถ้าระบบให้อาหารเป็น แบบถาดอัตโนมัติ(Pan feeder) จะต้องถอดตัวถาดออกจากท่อลำเลียงอาหารเพื่อทำความสะอาดโดยเฉพาะ อย่างยิ่งชิ้นส่วนที่อาจจะก่อให้เกิดเชื้อรา จากนั้นทำการฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อแล้วนำไปผึ่งแดดให้แห้งเพื่อให้ แสงอัลตร้าไวโอเล็ต (Ultraviolet ; UV) ช่วยฆ่าเชื้อโรค ห้ามนำเอาอุปกรณ์ให้อาหารที่ล้างทำความสะอาด แล้วกลับเข้าไปในโรงเรือนจนกกว่าจะทำความสะอาดภายในโรงเรือนและฆ่าเชื้อจะแล้วเสร็จ 
 
ข้อควรระวังอีก ประการได้แก่อุปกรณ์ที่ทำจากพลาสติก
 
เมื่อโดนแสงแดดนาน ๆ จะทำให้อายุการใช้งานสั้นลงเนื่องจากจะ กรอบและแตกหักได้ง่าย ดังนั้น เมื่อผึ่งแดดจนแห้งแล้วให้รีบนำไปเก็บไว้ในที่ร่มทันที
การทำความสะอาดระบบให้น้ำ  อุปกรณ์ให้น้ำอัตโนมัติ เช่น นิปเปิล (Nipple) จะต้องล้างทำความสะอาดภายในท่อโดยการเปิดจุกด้านท้ายสุดของท่อ ทำความสะอาดคราบเมือกหรือเศษตะกอนภายใน ป่อน้ำออกให้หมด ไส้กรองน้ำ (Filter) จะต้องถอดออกมาทำความสะอาดหรือเปลี่ยนไส้กรองใหม่ การฆ่าเชื้อ ภายในท่อนำามักจะใช้สารประกอบคลอรีน เนื่องจากเป็นสารฆ่าเชื้อโรคที่มีประสิทธิภาพสูงในกรณีที่ไม่มี
 
สารอินทรีย์ ซึ่งจะมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียและไวรัสได้ดี โดยจะมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อได้ดี ที่สุดเมื่อน้ำมีอุณหภูมิมากกว่า 65 °ฟ หรือ 18.3 °ซ การผสมคลอรีนในน้ำเพื่อฆ่าเชื้อในระบบให้น้ำสามารถใช้ เครื่องผสมยาอัตโนมัติ (Medication) ช่วยในการผสมน้ำกับคลอรีน จากนั้นจึงเปิดจุกปิดท่อน้ำท้ายท่อส่งน้ำของนิปเปิลหรือถอดนิปเปิลอันสุดท้ายออกจะช่วยให้น้ำไหลผ่านท่อได้เร็วขึ้น เมื่อน้ำผสมคลอรีนไฟลเข้าไปจน เต็มท่อแล้วให้ปิดขังไว้ประมาณ 24 ชั่วโมงแล้วค่อยเปิดจุกระบายน้ำผสมคลอรีนออกไป ระดับความเข้มข้น ของคลอรีนที่เหมาะสมในการฆ่าเชื้อคือ 140 ppm แต่จะต้องไม่เกิน 5% เนื่องจากคลอรีนจะมีฤทธิ์ในการกัด กร่อนชิ้นส่วนที่เป็นโลหะได้ 
 
Temp controller
การทำความสะอาดโรงเรือนและอุปกรณ์  การปัดกวาดหยากไย่และฝุ่นอีกครั้งโดยจะต้องเริ่มต้น จากด้านบนลงมาด้านล่างหรือจากบริเวณที่สูงลงมายังที่ต่ำเสมอ ปัดกวาดทำความสะอาดใบพัดลม บานเกล็ด  หลอดไฟและอุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ ผ้าม่านและผนัง เมื่อปัดกวาดจนสะอาดแล้ว ทำการล้างพื้นผิวภายใน โรงเรือนทั้งหมดด้วยน้ำผสมผงซักฟอกหรือน้ำผสมสารดีเทอร์เจนท์(Detergent) โดยการฉีดพ่นด้วยปั้มแรงดัน สูง (Pressure pump) โดยปรับแรงดันให้เหมาะสมคือ ไม่ต่ ากว่า 200 ปอนด์/ตารางนิ้ว (PSI) เพื่อขจัดคราบ และเศษสิ่งสกปรกที่สะสมอยู่ตามพื้นผิวและตามซอกมุมออก การล้างทำความสะอาดจะต้องเริ่มต้นจากบริเวณ ที่สูงแล้วค่อย ๆ ไล่ลงมาจนกระทั่งถึงพื้นเสมอ
 
 หลังจากฉีดพ่นด้วยสารดีเทอร์เจนท์แล้วจะต้องล้างด้วยน้ำเปล่า เพื่อล้างเอาสารดีเทอร์เจน์ออกให้สะอาด สุดท้ายหลังจากที่โรงเรือนแห้งดีแล้วให้ท าการฉีดพ่นด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ โรคให้ทั่วทุกซอกทุกมุมและตามพื้นผิวภายในโรงเรือนทั้งหมดแล้วทิ้งไว้ให้แห้ง หลังจากแห้งแล้วก็ให้ฉีดพ่น น้ำยาฆ่าเชื้อโรคซ้ำอีกครั้งหนึ่ง กรณีที่ไก่ฝูงก่อนหน้านี้ป่วยเป็นโรคแนะนำให้ฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคซ้ำ 2 ครั้ง
ข้อควรระวัง ยาฆ่าเชื้อโรคและยาฆ่าแมลง
 
จะต้องใช้อัตราความเข้มข้นที่แนะนำไว้ในฉลากอย่าง เคร่งครัดเพื่อป้องกันการดื้อยาและลดการสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุและจะต้องเลือกใช้ยาฆ่าแมลงตามที่กฎหมาย  กำหนดให้ใช้เท่านั้น 
การรมก๊าซฟอร์มัลดีไฮด์ (Fumigation) การรมก๊าซฟอร์มัลดีไฮด์เพื่อฆ่าเชื้อโรคเป็นวิธีที่ใช้กันมา นานแล้ว ประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อจะขึ้นกับสภาพแวดล้อมในขณะรมก๊าซฟอร์มัลดีไฮด์ สภาพแวดล้อมที่ เหมาะสมได้แก่ 
ควรเพิ่มความชื้นสัมพัทธ์ภายในโรงเรือนให้อยู่ระหว่าง 70-80%RH 
เพิ่มอุณหภูมิภายในโรงเรือนให้สูงกว่า 21 °ซ  
 
จัดวางถาดน้ำไว้ในโรงเรือนเพื่อเพิ่มความชื้นภายในโรงเรือนและเพิ่มประสิทธิภาพการ ทำงานของก๊าซฟอร์มัลดีไฮด์และจะมีการควบแน่น (Condensation) ไปเป็น Polymerized form 4. โรงเรือนจะต้องปิดให้สนิทและทำให้เย็นลงเป็นเวลา 24 ชั่วโมงหลังจากรมก๊าซฟอร์มัลดี ไฮด์ เพื่อให้เกิดการควบแน่น (Condensation) ได้ทั่วถึง
การพักเล้า (เว้นระยะเวลาห่างระหว่างฝูง) (Idle between flock หรือ down time) หลังจากทำความสะอาดโรงเรือนและฉีดพ่นน้ ายาฆ่าเชื้อโรคเสร็จสิ้นแล้วให้นำวัสดุรองพื้นเข้าไปในโรงเรือน  
Temp controller
ติดตั้งอุปกรณ์ให้น้ำและอุปกรณ์ให้อาหาร ติดตั้งเครื่องกกให้พร้อม จากนั้นก็ทำการพักเล้าโดยการปิดล๊อก ประตูโรงเรือนห้ามมิให้บุคคลและจะต้องป้องกันสัตว์ต่าง ๆ เข้าไปภายในโรงเรือน การฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อโรคเป็น การลดปริมาณของเชื้อโรคโดยตัวสารเคมีไปสัมผัสกับเชื้อโรคโดยตรง การลดความชื้นทั้งในอากาศและบน พื้นผิวต่าง ๆ จะสามารถฆ่าเชื้อโรคได้ เนื่องจากเชื้อโรคจะไม่สามารถมีชีวิตรอดได้ภายใต้สภาพอากาศแห้ง  
 
ระยะเวลาพักเล้าที่เหมาะสมจะช่วยในการฆ่าเชื้อโรคได้ เนื่องจากเชื้อโรคสามารถมีชีวิตอยู่ภายนอกร่างกายไก่ หรือสัตว์พาหะได้ในเวลาที่สั้นยาวแตกต่างกัน ฉะนั้น การพักเล้าจึงเป็นขั้นตอนสำคัญที่จะช่วยลดปริมาณเชื้อ โรคลงได้ ซึ่งจะใช้เวลาพักเล้าสั้นยาวเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับธรรมชาติของเชื้อโรคและความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ เพราะการพักเล้านานขึ้นจะทำให้ผลผลิตต่อปีลดลง ระยะพักเล้าที่เหมาะสมที่สุดคือ ไม่ควรต่ำกว่า 2 สัปดาห์ 
การเลือกยาฆ่าเชื้อโรค 
ยาฆ่าเชื้อโรค (Disinfectant) เป็นสารเคมีที่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้โดยการสัมผัสโดยตรง ประสิทธิภาพ และกลไกการฆ่าเชื้อโรคนั้นจะแตกต่างกันไปตามชนิดของยาฆ่าเชื้อโรค  
ข้อพิจารณาในการเลือกชนิดยาฆ่าเชื้อโรค ได้แก่ 
ราคา 
ประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรค 
ประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคในกรณีมีอินทรียวัตถุ 
การเป็นพิษทั้งกับมนุษย์และสัตว์ 
การตกค้างทั้งในตัวสัตว์และสิ่งแวดล้อม 
ผลกระทบต่อเสื้อผ้าและวัสดุที่เป็นโลหะ 
ประสิทธิภาพเมื่อใช้ร่วมกับสบู่ 
ค่าความเป็นกรด-ด่าง หรือค่า pH 
ระยะเวลาที่ต้องการในการสัมผัสและฆ่าเชื้อโรค 
อุณหภูมิที่เหมาะสมในการออกฤทธิ์
Temp controller
การพิจารณาเลือกชนิดของยาฆ่าเชื้อโรคนั้นจะให้ความสำคัญกับปัจจัยดังกล่าวข้างต้นแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้ แต่สิ่งสำคัญได้แก่ จะต้องพิจารณาถึงประสิทธิภาพใน การฆ่าเชื้อโรคและความเป็นพิษต่อสัตว์เป็นสิ่งสำคัญ ไม่มียาฆ่าเชื้อโรคชนิดใดที่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ทันที ยา ฆ่าเชื้อโรคทุกชนิดต้องการเวลาระยะหนึ่งในการทำปฏิกิริยา ความเข้มข้นของยาฆ่าเชื้อโรคและอุณหภูมิจะมี 
 
ผลต่ออัตราความเร็วในการฆ่าเชื้อโรค ซึ่งจะต้องใช้ในอัตราส่วนที่เหมาะสมตามที่แนะน าโดยบริษัทผู้ผลิตจึงจะ ให้ผลดีที่สุด การเพิ่มอุณหภูมิของน้ำจะทำให้ประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคของยาฆ่าเชื้อโรคส่วนใหญ่เพิ่มขึ้น  ยาฆ่าเชื้อโรคทุกชนิดจะลดประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคลงถ้าสัมผัสกับสารอินทรียวัตถุที่ตกค้างอยู่ตามพื้นผิว ต่าง ๆ
 
โดยอินทรียวัตถุจะไปขัดขวางการสัมผัสระหว่างยาฆ่าเชื้อโรคกับตัวเชื้อโรคหรืออินทรียวัตถุจะไปจับกับ ยาฆ่าเชื้อโรคแทนเชื้อโรค ทำให้ประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคลดลงหรืออาจจะทำให้ยาฆ่าเชื้อโรคเปลี่ยน สภาพเป็นกลางไปในที่สุด 
ยาฆ่าเชื้อโรคที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีก ได้แก่ 
ฟีนอล (Phenols) 
 
คลอรีน หรือ ไฮโปคลอไรท์(Chlorine or hypochlorite) 
ไอโอโดฟอร์ หรือ ไอโอดีน (Iodophores or iodine) 
ควอเตอร์นารีแอมโมเนียม (Quaternary ammonium) 
ฟอร์มัลดีไฮด์ (Formaldehyde) 
สารออกซิไดซิง (Oxidizing agent) 
สารฆ่าเชื้อธรรมชาติ (Natural disinfecting agents)
ฟีนอล (Phenols) 
 
ฟีนอลเป็นอนุพันของ Coal-tar เมื่อละลายน้ำจะมีสีขาวขุ่นคล้ายน้ำนม ฟีนอลมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ แบคทีเรีย เชื้อราและเชื้อไวรัสได้ดี สามารถออกฤทธิ์ได้ดีถึงแม้ว่าจะมีอินทรียวัตถุหลงเหลืออยู่เมื่อเทียบกับ ไอโอดีนและคลอรีน แต่ไม่มีฤทธิ์ในการทำลายสปอร์ของเชื้อแบคทีเรีย ฟีนอลนิยมใช้ฆ่าเชื้ออุปกรณ์และในอ่าง น้ำยาจุ่มเท้าในโรงฟักไข่ 
Temp controller
ไฮโปคลอไรท์ (Hypochlorite) 
 
สารประกอบคลอรีนมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อโรคได้ดีบริเวณพื้นผิวที่สะอาด แต่จะหมดฤทธิ์ถ้าสัมผัสกับส อินทรียวัตถุหรือสิ่งสกปรก คลอรีนมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียและไวรัสหลายชนิด ประสิทธิภาพในการฆ่า เชื้อจะเพิ่มขึ้นเมื่อใช้กับน้ำอุ่น สารละลายคลอรีนมีฤทธิ์ระคายเคืองต่อผิวหนังและกัดกร่อนวัสดุที่เป็นโลหะ แต่ ก็มีราคาถูกและไม่มีฤทธิ์ตกค้างเนื้อจากเป็นสารระเหยได้ง่าย การใช้สารละลายคลอรีนเพื่อการฆ่าเชื้อมักจะใช้  ที่ความเข้มข้นประมาณ 10% 
ไอโอโดฟอร์ (Iodophores) 
 
สารประกอบไอโอดีนจะถูกนำมาใช้เป็นยาฆ่าเชื้อโรคในรูปของไอโอโดฟอร์ ซึ่งเป็นสารที่เกิดจากการ รวมตัวของไอโดดีนและสารที่ทำให้ไอโดดีนละลายได้ในน้ำ ไอโอโดฟอร์เป็นสารฆ่าเชื้อโรคที่ดีแต่ประสิทธิภาพ จะลดลงเมื่อสัมผัสกับอินทรียวัตถุ ไอโอโดฟอร์มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อราและเชื้อไวรัส ในโรงฟักไข่ มักจะใช้ไอโอโดฟอร์กับอุปกรณ์และผนังและฆ่าเชื้อโรคในน้ำ สารไอโอดีนมีความเป็นพิษน้อยแต่จะทำให้ 
เสื้อผ้าและพื้นผิวที่มีรูพรุนเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาล
 
ควอเตอร์นารีแอมโมเนียม (Quaternary ammonium) 
 
คุณสมบัติของสารประกอบควอเตอร์นารีแอมโมเนียม ได้แก่ ไม่มีกลิ่น ไม่มีสี ไม่ทำให้เกิดการระคาย เคืองต่อผิวหนัง มีคุณสมบัติในการระงับกลิ่นและเป็นลดแรงตึงผิวหรือสารดีเทอร์เจน (Detergent) ด้วย  จัดเป็นสารฆ่าเชื้อโรคที่ดีเมื่อใช้ในอัตราส่วนที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม สารประกอบควอเตอร์นารีแอมโมเนียม จะหมดฤทธิ์เมื่อสัมผัสกับสบู่หรืออนุพันธ์ของสบู่ และประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียจะลดเมื่อมี อินทรีย์วัตถุ สารควอเตอร์นารีแอมโมเนียมมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัสและเชื้อรา นิยมใช้ในโรงฟัก ไข่ 
 
Temp controller
ฟอร์มัลดีไฮด์ (Formaldehyde) 
 
การรมก๊าซฟอร์มัลดีไฮด์เพื่อฆ่าเชื้อโรคเป็นวิธีที่ใช้กันมานานแล้ว โดยการทำผลึกของฟอร์มาลินทำ ปฏิกิริยากับกรดโครมิก (Chromic acid) จะเกิดเป็นก๊าซฟอร์มัลดีไฮด์ การฆ่าเชื้อโรคโดยใช้ก๊าซฟอร์มัลดีไฮด์ จะได้ผลดีเนื่องจากเป็นก๊าซจึงสามารถแทรกซึมไปตามรอยแตกหรือรอยแยกหรือตามซอกต่าง ๆ ได้ดี แต่ควร ระวัง เนื่องจากก๊าซฟอร์มัลดีไฮด์มีพิษต่อระบบหายใจทั้งสัตว์และมนุษย์จึงต้องใช้ให้อยู่ในพื้นที่ที่จำกัด 
 
การรมก๊าซ (Fumigation) 
 
มี 3 วิธี ได้แก่ 
การใช้ฟอร์มาลินทำปฏิกิริยากับด่างทับทิม 
เมื่อนำฟอร์มาลินมาทำปฏิกิริยากับด่างทับทิม (Formalin and potassium permanganate) จะ เกิดก๊าชฟอร์มัลดีไฮด์ (Formaldehyde) อัตราการใช้ฟอร์มาลินจำนวน 1 ลิตรต่อปริมาณโรงเรือน 25 ลบ. เมตร โดยใช้อัตราส่วนฟอร์มาลิน 3 ส่วนต่อด่างทับทิม 2 ส่วน 
 
ในการทำปฏิกิริยาแต่ละครั้งจะต้องฟอร์มาลิน จำนวนไม่เกิน 1.2 ลิตรต่อ 1 ภาชนะ การเลือกใช้ภาชนะในการทำปฏิกิริยาจะต้องให้มีขอบด้านข้างสูงไม่น้อย กว่า 3 เท่าของความลึกของฟอร์มาลินและจะต้องมีความกว้างของภาชนะเท่ากับความสูงเพื่อป้องกันไม่ให้ ฟองอากาศกระเด็นออกภายนอกเมื่อฟอร์มาลินทำปฏิกิริยากับด่างทับทิม ภาชนะจะต้องวางบนพื้นคอนกรีต โดยตรงหรือบนโลหะ จะต้องไม่วางบนหรือวางใกล้วัสดุรองพื้นหรือวัสดุที่ติดไฟได้ง่าย เนื่องจากเมื่อสารเคมีทำ ปฏิกิริยากันแล้วจะเกิดความร้อนขึ้น 
 
Temp controller
ตัวอย่างวิธีปฏิบัติในการรมก๊าซฟอร์มัลดีไฮด์ในโรงเรือน 
คำนวณปริมาตรของโรงเรือน ตัวอย่างเช่น โรงเรือนขนาด ยาว 55 เมตร กว้าง 10 เมตร เพดานสูง  3 เมตร เมื่อคำนวณแล้วจะได้ปริมาตรเท่ากับ 3,000 ลบ.เมตร 
2.จะต้องใช้ฟอร์มาลินทั้งหมดเท่ากับ 120 ลิตร (3,000÷25) 
3.จะต้องจัดภาชนะสำหรับทำปฏิกิริยาทั้งหมดจำนวน 100 ใบ 
4.จะต้องใช้ด่างทับทิมทั้งหมดเท่ากับ 80 กิโลกรัม 
5.อัตราส่วนการใช้เท่ากับด่างทับทิม 800 กรัม/ฟอร์มาลิน 1.2 ลิตร ดังนั้นทำการชั่งด่างทับทิม จำนวน 800 กรัม/1 ภาชนะ เทด่างทับทิมลงในภาชนะแล้วนำไปวางไว้ในตำแหน่งที่เหมาะสมจนทั่วทั้ง โรงเรือนจำนวน 100 ภาชนะ 
เริ่มใส่ฟอร์มาลินลงในภาชนะจำนวน 1.2 ลิตรต่อภาชนะ โดยเริ่มเทลงในภาชนะที่มีด่างทับทิมอยู่ ด้านท้ายสุดของโรงเรือนก่อนและค่อย ๆ ทยอยออกมาจนกระทั่งถึงด้านหน้าหรือบริเวณใกล้ประตูเป็นที่ สุดท้าย
 
การใช้พาราฟอร์มัลดีไฮด์ 
 
การรมก๊าซวิธีนี้นิยมใช้กันมากเนื่องจากสะดวกในการปฏิบัติงาน โดยการให้ความร้อนแก่เกล็ดพารา ฟอร์มัลดีไฮด์ที่อุณหภูมิประมาณ 218 °ซ (425 °ฟ) เกล็ดพาราฟอร์มัลดีไฮด์ก็จะระเหยกลายเป็นไอก๊าซฟอร์ มัลดีไฮด์ อัตราการใช้ พาราฟอร์มัลดีไฮด์จำนวน 1 กิโลกรัม/พื้นที่ 300 ลบ.เมตร
 
การพ่นหมอกไอฟอร์มาลิน (Formalin vapor) 
 
การพ่นหมอกไอน้ำฟอร์มาลินในอัตราที่เหมาะสมสามารถฆ่าเชื้อโรคได้ โดยการใช้ฟอร์มาลินจำนวน  28 มิลลิลิตร ผสมกับน้ำ 28 มิลลิลิตร ต่อพื้นที่ 25 ตร.เมตร การปฏิบัติงานจะใช้เครื่องมือที่ผลิตขึ้นมาสำหรับ การพ่นหมอกไอฟอร์มาลินโดยเฉพาะ 
หมายเหตุ ฟอร์มาลินและก๊าซฟอร์มัลดีไฮด์เป็นพิษอย่างรุนแรงต่อมนุษย์และสัตว์เลี้ยง การรมก๊าช ฟอร์มัลดีไฮด์เป็นขั้นตอนที่อันตราย ดังนั้นการปฏิบัติงานจะต้องมีผู้ปฏิบัติงานอย่างน้อย 2 คนเพื่อคอย ช่วยเหลือในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุและผู้ปฏิบัติงานจะต้องสวมใส่ชุดปฏิบัติงานที่รัดกุม มีแว่นตา หน้ากากนิรภัย และถุงมือ อุปกรณ์ที่ใช้จะต้องสามารถป้องกันก๊าซพิษได้และจะต้องได้มาตรฐาน 
 
สารออกซิไดซิง (Oxidizing agent) 
 
มักจะใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (Hydrogent peroxide) เป็นสารออกซิไดซิง ไฮโดรเจนเปอร์ออกซ์  กรดเปอร์ราซิติก (Peracetic acid) และกรดโปรพิออนิก (Propionic acid) หรือ แอซิดเปอร์ออกซิเจน (Acid  peroxigent) มักจะใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีก เป็นสารที่มีประสิทธิภาพในการต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย  สปอร์ของเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัสและเชื้อรา มักนิยมใช้สารออกซิไดซิงในการล้างทำความสะอาดท่อน้ำและ ระบบการให้น้ำแบบนิปเปิล ฯลฯ
Temp controller
สารฆ่าเชื้อธรรมชาติ (Natural disinfecting agents) 
 
ในธรรมชาติก็มีกลไกในการลดปริมาณของเชื้อโรคอยู่แล้วเพื่อไม่ให้มีมากเกินไปจนทำให้เกิดโรค ระบาด ซึ่งเราสามารถนำกลไกเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ได้และมีราคาถูกด้วย ได้แก่ แสงแดด ความร้อน ความ เย็นและความแห้ง รังสีอัลตราไวโอเล็ตในแสงแดดมีศักยภาพในการฆ่าเชื้อโรคได้ดีมากแต่รังสีอัลตราไวโอเล็ต ไม่สามารถทะลุผ่านกระจก หลังคาและฝุ่นหนา ๆ ได้ การทำให้แห้งโดยอากาศหรือลมสามารถฆ่าเชื้อโรคได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากทำความสะอาดแล้ว การออกแบบโปรแกรมการทำความสะอาดและการสุขาภิบาล โรงเรือนและอุปกรณ์ที่ดีจะช่วยให้ฟาร์มปราศจากโรคระบาดได้ ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการผลิตดีขึ้น 
 
การจัดการของเสียในฟาร์มสัตว์ปีก (Waste management) 
 
ของเสียจากฟาร์มสัตว์ปีกนับวันจะยิ่งมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เนื่องจากมีการขยายฟาร์ม เลี้ยงสัตว์ปีกให้ใหญ่ขึ้น เลี้ยงสัตว์ปีกจ านวนมากขึ้น ของเสียจากฟาร์มที่มีผลกระทบต่อชุมชน และสิ่งแวดล้อม  ได้แก่ ซากไก่ตาย กลิ่นรบกวน และมีสิ่งที่อาจก่อให้เกิดความรำคาญ เช่น หนู แมลงวัน ฯลฯ และสิ่งที่ ก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำและอากาศ ฯลฯ 
มลพิษที่เกิดจากฟาร์มสัตว์ปีก
 
 ได้แก่ 
มูล (Manure) 
กลิ่น (Odors) 
เสียง (Noise) 
ขน (Feathers) 
สิ่งปนเปื้อนในอากาศ เช่น ฝุ่น ก๊าซ และสารเคมีต่าง ๆ
น้ำทิ้ง (Water runoff) 
แมลงและหนู (Insects and rodents) 
ซากไก่ตาย (Dead birds) การจัดการฟาร์มสัตว์ปีก (ปรับปรุง 2560)
 
Temp controller
ขยะจากโรงฟักไข่ (Hatchery debris) เช่น เปลือกไข่ฟัก ไข่ตายโคม ลูกไก่ตายและคัดทิ้ง  ฯลฯ 
ฝุ่นจากโรงงานอาหารสัตว์ (Dust from feed manufacturing plants) 
ของเสียจากโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์ (Processing plants wastes) 
ควันจากท่อไอเสียและเสียงเครื่องยนต์ในโรงงาน (Exhaust from internal  combustion engines) 
ทัศนียภาพที่ไม่นาดู (Unsightliness) เช่น ขยะมูลฝอย ซากสัตว์ตายที่กระจายเกลื่อนทั่ว พื้นที่ เป็นต้น 
สารเคมีตกค้างในเนื้อเยื่อและไข่ (Toxic chemical residue in tissue and eggs) 15. แสงสว่าง (Light) จากหลอดไฟฟ้าในโรงเรือนและในบริเวณฟาร์ม
 
 
temp controller
error: เนื้อหาได้รับการคุ้มครอง !!