Menu Close

การเลี้ยงไก่ไขของประเทศไทย (Poultry production in Thailand)

การเลี้ยงไข่ไก่ ประเทศไทย
     ปัจจุบันประเทศไทยมีการเลี้ยงไก่ไข่อย่าง แพร่หลายทั้งเลี้ยงแบบธรรมชาติและแบบเป็นอุตสาหกรรม ซึ่งพื้นที่ที่เป็นแหล่งผลิตไข่ไก่ที่สําคัญของ เมืองไทยอยู่ในภาคตะวันออกเป็นส่วนใหญ่ รองลงมาเป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ภาคตะวันตก เขตกรุงเทพและปริมณฑล ตามลําดับ โดยจังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตไข่ไก่มากที่สุด ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา รองลงมาเป็นจังหวัดนครนายก ชลบุรีพระนครศรีอยุธยา และอุบลราชธานีตามลําดับ  
พันธุ์ไก่ไข่ 
     พันธุ์ไก่นับเป็นปัจจัยที่สําคัญประการกนึ่งของธุรกิจการเลี้ยงไก่ให้ประสบผลสําเร็จ ดังนั้นผู้เลี้ยง จะต้องเลือกพันธ์ุไก่ให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ของการเลี้ยง เช่น เลือกไก่สายพันธุ์ไข่เพื่อการผลิตไข่ เป็นต้น ซึ่งในอดีตนั้นนิยมเลี้ยงไก่พันธุ์แท้แต่พันธุ์ไก่ไข่ที่นิยมเลี้ยงในเมืองไทยในปัจจุบันส่วนมากแล้วเป็นไก่สายพันธุ์ ลูกผสมเกือบทั้งสิ้น ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ได้มีการคัดเลือกและปรังปรุงพันธุ์มาเป็นอย่างดีเช่น ให้ไข่ดก ไข่ฟองโต ให้ไข่ ทนและกินอาหารน้อย สําหรับพันธุ์ไก่ที่เลี้ยงในเมืองไทยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทด้วยกันคือ  
  1. ไก่พันธุ์แท้เป็นไก่ที่ได้รับการคัดเลือกและผสมพันธุ์เป็นอย่างดีมาอย่างต่อเนื่องของนักผสมพันธุ์จน ลูกหลานในรุ่นต่อๆมามีลักษณะรูปร่าง ขนาด สีและอื่น ๆ เหมือนบรรพบุรุษหรือลักษณะประจําพันธุ์คงที่ ไก่ พันธุ์แท้เคยได้รับความนิยมมากในสมัยหนึ่ง เพราะได้ชื่อว่าเป็นไก่ที่ให้ไข่ดก แต่ต่อมาภายหลังได้มีการปรับปรุง พันธุ์จนได้พันธุ์ซึ่งให้ผลผลิตสูงขึ้นกว่าขึ้นมาทดแทนไก่พันธุ์แท้จึงได้รับความนิยมน้อยลง จนในปัจจุบันไก่พันธุ์ ได้รับความสนใจและเลี้ยงเป็นการค้ากันน้อยมาก เพราะผู้เลี้ยงไก่ไข่นิยมเลี้ยงไก่ลูกผสมอันเกิดจากการผสม ข้ามพันธุ์ซึ่งให้ผลผลิตที่ดีกว่าไก่พันธุ์แท้มาก สําหรับพันธุ์ไก่ไข่พันธุ์แท้ที่ยังมีเลี้ยงในเมืองไทย ได้แก่ 
1.1 พันธุ์โร๊ดไอส์แลนด์เรด (Rhode Island Red) หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า “ไก่โร๊ด” มีถิ่นกําเนิด อยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นไก่พันธุ์เก่าแก่พันธุ์หนึ่งที่มีอายุกว่า 100 ปีโดยการผสมและคัดเลือกพันธุ์มา จากไก่พันธุ์มาเลย์แดง ไก่เซี่ยงไฮ้แดง ไก่เล็กฮอร์นสีน้ําตาล ไก่คอร์นิส ไก่ไวยันดอทท์และไก่บราห์มาส์ไก่พันธุ์ โร๊ดไอส์แลนด์เรดมี 2 ชนิด คือ ชนิดหงอนกุหลาบ (Rose comb) และชนิดหงอนจักร (single comb) แต่ที่ นิยมเลี้ยงกันแพร่หลายเป็นชนิดหงอนจักร ซึ่งเป็นไก่ที่ให้ไข่ค่อนข้างดีเคยมีสถิติชนะการแข่งขันไก่ไข่ดกใน ประเทศไทยอยู่เสมอ 
      ลักษณะไก่โร๊ดไอส์แลนด์เรดหงอนจักร เป็นไก่ประเภทกึ่งเนื้อกึ่งไข่ ได้รับการปรับปรุงพันธุ์จนมีหงอน แบบหงอนจักรขนาดกลาง มีรูปร่างค่อนข้างยาวและลึก เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนทั่วไปตามลําตัวมีสีน้ําตาล แดงเข้ม ขนปีกขนหางมีสีดําเหลือบเขียว ผิวหนังและหน้าแข้งมีสีเหลืองจัด ปากมีสีแดงเหลือง ตาสีแดง หงอน
 
จักร 5 แฉก แผ่นหูมีสีแดง เปลือกไข่มีสีน้ําตาล ขนาดไข่ใหญ่ปานกลาง นิสัยเชื่อง สามรถปรับตัวเข้ากับ สภาพแวดล้อมได้ดีเริ่มให้ไข่เมื่ออายุประมาณ 5 เดือนครึ่ง ให้ไข่ค่อนข้างดกคือให้ไข่ปีล่ะประมาณ 280-300  ฟอง น้ําหนกตั ัวเมื่อโตเต็มที่เพศผู้หนัก 3.1-4.0 กิโลกรัม เพศเมียหนัก 2.4-4.0 กิโลกรัม 
       สมัยก่อนในประเทศไทยนิยมเลี้ยงไก่พันธุ์นี้กันมาก เพราะนอกจากจะให้ผลผลิตดีทั้งด้านไข่และเนื้อยัง แข็งแรงทนทางเลี้ยงง่าย และโตเร็ว แต่ในปัจจุบันนิยมเลี้ยงเพื่อใช้เป็นพันธุ์ตั้งต้น ในการผลิตไก่ไข่ลูกผสม ไฮบริดกันเป็นส่วนใหญ่ เพื่อให้ได้ลูกผสมที่สามารถคัดเพศเมื่อแรกเกิดได้โดยใช้ไก่โร๊ดเพศผู้ผสมกับบาร์ พลีมัทร็อคเพศเมีย ลูกผสมที่ได้จะสามารถคัดเพศได้เมื่ออายุ 1 วัน โดยดูความแตกต่างของสีขน กล่าวคือ ลูกไก่ที่เป็นเพศเมียจะมีขนสีดําตลอดตัว ส่วนลูกไก่ที่เป็นเพศผู้จะมีขนสีดําทั้งตัวแต่จะมีจุดสีขาวที่หัว และเมื่อ โตเต็มที่แล้วไก่ลูกผสมเพศเมียจะเป็นไก่ที่มีขนสีดําทั้งตัว และไก่ลูกผสมเพศผู้จะมีขนสีลายตลอดทั้งตัวแบบไก่ บาร์โดยไก่ไข่ที่เลี้ยงเพื่อการค้าในปัจจุบันที่ให้ไข่เปลือกสีน้ําตาลนั้น ส่วนใหญ่มาจากการผสมข้ามพันธุ์ของไก่ โร๊ดไอส์แลนด์เรดหงอนจักรกับไก่พันธุ์บาร์พลีมัทร็อค ลูกผสมที่ได้จะให้ไข่ดก ไข่มีเปลือกสีน้ําตาล และให้ไข่ ฟองโต 
 
1.2 พันธุ์บาร์พลีมัทร็อค (Barred Plymouth Rock) หรือที่เรียกกันว่า “ไก่บาร์” เป็นไก่ พลีมัทร็อคที่มีขนสีบาร์คือ มีขนสีดําสลับกับสีขาว ตามขวางของขน ลักษณะลําตัวยาว หงอนจักร ปากสี เหลือง ตาสีน้ําตาลแดง หงอนเหนียงและตุ้มหูมีสีแดง หนังสีเหลือง ขาและนิ้วเท้าสีแดง ให้ไข่เปลือกสีน้ําตาล เริ่มให้ไข่เมื่ออายุประมาณ 5 เดือนครึ่ง ทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดีตัวผู้มีน้ําหนักประมาณ 3.6-4.3  
กิโลกรัม ตัวเมียมีน้ําหนักประมาณ 2.7-3.7 กิโลกรัม 
ไก่พันธุ์บาร์พลีมัทร็อคมีถิ่นกําเนิดอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นไก่ประเภทกึ่งเนื้อกึ่งไข่ เป็นพันธุ์ที่ ได้มีการผสมและคัดเลือกพันธุ์ขึ้นเมื่อประมาณปีค.ศ. 1865 โดยการผสมระหว่างไก่ตัวผู้พันธุ์โดมินิค (Dominiqlue) กับไก่ตัวเมียพันธุ์โคชินดํา (Black Chochin) หรือจาวาดํา (Black Java) เคยเป็นพันธุ์ที่ได้รับ ความนิยมเลี้ยงเป็นไก่ไข่อยู่ระยะหนึ่งเมื่อประมาณ 30 กว่าปีก่อน แต่ในปัจจุบันนิยมใช้แม่พันธุ์ผสมกับพ่อพันธุ์ โร๊ดไอส์แลนด์เรดหรือพันธุ์นิวแฮมเชียร์เพื่อผลิตลูกผสมไฮบริดเป็นการค้าชนิดคัดเพศได้เมื่อแรกเกิดโดยดูจาก สีของขน โดยลูกผสมตัวเมียจะมีขนสีดําและให้ไข่ดก ส่วนลูกผสมตัวผู้มีสีบาร์ 
 
1.3 พันธุ์เล็กฮอร์นขาวหงอนจักร (Single Comb White Leghorn) มีถิ่นกําเนิดในประเทศอิตาลี จัดเป็นพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงกันแพร่หลายที่สุดในบรรดาไก่เล็กฮอร์นด้วยกัน ซึ่งไก่พันธุ์นี้เคยเป็นที่นิยมเลี้ยงเป็นไก่ ไข่อย่างแพร่หลาย ในสมัยเริ่มแรกที่มีการเลี้ยงไก่ไข่เชิงอุตสาหกรรม เป็นไก่พันธุ์เบาที่มีขนาดเล็ก ลักษณะ ว่องไว ปราดเปรียว มีการเจริญเติบโตเร็ว ขนสีขาวทั้งตัว หงอนจักร 5 แฉกขนาดใหญ่ หงอนมีสีแดง ปาก เหลือง ตุ้มหูสีขาว ผิวหนังและหน้าแข็งสีเหลือง ให้ไข่เร็ว ให้ไข่ดก ไข่เปลือกสีขาว มีประสิทธิภาพในการ เปลี่ยนอาหารค่อนข้างสูง ทนต่ออากาศร้อนได้ดีเริ่มให้ไข่เมื่ออายุประมาณ 4 เดือนครึ่ง ให้ไข่ปีละประมาณ 300 ฟอง น้ําหนักเมื่อโตเต็มที่เพศผู้หนัก 2.2-2.9 กิโลกรัม เพศเมียหนัก 1.8-2.2 กิโลกรัม 
 
ปัจจุบันนิยมใช้ไก่พันธุ์เล็กฮอร์นขาวหงอนจักรผสมข้ามสายพันธุ์ตั้งแต่ 2 สายพันธุ์ขึ้นไป เพื่อผลิตไก่ไข่ ลูกผสมเพื่อการค้าที่ให้ไข่ดก ไข่ฟองโต และกินอาหารน้อย ซึ่งตรงตามความต้องการของตลาด
 
  1. ไก่พันธุ์ลูกผสม (Hybrid Breeds) หมายถึง พันธุ์ไก่ไข่ที่ได้จากการนําไก่ไข่ตั้งแต่ 2 สายพันธุ์ขึ้นไป มาผสมกัน เป็นไก่พันธุ์ไข่ที่นิยมเลี้ยงกันในเชิงการค้ามากที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นพันธุ์ไก่ที่ผสมขึ้นเป็น พิเศษ โดยบริษัทผู้ผลิตลูกไก่พันธุ์ไข่จําหน่ายได้มีการพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ให้มีประสิทธิภาพในการให้ผล ผลิตไข่สูงและมีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาดคือให้ไข่ดก เปลือกไข่สีน้ําตาล ไข่ฟองโตและไข่ทน เพราะได้รับการรวบรวมลักษณะต่างๆเข้าไว้ด้วยกัน 
     ไก่พันธุ์ลูกผสมนี้จะมีลักษณะเด่นประจําพันธุ์และมีข้อมูลประจําพันธุ์อย่างละเอียด เช่น อัตราการ เจริญเติบโต ปริมาณอาหารที่กิน อัตราการเลี้ยงรอด เปอร์เซ็นต์การไข่ ระยะเวลาในการให้ไข่ขนาดของแม่ไก่ ขนาดของฟองไข่สีของเปลือกไข่ เป็นต้น แต่ไก่ลูกผสมนี้จะต้องเลี้ยงด้วยอาหารที่มีคุณภาพสูง มีการจัดการที่ถู ต้อง เช่นการควบคุมน้ําหนัก การควบคุมการกินอาหาร การควบคุมแสงสว่าง ตลอดทั้งการสุขาภิบาลและการ ป้องกันโรคที่ดีด้วยเช่นกัน 
      ด้วยเหตุที่ไก่พันธุ์ลูกผสมส่วนใหญ่มีการผสมพันธุ์ที่ดําเนินการโดยบริษัทผลิตพันธุ์ไก่ไข่เป็นการค้า ซึ่ง บริษัทจะรักษาไก่ต้นพันธุ์และระบบการผสมพันธุ์ไว้เป็นความลับ เพื่อผลประโยชน์ในทางการค้า ในปัจจุบันไก่ ไข่พันธุ์ลูกผสมมีมากมาย ส่วนใหญ่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์ในสหรัฐอเมริกาและในยุโรป โดยมีลิขสิทธิ์เฉพาะ ของผู้ที่ปรับปรุงพันธุ์ได้ส่วนในประเทศไทยบริษัทเอกชนต่างๆได้นําเข้าไก่พ่อแม่พันธุ์รุ่นปู่ย่าและรุ่นพ่อแม่มา ผลิตลูกไก่ไข่จําหน่ายให้กับผู้เลี้ยง ซึ่งมีอยู่หลายพันธุ์ด้วยกัน เช่น เอ.เอ.บราวน์ (A.A. Brown) รอสบราวน์ (Ross Brown) ไฮเซกบราวน์ (Hisex Brown) อีซ่าบราวน์ (Isa Brown) ซูปเปอร์ฮาร์โก้ (Super Harco) ดี คาร์บวอร์เรน (Dekalb Voren) ฮับบาร์ดโกเด้นคอมเมท (Hubbard Golden Commet) เซพเวอร์สตาร์ ครอส 579 (Shaver Starcross 579) แบ๊บค๊อกบี-380 (Babcock B-300) บาโบลนาเตตร้า-เอสแอล (Babolna Tetra-SL) เป็นต้น  
หลักการเลือกพันธุ์ไก่ไข่มาเลี้ยง  
      เนื่องจากพันธุ์ไก่เป็นปัจจัยสําคัญอย่างหนึ่งในการเลี้ยงไก่ไข่ให้ประสบผลสําเร็จ ดังนั้นการเลือกพันธุ์ ไก่ไข่มาเลี้ยงจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ อย่าหลงเชื่อคําโฆษณาแต่อย่างเดียว ผู้เลี้ยงจะต้องคัดเลือกพันธุ์ โดยใช้ข้อสังเกตและยึดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้ 
  1. เป็นไก่สายเลือกที่ดีซึ่งผ่านการคัดเลือกขึ้นมาเป็นไก่ไข่โดยเฉพาะ 
  2. มีลักษณะดีตรงตามพันธุ์และประเภทของไก่ไข่ 
  3. ผลิตจากฟาร์มที่มีมาตรฐานดีและเชื่อถือได้ 
  4. มีประสิทธิภาพในการให้ผลผลิตไข่สูง ระยะไข่สูงสุดยาวนาน ไข่ทน ไข่ฟองใหญ่และเปลือกหนา 5. มีอัตราการเลี้ยงรอดสูง แข็งแรง ทนต่อสภาพแวดล้อมดินฟ้าอากาศของเมืองไทยได้ดี 6. ควรได้สอบถามจากผู้เลี้ยงรายอื่นเกี่ยวกับพันธุ์ไก่ที่กําลังพิจารณาอยู่และพันธุ์อื่นๆเพื่อการ เปรียบเทียบ 
โครงสร้างของไข่ (Structure of the Egg)  
โครงสร้างของฟองไข่ประกอบด้วยองค์ประกอบที่สําคัญ 5 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ เปลือกไข่ (Shell) และ เยื่อเปลือกไข่หรือเยื่อหุ้มฟองไข่ (Egg shell membrane) ช่องอากาศ (Air cell, Air space) ไข่ขาว (Albumen) ไข่แดง (Yolk) และจุดกําเนิด (Germinal dise) ดังแสดงในภาพที่ 1  
โครงสร้างไข่ไก่
  1. เปลือกไข่ (Shell) เปลือกไข่ประกอบด้วยชั้นต่างๆที่สําคัญ 2 ชั้นโดยภายในชั้นเหล่านี้ประกอบไป ด้วยรูพรุนมากมายประมาณ 8,000 รูสําหรับให้เป็นทางผ่านของน้ําและแก๊สต่างๆนอกจากนี้แล้วเชื้อแบคทีเรีย อาจจะผ่านหรือซึมผ่านรูที่เปลือกไข่ได้ด้วยเหมือนกัน ปกติแล้วเปลือกไข่ที่ออกมาใหม่ๆจะมีลักษณะใส แต่จะ ทึบเมื่อมันแห้งลงผิวนอกของเปลือกไข่จะมีแผ่นเยื่อบาง ๆ เรียกว่า (Bloom or cuticle) คาดหรือปกคลุมอยู่ ซึ่งหลังจากไข่ออกมาเยื่อบางๆนี้จะแห้งอย่างรวดเร็วทําให้ไปปิดรูพรุนที่เปลือกจนสนิท เพื่อป้องกันการระเหย ของน้ําและแก๊สออกจากไข่รวมทั้งป้องกันการซึมผ่านของเชื้อแบคทีเรียซึ่งอาจเกิดขึ้นได้เปลือกไข่ที่ส่วนปลา ยมลของฟองไข่จะมีรูพรุนมากกว่าส่วนอื่นๆ ของเปลือกไข่ ในระหว่างการฟักไข่ของแม่ประมาณ 3 สัปดาห์นั้น ปรากฏว่าจะมีความชื้นหรือน้ําจากฟองไข่ระเหยออกไปประมาณ 15 %ของความหนาของเปลือกไข่จะเห็นได้ ว่ามีส่วนสัมพันธ์โดยตรงต่อปริมาตรของไข่ ยกตัวอย่างเช่น เปลือกไข่ของนกฮัมมิ่งเบิร์ด จะหนาเพียง 0.06  มิลลิเมตร เปลือกไข่จําเป็นต้องมีความหนาเพียงพอที่จะพยุงส่วนประกอบภายในไข่ไว้และก็มีความเปราะ เพียงพอที่จะให้ตัวอ่อนภายในเจาะออกมาได้ง่าย  
      ถัดจากเปลือกไข่เข้าไปก็จะถึงเยื่อหุ้มฟองไข่บางๆซึ่งมีอยู่ 2 ชั้น โดยทําหน้าที่หุ้มส่วนไข่ขาวไว้และยัง ป้องกันส่วนประกอบของไข่จากการลุกล้ําของเชื้อแบคทีเรีย ตลอดจนป้องกันไม่ให้น้ําระเหยออกไปจากไข่ได้ อย่างรวดเร็ว เยื่อหุ้มฟองไข่ทั้งสองชั้น (Outer shell and inner shell membranes) ปกติจะอยู่ชิดกัน ยกเว้นตรงส่วนปลายป้านของฟองไข่มักจะอยู่ห่างกันทําให้เกิดเป็นช่องอากาศ (Air cell) ดูคล้ายกับเลนซ์นูน 
ในเวลาที่ไข่ถูกไข่ออกมาใหม่ๆจะไม่มีส่วนช่องอากาศ (Air cell) อยู่เลยจนกระทั่งไข่เย็นลงก็จะเกิด เป็นช่องอากาศให้เห็นได้ทั้งนี้เป็นเพราะว่าอุณหภูมิของฟองไข่ที่ออกมาจากร่างกายใหม่ๆ จะมีอุณหภูมิเท่ากับ อุณหภูมิของร่างกาย (ประมาณ 107°F) ซึ่งมีอุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิภายนอกร่างกาย ทําให้อุณหภูมิของไข่จะ
 
      ค่อยๆลดลงเป็นผลให้ส่วนประกอบภายในไข่เกิดการหดตัวมากกว่าส่วนเปลือกไข่ทําให้ภายในไข่เกิดเป็น สุญญากาศและอากาศก็จะถูกดึงผ่านเข้ามาทางรูปพรุนที่ส่วนปลายป้านของฟองไข่จึงเกิดเป็นช่องอากาศขึ้น ขนาดของช่องอากาศจะมีขนาดใหญ่ขึ้นตามเวลาที่เก็บ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณร้อนและแห้งแล้ง) การ ขยายใหญ่ของช่องอากาศเกิดขึ้นมาจากการระเหยของน้ําและแก๊สออกจากฟองไข่ช่องอากาศในฟองไข่ทํา หน้าที่ป้องกันการช็อกที่อาจเกิดขึ้นจากการกระแทก (Shock absorber) ในระหว่างการเจริญของตัวอ่อน ภายในระยะแรกๆ นอกจากนั้นยังเป็นส่วนที่ให้อากาศหายใจแก่ตัวอ่อนภายในไข่ที่มีอายุการฟัก 21-28 วัน ซึ่ง มันจะใช่จงอยปากเจาะเยื่อหุ้มฟองไข่เข้าใจในช่องอากาศภายในฟองไข่ใหม่ๆจะสังเกตเห็นส่วนขั้วสีขาว 2 ขั้ว ยึดอยู่ที่ปลายทั้งสองข้างของไข่แดง (White cords) ส่วนขั้วนี้เรียกว่าคาลาซ่า (Chalazae) ซึ่งเป็นแถบที่บิดขด เป็นเกลียวของเยื่อเหนียวๆของมิวซิน (Twisted strands of mucin fibers) ประกอบไปด้วยโปรตีนชนิด พิเศษส่วนคาลาซ่านี้ทําหน้าที่ยึดไข่แดงให้อยู่ส่วนกลางของไข่  
  1. เยื่อหุ้มไข่และช่องอากาศ (The Shell Membranes and Air Space) บริเวณภายในฟองไข่ จะมี เยื่อบางๆ 2 แผ่นหุ้มอยู่โดยรอบ ซึ่งทั้ง 2 แผ่นจะสัมผัสกันอยู่อย่างหลวมๆ โดยเนื้อเยื่อชั้นนอกจะเกาะติด แน่นกับส่วนเปลือก ซึ่งก็หมายความว่าส่วนของเปลือกจะฝังตัวอยู่บนส่วนของเนื้อเยื่อชั้นนอกและชั้นใน ขณะที่ทําการฟักไข่พบว่าองค์ประกอบภายในฟองไข่จะเริ่มหดตัว ทั้งนี้เนื่องมาจากการระเหยของน้ําออกจาก ฟองไข่และเนื่องจากการพัฒนาและการเจริญเติบโตของตัวอ่อนจําเป็นจะต้องใช้สารอาหารต่างๆที่มีอยู่ภายใน ฟองไข่และจากเหตุผลดังกล่าวจึงส่งผลทําให้เนื้อเยื่อทั้ง 2 ส่วนเกิดการแยกตัวออกจากกัน บริเวณด้านป้าน ของฟองไข่และเกิดเป็นช่องอากาศขึ้นมา ทั้งนี้ส่วนของช่องอากาศจัดเป็นองค์ประกอบที่มีความสําคัญต่อการ พัฒนาของตัวอ่อนเป็นอย่างมาก เพราะเป็นส่วนที่ช่วยให้ตัวอ่อนสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ในช่วงเวลา ก่อนที่จะมีการฟักออกเป็นตัว  
  2. 3. ไข่ขาว (The White or Albumen)ไข่ขาวเป็นส่วนเนื้อไข่ที่เป็นโปรตีนลักษณะครึ่งแข็งครึ่งเหลว ค่อนข้างประกอบไปด้วยน้ําในปริมาณสูง ยืดหยุ่นได้ทําหน้าที่เป็นตัวป้องกันการช็อคการกระแทก (Shock  absorbing) และเป็นตัวป้องกันความร้อนอย่างดีส่วนเนื้อไข่ขาวนี้สามารถแบ่งออกได้เป็นชั้นต่างๆได้ 4 ชั้นคือ (1) Outer thin white (Layer of outer thin white หรือ Fluid layer) (2) ชั้น Middle thick white  (Layer of thick white) (3) ชั้น Inner liquid layer (Layer of inner thin white) และ (4) ชั้น Chalaziferous layer (Layer of thick white) ซึ่งหุ้มรอบไข่แดงส่วนชั้นในสุดของไข่ขาวในส่วนปลายทั้งสอง ข้างของไข่แดง จะมีรูปร่างคล้ายปมเชือกทําให้เกิดเป็นส่วนที่เรียกว่า คาลาซ่า (Chalaza) ซึ่งทําหน้าที่ยึดให้ไข่ แดงอยู่ในส่วนกลางของฟองไข่และยอมให้ไข่แดงหมุนและบิดไปมาได้ส่วนประกอบที่เหลือจะเป็นส่วน Non protein solids ซึ่งประกอบไปด้วยคาร์โบไฮเดรตครึ่งหนึ่งและไอออนของอนินทรีย์สารอีกครึ่งหนึ่ง (วิโรจน์,  2537)  
  3. ไข่แดง (The yolk)ไข่แดงประกอบด้วยชั้นต่างๆที่มีสีเข้มและจางเรียงซ้อนกันอยู่เป็นวงกลมแผ่ออก ตามรัศมีอยู่ภายในเยื่อหุ้มไข่แดง (Vitellinemembrane) ปกติมีน้ําหนักเบากว่าไข่ขาว และมักจะอยู่ค่อนไป ทางด้านบนเหนือจุด ศูนย์กลางของไข่ที่ออกใหม่ๆ จุดเจริญ (Germ cell หรือ Blastoderm) จะพบเห็นเป็น จุดจางๆอยู่บนผิวบนสุด ซึ่งสังเกตเห็นได้ชัด จุดเจริญนี้ในไข่ที่ได้รับการผสมกับเชื้อตัวผู้แล้วจะเจริญเป็นตัว
     อ่อนขึ้น ถ้าอยู่ในภาวะสิ่งแวดล้อมที่พอเหมาะ ไข่ที่มีไข่แดง 2 ฟองอาจจะได้รับการผสมด้วยตัวอสุจิแต่มักจะ ฟักไม่ออก การเกิดไข่แดง 2 ฟองในไข่ใบเดียวกัน อาจเป็นผลมาจากการตกของไข่ (Ovum) 2 ฟองที่เกิดขึ้น เกือบพร้อมกันในเวลาเดียวกัน สําหรับไข่ที่มีเชื้อควรเก็บไว้ในอุณหภูมิต่ํากว่า 10 องศาเซลเซียสเพื่อป้องกัน การเจริญของตัวอ่อนภายในไข่ไก่นับได้ว่าเป็นสิ่งที่ทําให้เกิดการคงไว้ตลอดไปของสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะในสัตว์ ปีกจะเห็นได้ว่า ภายในไข่แดงจะมีโภชนะอาหารที่จําเป็นต่อการเจริญของตัวอ่อนอยู่มาก ซึ่งมากกว่าส่วนไข่ ขาวเสียอีก (การเจริญเติบโตของตัวอ่อนในไข่ของสัตว์บางชนิด เช่น นกไซกินเวลาเพียง 2 สัปดาห์ในขณะที่นก อีมูกินเวลาเกือบ 8 สัปดาห์เปลือกไข่ประกอบไปด้วยธาตุแคลเซียมคาร์บอเนต ส่วนมากประมาณ 93-98%ซึ่ง จะถูกนําไปใช้ในการสร้างกระดูกและส่วนอื่นๆ ของร่างกายโดยตัวอ่อนในไข่ นอกจากนั้นเปลือกยังมีพวก โปรตีนจํานวนน้อยและแร่ธาตุอื่นๆบ้าง  
  1. จุดกําเนิดหรือจุดเจริญ (The Germinal Disc) เมื่อทําการตอกฟองไข่ออก จะพบว่าส่วนผิว ด้านบนของไข่แดงมีจุดสีขาว ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4 มิลลิเมตร ทั้งนี้ส่วนดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจาก การรวมตัวกันระหว่างเซลล์หนึ่งเซลล์ของเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย หรือไข่ กับเซลล์หนึ่งเซลล์ของเซลล์สืบพันธุ์ เพศผู้หรือสเปิร์ม โดยที่แต่ละเซลล์จะมีจํานวนโครโมโซมเพียงครึ่งหนึ่ง (n) ของเซลล์ร่างกายปกติซึ่งมี จํานวนโครโมโซมเป็นเลขคู่ (2n) และภายหลังจากการรวมตัวกันของไข่และสเปิร์ม ซึ่งเรียกว่ากระบวนการ ปฏิสนธิจะได้เป็นเซลล์ของร่างกายที่มีจํานวนโครโมโซมเป็นเลขคู่ (2n) จากนั้นเซลล์ดังกล่าวจะเกิดการแบ่ง เซลล์เป็น 2 เซลล์และมีการเจริญพัฒนาและแบ่งตัวต่อไปเรื่อยๆ และผลสุดท้ายก็จะพัฒนากลายเป็นลูกไก่ ต่อไป โดยในลูกไก่ในขณะที่อยู่ภายในฟองไข่ก็จะอาศัยองค์ประกอบภายในฟองไข่เป็นอาหารสําหรับการ เจริญเติบโต  
องค์ประกอบทางเคมีของไข่ (Composition of the Egg)  
     ส่วนประกอบส่วนใหญ่ของไข่ก็คือ น้ําและมีโปรตีน ไขมัน และเถ้า อย่างละเท่าๆกัน ไข่แดงเป็นส่วนที่ มีความเข้มข้น ของโภชนะสูง ที่สุด คือ มีน้ําอยู่เพียง 50 เปอร์เซ็นต์ดังแสดงในตารางที่ 1 
 
     นอกจากนั้นเป็นโปรตีนและไขมันเกือบทั้งหมด และ ยังประกอบด้วยไวตามิน แร่ธาตุ เม็ดสี (Pigment) และคลอเรสเตอรอล ในปริมาณสูง โปรตีนและไขมันในไข่แดง จะมีปริมาณค่อนข้างจะคงที่จะมี ความผันแปรไปเพียงเล็กน้อยตามอาหารที่ได้รับ แต่สําหรับไวตามิน แร่ธาตุและเม็ดสีจะผันแปรไปได้มากตาม ปริมาณที่มีอยู่ในอาหาร ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการฟักออกเป็นตัวของลูกไก่อย่างยิ่ง ไข่ขาวมีส่วนประกอบส่วน ใหญ่ เป็นน้ําและโปรตีน เยื่อเปลือกไข่ ประกอบด้วยโปรตีน และ Mucopoly saccharide ส่วนในเปลือกไข่จะ มีส่วนประกอบของแร่ธาตุเป็นหลัก  
การเก็บรักษาไข่ 
      การเก็บรักษาไข่มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมให้องค์ประกอบภายในไข่เกิดการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด โดยชะลอการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์และรักษาปริมาณน้ําและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในไข่ไว้ให้นานที่สุด ซึ่งโดยปกติไข่ทั้งเปลือกจะเก็บได้นานพอสมควร เพราะมีเปลือกไข่เป็นตัวปูองกัน ดังนั้นการเก็บรักษาคุณภาพ ไข่จึงควรเริ่มจากการเก็บไข่ในเล้าให้บ่อยที่สุด เพื่อปูองกันการแตกร้าวและลดการปนเปื้อนของจุลินทรีย์มี วิธีการเก็บรักษาไข่ดังนี้  
 – เก็บในที่อุณหภูมิต่ําใช้อุณหภูมิ 11.6 – 14.4 องศาเซลเซียส สําหรับไข่ไก่เพื่อการค้า และ 17.2 –  20 องศาเซลเซียส สําหรับไก่ไข่พันธุ์  
 – ความชื้นสัมพันธ์ประมาณ 75 – 80 เปอร์เซ็นต์ถ้าความชื้นสัมพันธ์มากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์จะ ทํา ให้ราขึ้น  
 – เก็บไข่ในสภาพที่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณ 0.55 – 2.5 เปอร์เซ็นต์   – เคลือบผิวไข่ด้วยน้ํามันแร่และแปรรูปเป็นไข่เค็ม หรือไข่เยี่ยวม้า 
 
รูปร่างของฟองไข่ (Egg shape)  
ตามปกติฟองไข่จะมีลักษณะเป็นรูปไข่ด้านที่มีช่องอากาศอยู่จะป้านกว่าอีกด้านหนึ่งเล็กน้อย แต่ บางครั้งพบว่าไข่มีรูร่างผิดจากปกติได้เหมือนกัน เช่น มีรูปร่างกลมหรือยาวกว่าปกติบิดเบี้ยว ผิวของฟองไข่ ขรุขระเป็นคลื่น เป็นต้น โดยน้ําหนักมาตรฐานของไก่ไข่ในประเทศไทย แสดงในตารางที่ 2  ตารางที่ 2 น้ําหนักมาตรฐานของไก่ไข่ในประเทศไทย 
รูปร่างฟองไข่
 
      จากการศึกษาทางเคมีของเม็ดสีของเปลือกไข่ทําให้ทราบว่าสีของเปลือกไข่ได้รับมาจากเม็ดสีในเม็ด เลือดแดง (Hemoglobin) หรือจากเม็ดสีในน้ําดีซึ่งเป็นผลจากการสลายตัวของเม็ดสีในเม็ดเลือดแดง จาก การศึกษาพบว่าสีของเปลือกไข่มีอยู่ 2 สีที่สําคัญคือ (1) Prophyrins ได้มาจากเฮโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงทํา ให้เปลือกไข่มีสีน้ําตาลและมีสีน้ํามันมะกอก (2) Cyanin ได้มาจากเม็ดสีในน้ําดีทําให้เปลือกไข่มีสีน้ําเงินและสี เขียว สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นแห่งๆ หรือกระจายทั่วไปในเปลือกไข่ ในฟองไข่อาจจะพบว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในสีต่างๆ กัน หรือพบซึมอยู่ทั่วเปลือกไข่ 
สิ่งพื้นต่างๆที่ปรากฏบนเปลือกไข่ เช่น สีขาว เทา ครีม น้ําตาล แดง หรือเขียวนั้น ปรากฏว่าไข่ของ สัตว์ปีกมีหลายชนิดจะมีรอยแต้ม รอยเปื้อนเป็นจุดๆ หรือเป็นแถบๆของสีน้ําตาล แดง สีลาเวนเดอร์เทา ดํา และสีอื่นๆอีกได้เหมือนกัน  
 
ปัจจัยที่ทําใหขนาดของไข ้ ่แตกต่างกัน 
ขนาดของไก่ไข่ปกติจะอยู่ในช่วงน้ําหนัก 45-65 กรัม ไข่ไก่จะมีลักษณะเล็กหรือใหญ่นั้นขึ้นอยู่กับ ปัจจัยหลายปัจจัย ได้แก่ 
  1. พันธุ์ไก่ (Breed) ขนาดของฟองไข่นั้นเป็นลักษณะหนึ่งที่ถูกควบคุมโดยพันธุกรรม ซึ่งสามารถ ถ่ายทอดไปยังลูกหลานได้ 
  2. คุณสมบัติเฉพาะตัวของไก่ (Individual) ในไก่พันธุ์เดียวกันคนล่ะสายพันธุ์หรือไก่แต่ล่ะตัวจะให้ ไข่ที่มีขนาดแตกต่างกัน และถึงแม้ไก่พันธุ์เดียวกันเมื่อสภาพแวดล้อมที่ได้รับเปลี่ยนแปลงก็จะให้ไข่ที่มีขนาด แตกต่างกันไปด้วย 
  3. อายุของไก่ (Age of bird) ไก่ที่เริ่มให้ไข่ใหม่ๆ นั้นจะให้ไข่ที่มีขนาดเล็กก่อน และเมื่อไก่มีอายุ การให้ไข่มากขึ้นก็จะให้ไข่ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น 
  4. อุณหภูมิ (Temperature) ในสภาพแวดล้อมที่อุณหภูมิสูงขึ้นแม่ไก่จะให้ไข่มีขนาดเล็กลง เนื่องจากแม่ไก่กินอาหารลดลง ถ้าอุณหภูมิต่ําลงแม่ไก่จะให้ไข่มีขนาดใหญ่ขึ้น 
  5. ชนิดของโรงเรือน (Type of housing) ไก่ที่เลี้ยงกรงตับจะให้ไข่ที่มีขนาดใหญ่กว่าไก่ที่เลี้ยงแบบ ปล่อยพื้นประมาณ 14 กรัมต่อไข่ 1 โหล และไก่ที่เลี้ยงบนพื้นแบบยกพื้น (Slat) จะให้ไข่ที่มีขนาดใหญ่กว่าไก่ที่ เลี้ยงบนวัสดุรองพื้น 
  6. อาหารและน้ํา (Feed and water) แม่ไก่ที่ได้รับอาหารที่มีโภชนะครบบริบูรณ์และมีปริมาณ เพียงพอกับความต้องการก็จะให้ไข่มีขนาดปกติถ้าไก่ได้รับน้ําไม่เพียงพอเนื่องจากน้ําร้อนหรือเย็นเกินไป หรือ มีรสชาติไม่น่ากิน (Un palatability) หรือการไม่มีน้ํากินจะมีผลทําให้ไข่ มีขนาดเล็ก และยังทําให้ผลผลิตไข่ ลดลงด้วย 
  7. โรค (Diseases) โรคบางโรค เช่น นิวคาสเซิล (Newcastle)และโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง (Infectious bronchitic) มีผลทําให้ผลผลิตไข่ลดลง ขนาดไข่เล็กลงและฟองไข่มักมีรูปร่างผิดปกติไก่ที่เป็น โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังแม่ไก่จะให้ไข่ที่มีขนาดเล็กลง 
  8. สารเคมีสารเคมีที่ใช้ในการอบเมล็ดธัญพืช (Grain fumigants) เพื่อรักษาเมล็ดธัญพืช เช่น Ethylene dibromide มีผลทําให้ไกไข่ให้ไข่ที่มีขนาดเล็กลงเป็นอย่างมาก 
  9. ลําดับของไข่ในตับไข่ (Clutch order) ลําดับของไข่ในตับไข่จะมีผลต่อน้ําหนักของไข่คือไข่ฟอง แรกในตับไข่นั้น ๆ จะมีขนาดใหญ่ที่สุดและขนาดของไข่ฟองถัดไปก็จะมีขนาดเล็กลงตามลําดับของไข่ในตับไข่ นั้น 
  10. จํานวนไข่ที่ให้ในปีนั้น ตามปกติไก่ที่ให้ไข่ใหม่ๆ จะให้ไข่ขนาดเล็กก่อนแล้วขนาดของฟองไข่ ถัดมาก็จะมีขนาดใหญ่ขึ้น จนถึงมาตรฐานเป็นระยะเวลานาน ต่อจากนั้นเมื่อไก่มีอายุมากมีแนวโน้มที่ไข่มีขนาด เล็กลงเรื่อย ๆ ตามลําดับ 
  11. อายุของแม่ไก่ที่ให้ไข่ฟองแรก แม่ไก่ที่ให้ไข่ฟองแรกช้าจะให้ไข่ขนาดมาตรฐานได้เร็วกว่าแม่ไก่ ที่ให้ไข่ฟองแรกเร็ว 
ความผิดปกติของไข่ (Egg abnormality)  
ในบางครั้งแม่ไก่จะให้ไข่ที่มีลักษณะผิดปกติเหมือนกัน ลักษณะที่นับว่าเป็นไข่ผิดปกติที่พบเห็นบ่อย ๆ ได้ไก่ไข่ดังต่อไปนี้ 
  1. ไข่แฝด (Double-yolked Egg) เกิดขึ้นเนื่องจากความผิดปกติในการเจริญของไข่แบะการตกไข่ (Ovulation) ถ้ามีไข่แดงเจริญขึ้นพร้อมกันและเกิดการตกไข่ขึ้นพร้อมกัน 2 ฟอง เรียกว่า ไข่แฝดมักจะเกิด ขึ้นกับแม่ไก่ที่เริ่มให้ไข่เนื่องจากระบบการผลิตไข่ยังทํางานไม่ปกติ 
  2. ไข่มีจุดเลือด (Blood spots) เกิดขึ้นเนื่องจากในขณะที่เกิดการตกไข่ขึ้นนั้นมีเส้นเลือดฝอยที่ถุง หุ้มไข่หรือนําไข่ตอนต้นฉีกขาดมีเลือดไหลออกมา เมื่อมีการสร้างฟองไข่ในท่อนําไข่ก็จะมีจุดเลือดอยู่ในฟองไข่ นั้นด้วย มักพบในไข่ที่ได้จากแม่ไก่ที่ให้ผลผลิตสูง 
  3. ไข่มีจุดเนื้อ (Meat spots) เกิดขึ้นเนื่องจากในขณะไข่ตกนั้นมีบางส่วนของถุงหุ้มไข่ฉีดขาดหลุด ลงมาพร้อมกับไข่แดง มักเป็นจุดที่มีสีเข้ม ลักษณะการมีจุดเลือดหรือจุดเนื้อในฟองไข่เป็นลักษณะที่สามารถ ถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรมและเราสามารถปรับปรุงไก่ไม่ให้มีลักษณะนี้ได้โดยการคัดพันธุ์ลักษณะทั้งสองนี้มี ความสําคัญทางเศรษฐกิจในการผลิตไก่ไข่มากเช่นเดียวกัน 
  4. ไข่ไม่มีไข่แดง (Yolkless eggs) เกิดขึ้นเนื่องจากการมีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในท่อนําไข่ ต่อจากนั้นก็จะมีการสร้างฟองไข่ส่วนอื่น ๆ ต่อไปโดยที่ไม่มีไข่แดงในฟองนั้น ตามปกติไข่ที่ไม่มีไข่แดงนั้น จะมี ขนาดเล็กกว่าฟองไข่ปกติเสมอ บางครั้งอาจเรียกว่า “ไข่หิน”  
  5. ไข่มีรอยย่นที่เปลือก (Dented eggshell) เกิดขึ้นเนื่องจากในบางครั้งฟองไข่ฟองแรกอยู่ใน Uterus นานกว่าปกติและแม่ไก่ยังไม่ออกไข่ขณะเดียวกันก็มีการสร้างไข่ฟองถัดไปเกิดขึ้นเมื่อไข่ฟองใหม่ถูก สร้างจนถึงส่วน Uterus ก็จะไปชนไข่ฟองแรกซึ่งมีเปลือกแข็งอยู่แล้ว เมื่อไข่ฟองหลังถูกสร้างเรียบร้อยแล้วจะ มีลักษณะเป็นรอยย่นอยู่ที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของฟองไข่ 
  6. ไข่ไม่มีเปลือก (Soft-shelled eggs) เกิดขึ้นเนื่องจากไม่มีเปลือกไข่ชั้นนอกหุ้มห่อฟองไข่ ซึ่ง อาจจะมีสาเหตุเนื่องจากการขาดธาตุอาหารบางชนิดที่จําเป็นสําหรับการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกายได้แก่ วิตามินดีหรือขาดธาตุแคลเซียมซึ่งจําเป็นสําหรับการสร้างแคลเซียมคาร์บอเนตของเปลือกไข่ หรือมักพบใน กรณีที่สัตว์เกิดความเครียด เช่น หลังการให้วัคซีน จะทําให้กระขบวนการสร้างไข่ผิดปกติได้หรือบางครั้งอาจ เรียกว่า “ไข่หนัง” 
เอกสารอ้างอิง
เกียรติศักดิ์สรอยส ้ ุวรรณ. 2545. การฟักไขและการจ ่ ัดการโรงฟัก. คณะวิชาสัตวศาสตร์สถาบัน เทคโนโลยี ราชมงคล วิทยาเขตนครศรีธรรมราช, นครศรีธรรมราช. 230 น.  
เฉลิมชัย สังข์มณฑล. 2554. คู่มือไก่ไข่. เกษตรสยาม, กรุงเทพฯ.  
วรวิทย์วณิชาภิชาติ. 2531. ไข่และการฟักไข่. เค.ยู.บุ๊คเซนเตอร ็ ์. กรุงเทพฯ.  
วิโรจน์จันทรัตน์. 2537. กายวิภาคและสรีระวิทยาของสัตว์ปีก. มหาวิทยาลัยแม่โจ, ้เชียงใหม่.  สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2551. สถติิการเกษตรของประเทศไทยปี 2550. ศูนย์สารสนเทศสานํ ักงาน เศรษฐกิจการเกษตร, กรุงเทพฯ.  
อรวรรณ ชินราศรี. 2547. เทคโนโลยีการผลิตสัตว์ปีก. หจก. อภิชาตการพิมพ์, มหาสารคาม.  อาวุธ ตันโช. 2540. การผลิตสัตว์ปีก. พิมพคร์ ั้งที่ 2. ภาควิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์สถาบันเทคโนโลยีพระ จอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, กรุงเทพฯ.
     ปัจจุบันประเทศไทยมีการเลี้ยงไก่ไข่อย่าง แพร่หลายทั้งเลี้ยงแบบธรรมชาติและแบบเป็นอุตสาหกรรม ซึ่งพื้นที่ที่เป็นแหล่งผลิตไข่ไก่ที่สําคัญของ เมืองไทยอยู่ในภาคตะวันออกเป็นส่วนใหญ่ รองลงมาเป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ภาคตะวันตก เขตกรุงเทพและปริมณฑล ตามลําดับ โดยจังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตไข่ไก่มากที่สุด ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา รองลงมาเป็นจังหวัดนครนายก ชลบุรีพระนครศรีอยุธยา และอุบลราชธานีตามลําดับ  
พันธุ์ไก่ไข่ 
     พันธุ์ไก่นับเป็นปัจจัยที่สําคัญประการกนึ่งของธุรกิจการเลี้ยงไก่ให้ประสบผลสําเร็จ ดังนั้นผู้เลี้ยง จะต้องเลือกพันธ์ุไก่ให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ของการเลี้ยง เช่น เลือกไก่สายพันธุ์ไข่เพื่อการผลิตไข่ เป็นต้น ซึ่งในอดีตนั้นนิยมเลี้ยงไก่พันธุ์แท้แต่พันธุ์ไก่ไข่ที่นิยมเลี้ยงในเมืองไทยในปัจจุบันส่วนมากแล้วเป็นไก่สายพันธุ์ ลูกผสมเกือบทั้งสิ้น ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ได้มีการคัดเลือกและปรังปรุงพันธุ์มาเป็นอย่างดีเช่น ให้ไข่ดก ไข่ฟองโต ให้ไข่ ทนและกินอาหารน้อย สําหรับพันธุ์ไก่ที่เลี้ยงในเมืองไทยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทด้วยกันคือ  
  1. ไก่พันธุ์แท้เป็นไก่ที่ได้รับการคัดเลือกและผสมพันธุ์เป็นอย่างดีมาอย่างต่อเนื่องของนักผสมพันธุ์จน ลูกหลานในรุ่นต่อๆมามีลักษณะรูปร่าง ขนาด สีและอื่น ๆ เหมือนบรรพบุรุษหรือลักษณะประจําพันธุ์คงที่ ไก่ พันธุ์แท้เคยได้รับความนิยมมากในสมัยหนึ่ง เพราะได้ชื่อว่าเป็นไก่ที่ให้ไข่ดก แต่ต่อมาภายหลังได้มีการปรับปรุง พันธุ์จนได้พันธุ์ซึ่งให้ผลผลิตสูงขึ้นกว่าขึ้นมาทดแทนไก่พันธุ์แท้จึงได้รับความนิยมน้อยลง จนในปัจจุบันไก่พันธุ์ ได้รับความสนใจและเลี้ยงเป็นการค้ากันน้อยมาก เพราะผู้เลี้ยงไก่ไข่นิยมเลี้ยงไก่ลูกผสมอันเกิดจากการผสม ข้ามพันธุ์ซึ่งให้ผลผลิตที่ดีกว่าไก่พันธุ์แท้มาก สําหรับพันธุ์ไก่ไข่พันธุ์แท้ที่ยังมีเลี้ยงในเมืองไทย ได้แก่ 
1.1 พันธุ์โร๊ดไอส์แลนด์เรด (Rhode Island Red) หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า “ไก่โร๊ด” มีถิ่นกําเนิด อยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นไก่พันธุ์เก่าแก่พันธุ์หนึ่งที่มีอายุกว่า 100 ปีโดยการผสมและคัดเลือกพันธุ์มา จากไก่พันธุ์มาเลย์แดง ไก่เซี่ยงไฮ้แดง ไก่เล็กฮอร์นสีน้ําตาล ไก่คอร์นิส ไก่ไวยันดอทท์และไก่บราห์มาส์ไก่พันธุ์ โร๊ดไอส์แลนด์เรดมี 2 ชนิด คือ ชนิดหงอนกุหลาบ (Rose comb) และชนิดหงอนจักร (single comb) แต่ที่ นิยมเลี้ยงกันแพร่หลายเป็นชนิดหงอนจักร ซึ่งเป็นไก่ที่ให้ไข่ค่อนข้างดีเคยมีสถิติชนะการแข่งขันไก่ไข่ดกใน ประเทศไทยอยู่เสมอ 
      ลักษณะไก่โร๊ดไอส์แลนด์เรดหงอนจักร เป็นไก่ประเภทกึ่งเนื้อกึ่งไข่ ได้รับการปรับปรุงพันธุ์จนมีหงอน แบบหงอนจักรขนาดกลาง มีรูปร่างค่อนข้างยาวและลึก เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนทั่วไปตามลําตัวมีสีน้ําตาล แดงเข้ม ขนปีกขนหางมีสีดําเหลือบเขียว ผิวหนังและหน้าแข้งมีสีเหลืองจัด ปากมีสีแดงเหลือง ตาสีแดง หงอน
 
จักร 5 แฉก แผ่นหูมีสีแดง เปลือกไข่มีสีน้ําตาล ขนาดไข่ใหญ่ปานกลาง นิสัยเชื่อง สามรถปรับตัวเข้ากับ สภาพแวดล้อมได้ดีเริ่มให้ไข่เมื่ออายุประมาณ 5 เดือนครึ่ง ให้ไข่ค่อนข้างดกคือให้ไข่ปีล่ะประมาณ 280-300  ฟอง น้ําหนกตั ัวเมื่อโตเต็มที่เพศผู้หนัก 3.1-4.0 กิโลกรัม เพศเมียหนัก 2.4-4.0 กิโลกรัม 
       สมัยก่อนในประเทศไทยนิยมเลี้ยงไก่พันธุ์นี้กันมาก เพราะนอกจากจะให้ผลผลิตดีทั้งด้านไข่และเนื้อยัง แข็งแรงทนทางเลี้ยงง่าย และโตเร็ว แต่ในปัจจุบันนิยมเลี้ยงเพื่อใช้เป็นพันธุ์ตั้งต้น ในการผลิตไก่ไข่ลูกผสม ไฮบริดกันเป็นส่วนใหญ่ เพื่อให้ได้ลูกผสมที่สามารถคัดเพศเมื่อแรกเกิดได้โดยใช้ไก่โร๊ดเพศผู้ผสมกับบาร์ พลีมัทร็อคเพศเมีย ลูกผสมที่ได้จะสามารถคัดเพศได้เมื่ออายุ 1 วัน โดยดูความแตกต่างของสีขน กล่าวคือ ลูกไก่ที่เป็นเพศเมียจะมีขนสีดําตลอดตัว ส่วนลูกไก่ที่เป็นเพศผู้จะมีขนสีดําทั้งตัวแต่จะมีจุดสีขาวที่หัว และเมื่อ โตเต็มที่แล้วไก่ลูกผสมเพศเมียจะเป็นไก่ที่มีขนสีดําทั้งตัว และไก่ลูกผสมเพศผู้จะมีขนสีลายตลอดทั้งตัวแบบไก่ บาร์โดยไก่ไข่ที่เลี้ยงเพื่อการค้าในปัจจุบันที่ให้ไข่เปลือกสีน้ําตาลนั้น ส่วนใหญ่มาจากการผสมข้ามพันธุ์ของไก่ โร๊ดไอส์แลนด์เรดหงอนจักรกับไก่พันธุ์บาร์พลีมัทร็อค ลูกผสมที่ได้จะให้ไข่ดก ไข่มีเปลือกสีน้ําตาล และให้ไข่ ฟองโต 
 
1.2 พันธุ์บาร์พลีมัทร็อค (Barred Plymouth Rock) หรือที่เรียกกันว่า “ไก่บาร์” เป็นไก่ พลีมัทร็อคที่มีขนสีบาร์คือ มีขนสีดําสลับกับสีขาว ตามขวางของขน ลักษณะลําตัวยาว หงอนจักร ปากสี เหลือง ตาสีน้ําตาลแดง หงอนเหนียงและตุ้มหูมีสีแดง หนังสีเหลือง ขาและนิ้วเท้าสีแดง ให้ไข่เปลือกสีน้ําตาล เริ่มให้ไข่เมื่ออายุประมาณ 5 เดือนครึ่ง ทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดีตัวผู้มีน้ําหนักประมาณ 3.6-4.3  
กิโลกรัม ตัวเมียมีน้ําหนักประมาณ 2.7-3.7 กิโลกรัม 
ไก่พันธุ์บาร์พลีมัทร็อคมีถิ่นกําเนิดอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นไก่ประเภทกึ่งเนื้อกึ่งไข่ เป็นพันธุ์ที่ ได้มีการผสมและคัดเลือกพันธุ์ขึ้นเมื่อประมาณปีค.ศ. 1865 โดยการผสมระหว่างไก่ตัวผู้พันธุ์โดมินิค (Dominiqlue) กับไก่ตัวเมียพันธุ์โคชินดํา (Black Chochin) หรือจาวาดํา (Black Java) เคยเป็นพันธุ์ที่ได้รับ ความนิยมเลี้ยงเป็นไก่ไข่อยู่ระยะหนึ่งเมื่อประมาณ 30 กว่าปีก่อน แต่ในปัจจุบันนิยมใช้แม่พันธุ์ผสมกับพ่อพันธุ์ โร๊ดไอส์แลนด์เรดหรือพันธุ์นิวแฮมเชียร์เพื่อผลิตลูกผสมไฮบริดเป็นการค้าชนิดคัดเพศได้เมื่อแรกเกิดโดยดูจาก สีของขน โดยลูกผสมตัวเมียจะมีขนสีดําและให้ไข่ดก ส่วนลูกผสมตัวผู้มีสีบาร์ 
 
1.3 พันธุ์เล็กฮอร์นขาวหงอนจักร (Single Comb White Leghorn) มีถิ่นกําเนิดในประเทศอิตาลี จัดเป็นพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงกันแพร่หลายที่สุดในบรรดาไก่เล็กฮอร์นด้วยกัน ซึ่งไก่พันธุ์นี้เคยเป็นที่นิยมเลี้ยงเป็นไก่ ไข่อย่างแพร่หลาย ในสมัยเริ่มแรกที่มีการเลี้ยงไก่ไข่เชิงอุตสาหกรรม เป็นไก่พันธุ์เบาที่มีขนาดเล็ก ลักษณะ ว่องไว ปราดเปรียว มีการเจริญเติบโตเร็ว ขนสีขาวทั้งตัว หงอนจักร 5 แฉกขนาดใหญ่ หงอนมีสีแดง ปาก เหลือง ตุ้มหูสีขาว ผิวหนังและหน้าแข็งสีเหลือง ให้ไข่เร็ว ให้ไข่ดก ไข่เปลือกสีขาว มีประสิทธิภาพในการ เปลี่ยนอาหารค่อนข้างสูง ทนต่ออากาศร้อนได้ดีเริ่มให้ไข่เมื่ออายุประมาณ 4 เดือนครึ่ง ให้ไข่ปีละประมาณ 300 ฟอง น้ําหนักเมื่อโตเต็มที่เพศผู้หนัก 2.2-2.9 กิโลกรัม เพศเมียหนัก 1.8-2.2 กิโลกรัม 
 
ปัจจุบันนิยมใช้ไก่พันธุ์เล็กฮอร์นขาวหงอนจักรผสมข้ามสายพันธุ์ตั้งแต่ 2 สายพันธุ์ขึ้นไป เพื่อผลิตไก่ไข่ ลูกผสมเพื่อการค้าที่ให้ไข่ดก ไข่ฟองโต และกินอาหารน้อย ซึ่งตรงตามความต้องการของตลาด
 
  1. ไก่พันธุ์ลูกผสม (Hybrid Breeds) หมายถึง พันธุ์ไก่ไข่ที่ได้จากการนําไก่ไข่ตั้งแต่ 2 สายพันธุ์ขึ้นไป มาผสมกัน เป็นไก่พันธุ์ไข่ที่นิยมเลี้ยงกันในเชิงการค้ามากที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นพันธุ์ไก่ที่ผสมขึ้นเป็น พิเศษ โดยบริษัทผู้ผลิตลูกไก่พันธุ์ไข่จําหน่ายได้มีการพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ให้มีประสิทธิภาพในการให้ผล ผลิตไข่สูงและมีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาดคือให้ไข่ดก เปลือกไข่สีน้ําตาล ไข่ฟองโตและไข่ทน เพราะได้รับการรวบรวมลักษณะต่างๆเข้าไว้ด้วยกัน 
     ไก่พันธุ์ลูกผสมนี้จะมีลักษณะเด่นประจําพันธุ์และมีข้อมูลประจําพันธุ์อย่างละเอียด เช่น อัตราการ เจริญเติบโต ปริมาณอาหารที่กิน อัตราการเลี้ยงรอด เปอร์เซ็นต์การไข่ ระยะเวลาในการให้ไข่ขนาดของแม่ไก่ ขนาดของฟองไข่สีของเปลือกไข่ เป็นต้น แต่ไก่ลูกผสมนี้จะต้องเลี้ยงด้วยอาหารที่มีคุณภาพสูง มีการจัดการที่ถู ต้อง เช่นการควบคุมน้ําหนัก การควบคุมการกินอาหาร การควบคุมแสงสว่าง ตลอดทั้งการสุขาภิบาลและการ ป้องกันโรคที่ดีด้วยเช่นกัน 
      ด้วยเหตุที่ไก่พันธุ์ลูกผสมส่วนใหญ่มีการผสมพันธุ์ที่ดําเนินการโดยบริษัทผลิตพันธุ์ไก่ไข่เป็นการค้า ซึ่ง บริษัทจะรักษาไก่ต้นพันธุ์และระบบการผสมพันธุ์ไว้เป็นความลับ เพื่อผลประโยชน์ในทางการค้า ในปัจจุบันไก่ ไข่พันธุ์ลูกผสมมีมากมาย ส่วนใหญ่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์ในสหรัฐอเมริกาและในยุโรป โดยมีลิขสิทธิ์เฉพาะ ของผู้ที่ปรับปรุงพันธุ์ได้ส่วนในประเทศไทยบริษัทเอกชนต่างๆได้นําเข้าไก่พ่อแม่พันธุ์รุ่นปู่ย่าและรุ่นพ่อแม่มา ผลิตลูกไก่ไข่จําหน่ายให้กับผู้เลี้ยง ซึ่งมีอยู่หลายพันธุ์ด้วยกัน เช่น เอ.เอ.บราวน์ (A.A. Brown) รอสบราวน์ (Ross Brown) ไฮเซกบราวน์ (Hisex Brown) อีซ่าบราวน์ (Isa Brown) ซูปเปอร์ฮาร์โก้ (Super Harco) ดี คาร์บวอร์เรน (Dekalb Voren) ฮับบาร์ดโกเด้นคอมเมท (Hubbard Golden Commet) เซพเวอร์สตาร์ ครอส 579 (Shaver Starcross 579) แบ๊บค๊อกบี-380 (Babcock B-300) บาโบลนาเตตร้า-เอสแอล (Babolna Tetra-SL) เป็นต้น  
หลักการเลือกพันธุ์ไก่ไข่มาเลี้ยง  
      เนื่องจากพันธุ์ไก่เป็นปัจจัยสําคัญอย่างหนึ่งในการเลี้ยงไก่ไข่ให้ประสบผลสําเร็จ ดังนั้นการเลือกพันธุ์ ไก่ไข่มาเลี้ยงจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ อย่าหลงเชื่อคําโฆษณาแต่อย่างเดียว ผู้เลี้ยงจะต้องคัดเลือกพันธุ์ โดยใช้ข้อสังเกตและยึดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้ 
  1. เป็นไก่สายเลือกที่ดีซึ่งผ่านการคัดเลือกขึ้นมาเป็นไก่ไข่โดยเฉพาะ 
  2. มีลักษณะดีตรงตามพันธุ์และประเภทของไก่ไข่ 
  3. ผลิตจากฟาร์มที่มีมาตรฐานดีและเชื่อถือได้ 
  4. มีประสิทธิภาพในการให้ผลผลิตไข่สูง ระยะไข่สูงสุดยาวนาน ไข่ทน ไข่ฟองใหญ่และเปลือกหนา 5. มีอัตราการเลี้ยงรอดสูง แข็งแรง ทนต่อสภาพแวดล้อมดินฟ้าอากาศของเมืองไทยได้ดี 6. ควรได้สอบถามจากผู้เลี้ยงรายอื่นเกี่ยวกับพันธุ์ไก่ที่กําลังพิจารณาอยู่และพันธุ์อื่นๆเพื่อการ เปรียบเทียบ 
โครงสร้างของไข่ (Structure of the Egg)  
โครงสร้างของฟองไข่ประกอบด้วยองค์ประกอบที่สําคัญ 5 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ เปลือกไข่ (Shell) และ เยื่อเปลือกไข่หรือเยื่อหุ้มฟองไข่ (Egg shell membrane) ช่องอากาศ (Air cell, Air space) ไข่ขาว (Albumen) ไข่แดง (Yolk) และจุดกําเนิด (Germinal dise) ดังแสดงในภาพที่ 1  

โครงสร้างไข่ไก่
  1. เปลือกไข่ (Shell) เปลือกไข่ประกอบด้วยชั้นต่างๆที่สําคัญ 2 ชั้นโดยภายในชั้นเหล่านี้ประกอบไป ด้วยรูพรุนมากมายประมาณ 8,000 รูสําหรับให้เป็นทางผ่านของน้ําและแก๊สต่างๆนอกจากนี้แล้วเชื้อแบคทีเรีย อาจจะผ่านหรือซึมผ่านรูที่เปลือกไข่ได้ด้วยเหมือนกัน ปกติแล้วเปลือกไข่ที่ออกมาใหม่ๆจะมีลักษณะใส แต่จะ ทึบเมื่อมันแห้งลงผิวนอกของเปลือกไข่จะมีแผ่นเยื่อบาง ๆ เรียกว่า (Bloom or cuticle) คาดหรือปกคลุมอยู่ ซึ่งหลังจากไข่ออกมาเยื่อบางๆนี้จะแห้งอย่างรวดเร็วทําให้ไปปิดรูพรุนที่เปลือกจนสนิท เพื่อป้องกันการระเหย ของน้ําและแก๊สออกจากไข่รวมทั้งป้องกันการซึมผ่านของเชื้อแบคทีเรียซึ่งอาจเกิดขึ้นได้เปลือกไข่ที่ส่วนปลา ยมลของฟองไข่จะมีรูพรุนมากกว่าส่วนอื่นๆ ของเปลือกไข่ ในระหว่างการฟักไข่ของแม่ประมาณ 3 สัปดาห์นั้น ปรากฏว่าจะมีความชื้นหรือน้ําจากฟองไข่ระเหยออกไปประมาณ 15 %ของความหนาของเปลือกไข่จะเห็นได้ ว่ามีส่วนสัมพันธ์โดยตรงต่อปริมาตรของไข่ ยกตัวอย่างเช่น เปลือกไข่ของนกฮัมมิ่งเบิร์ด จะหนาเพียง 0.06  มิลลิเมตร เปลือกไข่จําเป็นต้องมีความหนาเพียงพอที่จะพยุงส่วนประกอบภายในไข่ไว้และก็มีความเปราะ เพียงพอที่จะให้ตัวอ่อนภายในเจาะออกมาได้ง่าย  
      ถัดจากเปลือกไข่เข้าไปก็จะถึงเยื่อหุ้มฟองไข่บางๆซึ่งมีอยู่ 2 ชั้น โดยทําหน้าที่หุ้มส่วนไข่ขาวไว้และยัง ป้องกันส่วนประกอบของไข่จากการลุกล้ําของเชื้อแบคทีเรีย ตลอดจนป้องกันไม่ให้น้ําระเหยออกไปจากไข่ได้ อย่างรวดเร็ว เยื่อหุ้มฟองไข่ทั้งสองชั้น (Outer shell and inner shell membranes) ปกติจะอยู่ชิดกัน ยกเว้นตรงส่วนปลายป้านของฟองไข่มักจะอยู่ห่างกันทําให้เกิดเป็นช่องอากาศ (Air cell) ดูคล้ายกับเลนซ์นูน 
ในเวลาที่ไข่ถูกไข่ออกมาใหม่ๆจะไม่มีส่วนช่องอากาศ (Air cell) อยู่เลยจนกระทั่งไข่เย็นลงก็จะเกิด เป็นช่องอากาศให้เห็นได้ทั้งนี้เป็นเพราะว่าอุณหภูมิของฟองไข่ที่ออกมาจากร่างกายใหม่ๆ จะมีอุณหภูมิเท่ากับ อุณหภูมิของร่างกาย (ประมาณ 107°F) ซึ่งมีอุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิภายนอกร่างกาย ทําให้อุณหภูมิของไข่จะ
 
      ค่อยๆลดลงเป็นผลให้ส่วนประกอบภายในไข่เกิดการหดตัวมากกว่าส่วนเปลือกไข่ทําให้ภายในไข่เกิดเป็น สุญญากาศและอากาศก็จะถูกดึงผ่านเข้ามาทางรูปพรุนที่ส่วนปลายป้านของฟองไข่จึงเกิดเป็นช่องอากาศขึ้น ขนาดของช่องอากาศจะมีขนาดใหญ่ขึ้นตามเวลาที่เก็บ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณร้อนและแห้งแล้ง) การ ขยายใหญ่ของช่องอากาศเกิดขึ้นมาจากการระเหยของน้ําและแก๊สออกจากฟองไข่ช่องอากาศในฟองไข่ทํา หน้าที่ป้องกันการช็อกที่อาจเกิดขึ้นจากการกระแทก (Shock absorber) ในระหว่างการเจริญของตัวอ่อน ภายในระยะแรกๆ นอกจากนั้นยังเป็นส่วนที่ให้อากาศหายใจแก่ตัวอ่อนภายในไข่ที่มีอายุการฟัก 21-28 วัน ซึ่ง มันจะใช่จงอยปากเจาะเยื่อหุ้มฟองไข่เข้าใจในช่องอากาศภายในฟองไข่ใหม่ๆจะสังเกตเห็นส่วนขั้วสีขาว 2 ขั้ว ยึดอยู่ที่ปลายทั้งสองข้างของไข่แดง (White cords) ส่วนขั้วนี้เรียกว่าคาลาซ่า (Chalazae) ซึ่งเป็นแถบที่บิดขด เป็นเกลียวของเยื่อเหนียวๆของมิวซิน (Twisted strands of mucin fibers) ประกอบไปด้วยโปรตีนชนิด พิเศษส่วนคาลาซ่านี้ทําหน้าที่ยึดไข่แดงให้อยู่ส่วนกลางของไข่  
  1. เยื่อหุ้มไข่และช่องอากาศ (The Shell Membranes and Air Space) บริเวณภายในฟองไข่ จะมี เยื่อบางๆ 2 แผ่นหุ้มอยู่โดยรอบ ซึ่งทั้ง 2 แผ่นจะสัมผัสกันอยู่อย่างหลวมๆ โดยเนื้อเยื่อชั้นนอกจะเกาะติด แน่นกับส่วนเปลือก ซึ่งก็หมายความว่าส่วนของเปลือกจะฝังตัวอยู่บนส่วนของเนื้อเยื่อชั้นนอกและชั้นใน ขณะที่ทําการฟักไข่พบว่าองค์ประกอบภายในฟองไข่จะเริ่มหดตัว ทั้งนี้เนื่องมาจากการระเหยของน้ําออกจาก ฟองไข่และเนื่องจากการพัฒนาและการเจริญเติบโตของตัวอ่อนจําเป็นจะต้องใช้สารอาหารต่างๆที่มีอยู่ภายใน ฟองไข่และจากเหตุผลดังกล่าวจึงส่งผลทําให้เนื้อเยื่อทั้ง 2 ส่วนเกิดการแยกตัวออกจากกัน บริเวณด้านป้าน ของฟองไข่และเกิดเป็นช่องอากาศขึ้นมา ทั้งนี้ส่วนของช่องอากาศจัดเป็นองค์ประกอบที่มีความสําคัญต่อการ พัฒนาของตัวอ่อนเป็นอย่างมาก เพราะเป็นส่วนที่ช่วยให้ตัวอ่อนสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ในช่วงเวลา ก่อนที่จะมีการฟักออกเป็นตัว  
  2. 3. ไข่ขาว (The White or Albumen)ไข่ขาวเป็นส่วนเนื้อไข่ที่เป็นโปรตีนลักษณะครึ่งแข็งครึ่งเหลว ค่อนข้างประกอบไปด้วยน้ําในปริมาณสูง ยืดหยุ่นได้ทําหน้าที่เป็นตัวป้องกันการช็อคการกระแทก (Shock  absorbing) และเป็นตัวป้องกันความร้อนอย่างดีส่วนเนื้อไข่ขาวนี้สามารถแบ่งออกได้เป็นชั้นต่างๆได้ 4 ชั้นคือ (1) Outer thin white (Layer of outer thin white หรือ Fluid layer) (2) ชั้น Middle thick white  (Layer of thick white) (3) ชั้น Inner liquid layer (Layer of inner thin white) และ (4) ชั้น Chalaziferous layer (Layer of thick white) ซึ่งหุ้มรอบไข่แดงส่วนชั้นในสุดของไข่ขาวในส่วนปลายทั้งสอง ข้างของไข่แดง จะมีรูปร่างคล้ายปมเชือกทําให้เกิดเป็นส่วนที่เรียกว่า คาลาซ่า (Chalaza) ซึ่งทําหน้าที่ยึดให้ไข่ แดงอยู่ในส่วนกลางของฟองไข่และยอมให้ไข่แดงหมุนและบิดไปมาได้ส่วนประกอบที่เหลือจะเป็นส่วน Non protein solids ซึ่งประกอบไปด้วยคาร์โบไฮเดรตครึ่งหนึ่งและไอออนของอนินทรีย์สารอีกครึ่งหนึ่ง (วิโรจน์,  2537)  
  3. ไข่แดง (The yolk)ไข่แดงประกอบด้วยชั้นต่างๆที่มีสีเข้มและจางเรียงซ้อนกันอยู่เป็นวงกลมแผ่ออก ตามรัศมีอยู่ภายในเยื่อหุ้มไข่แดง (Vitellinemembrane) ปกติมีน้ําหนักเบากว่าไข่ขาว และมักจะอยู่ค่อนไป ทางด้านบนเหนือจุด ศูนย์กลางของไข่ที่ออกใหม่ๆ จุดเจริญ (Germ cell หรือ Blastoderm) จะพบเห็นเป็น จุดจางๆอยู่บนผิวบนสุด ซึ่งสังเกตเห็นได้ชัด จุดเจริญนี้ในไข่ที่ได้รับการผสมกับเชื้อตัวผู้แล้วจะเจริญเป็นตัว
     อ่อนขึ้น ถ้าอยู่ในภาวะสิ่งแวดล้อมที่พอเหมาะ ไข่ที่มีไข่แดง 2 ฟองอาจจะได้รับการผสมด้วยตัวอสุจิแต่มักจะ ฟักไม่ออก การเกิดไข่แดง 2 ฟองในไข่ใบเดียวกัน อาจเป็นผลมาจากการตกของไข่ (Ovum) 2 ฟองที่เกิดขึ้น เกือบพร้อมกันในเวลาเดียวกัน สําหรับไข่ที่มีเชื้อควรเก็บไว้ในอุณหภูมิต่ํากว่า 10 องศาเซลเซียสเพื่อป้องกัน การเจริญของตัวอ่อนภายในไข่ไก่นับได้ว่าเป็นสิ่งที่ทําให้เกิดการคงไว้ตลอดไปของสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะในสัตว์ ปีกจะเห็นได้ว่า ภายในไข่แดงจะมีโภชนะอาหารที่จําเป็นต่อการเจริญของตัวอ่อนอยู่มาก ซึ่งมากกว่าส่วนไข่ ขาวเสียอีก (การเจริญเติบโตของตัวอ่อนในไข่ของสัตว์บางชนิด เช่น นกไซกินเวลาเพียง 2 สัปดาห์ในขณะที่นก อีมูกินเวลาเกือบ 8 สัปดาห์เปลือกไข่ประกอบไปด้วยธาตุแคลเซียมคาร์บอเนต ส่วนมากประมาณ 93-98%ซึ่ง จะถูกนําไปใช้ในการสร้างกระดูกและส่วนอื่นๆ ของร่างกายโดยตัวอ่อนในไข่ นอกจากนั้นเปลือกยังมีพวก โปรตีนจํานวนน้อยและแร่ธาตุอื่นๆบ้าง  
  1. จุดกําเนิดหรือจุดเจริญ (The Germinal Disc) เมื่อทําการตอกฟองไข่ออก จะพบว่าส่วนผิว ด้านบนของไข่แดงมีจุดสีขาว ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4 มิลลิเมตร ทั้งนี้ส่วนดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจาก การรวมตัวกันระหว่างเซลล์หนึ่งเซลล์ของเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย หรือไข่ กับเซลล์หนึ่งเซลล์ของเซลล์สืบพันธุ์ เพศผู้หรือสเปิร์ม โดยที่แต่ละเซลล์จะมีจํานวนโครโมโซมเพียงครึ่งหนึ่ง (n) ของเซลล์ร่างกายปกติซึ่งมี จํานวนโครโมโซมเป็นเลขคู่ (2n) และภายหลังจากการรวมตัวกันของไข่และสเปิร์ม ซึ่งเรียกว่ากระบวนการ ปฏิสนธิจะได้เป็นเซลล์ของร่างกายที่มีจํานวนโครโมโซมเป็นเลขคู่ (2n) จากนั้นเซลล์ดังกล่าวจะเกิดการแบ่ง เซลล์เป็น 2 เซลล์และมีการเจริญพัฒนาและแบ่งตัวต่อไปเรื่อยๆ และผลสุดท้ายก็จะพัฒนากลายเป็นลูกไก่ ต่อไป โดยในลูกไก่ในขณะที่อยู่ภายในฟองไข่ก็จะอาศัยองค์ประกอบภายในฟองไข่เป็นอาหารสําหรับการ เจริญเติบโต  
องค์ประกอบทางเคมีของไข่ (Composition of the Egg)  
     ส่วนประกอบส่วนใหญ่ของไข่ก็คือ น้ําและมีโปรตีน ไขมัน และเถ้า อย่างละเท่าๆกัน ไข่แดงเป็นส่วนที่ มีความเข้มข้น ของโภชนะสูง ที่สุด คือ มีน้ําอยู่เพียง 50 เปอร์เซ็นต์ดังแสดงในตารางที่ 1 
 
     นอกจากนั้นเป็นโปรตีนและไขมันเกือบทั้งหมด และ ยังประกอบด้วยไวตามิน แร่ธาตุ เม็ดสี (Pigment) และคลอเรสเตอรอล ในปริมาณสูง โปรตีนและไขมันในไข่แดง จะมีปริมาณค่อนข้างจะคงที่จะมี ความผันแปรไปเพียงเล็กน้อยตามอาหารที่ได้รับ แต่สําหรับไวตามิน แร่ธาตุและเม็ดสีจะผันแปรไปได้มากตาม ปริมาณที่มีอยู่ในอาหาร ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการฟักออกเป็นตัวของลูกไก่อย่างยิ่ง ไข่ขาวมีส่วนประกอบส่วน ใหญ่ เป็นน้ําและโปรตีน เยื่อเปลือกไข่ ประกอบด้วยโปรตีน และ Mucopoly saccharide ส่วนในเปลือกไข่จะ มีส่วนประกอบของแร่ธาตุเป็นหลัก  
การเก็บรักษาไข่ 
      การเก็บรักษาไข่มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมให้องค์ประกอบภายในไข่เกิดการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด โดยชะลอการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์และรักษาปริมาณน้ําและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในไข่ไว้ให้นานที่สุด ซึ่งโดยปกติไข่ทั้งเปลือกจะเก็บได้นานพอสมควร เพราะมีเปลือกไข่เป็นตัวปูองกัน ดังนั้นการเก็บรักษาคุณภาพ ไข่จึงควรเริ่มจากการเก็บไข่ในเล้าให้บ่อยที่สุด เพื่อปูองกันการแตกร้าวและลดการปนเปื้อนของจุลินทรีย์มี วิธีการเก็บรักษาไข่ดังนี้  
 – เก็บในที่อุณหภูมิต่ําใช้อุณหภูมิ 11.6 – 14.4 องศาเซลเซียส สําหรับไข่ไก่เพื่อการค้า และ 17.2 –  20 องศาเซลเซียส สําหรับไก่ไข่พันธุ์  
 – ความชื้นสัมพันธ์ประมาณ 75 – 80 เปอร์เซ็นต์ถ้าความชื้นสัมพันธ์มากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์จะ ทํา ให้ราขึ้น  
 – เก็บไข่ในสภาพที่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณ 0.55 – 2.5 เปอร์เซ็นต์   – เคลือบผิวไข่ด้วยน้ํามันแร่และแปรรูปเป็นไข่เค็ม หรือไข่เยี่ยวม้า 
 
รูปร่างของฟองไข่ (Egg shape)  
ตามปกติฟองไข่จะมีลักษณะเป็นรูปไข่ด้านที่มีช่องอากาศอยู่จะป้านกว่าอีกด้านหนึ่งเล็กน้อย แต่ บางครั้งพบว่าไข่มีรูร่างผิดจากปกติได้เหมือนกัน เช่น มีรูปร่างกลมหรือยาวกว่าปกติบิดเบี้ยว ผิวของฟองไข่ ขรุขระเป็นคลื่น เป็นต้น โดยน้ําหนักมาตรฐานของไก่ไข่ในประเทศไทย แสดงในตารางที่ 2  ตารางที่ 2 น้ําหนักมาตรฐานของไก่ไข่ในประเทศไทย 
รูปร่างฟองไข่
 
      จากการศึกษาทางเคมีของเม็ดสีของเปลือกไข่ทําให้ทราบว่าสีของเปลือกไข่ได้รับมาจากเม็ดสีในเม็ด เลือดแดง (Hemoglobin) หรือจากเม็ดสีในน้ําดีซึ่งเป็นผลจากการสลายตัวของเม็ดสีในเม็ดเลือดแดง จาก การศึกษาพบว่าสีของเปลือกไข่มีอยู่ 2 สีที่สําคัญคือ (1) Prophyrins ได้มาจากเฮโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงทํา ให้เปลือกไข่มีสีน้ําตาลและมีสีน้ํามันมะกอก (2) Cyanin ได้มาจากเม็ดสีในน้ําดีทําให้เปลือกไข่มีสีน้ําเงินและสี เขียว สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นแห่งๆ หรือกระจายทั่วไปในเปลือกไข่ ในฟองไข่อาจจะพบว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในสีต่างๆ กัน หรือพบซึมอยู่ทั่วเปลือกไข่ 
สิ่งพื้นต่างๆที่ปรากฏบนเปลือกไข่ เช่น สีขาว เทา ครีม น้ําตาล แดง หรือเขียวนั้น ปรากฏว่าไข่ของ สัตว์ปีกมีหลายชนิดจะมีรอยแต้ม รอยเปื้อนเป็นจุดๆ หรือเป็นแถบๆของสีน้ําตาล แดง สีลาเวนเดอร์เทา ดํา และสีอื่นๆอีกได้เหมือนกัน  
 
ปัจจัยที่ทําใหขนาดของไข ้ ่แตกต่างกัน 
ขนาดของไก่ไข่ปกติจะอยู่ในช่วงน้ําหนัก 45-65 กรัม ไข่ไก่จะมีลักษณะเล็กหรือใหญ่นั้นขึ้นอยู่กับ ปัจจัยหลายปัจจัย ได้แก่ 
  1. พันธุ์ไก่ (Breed) ขนาดของฟองไข่นั้นเป็นลักษณะหนึ่งที่ถูกควบคุมโดยพันธุกรรม ซึ่งสามารถ ถ่ายทอดไปยังลูกหลานได้ 
  2. คุณสมบัติเฉพาะตัวของไก่ (Individual) ในไก่พันธุ์เดียวกันคนล่ะสายพันธุ์หรือไก่แต่ล่ะตัวจะให้ ไข่ที่มีขนาดแตกต่างกัน และถึงแม้ไก่พันธุ์เดียวกันเมื่อสภาพแวดล้อมที่ได้รับเปลี่ยนแปลงก็จะให้ไข่ที่มีขนาด แตกต่างกันไปด้วย 
  3. อายุของไก่ (Age of bird) ไก่ที่เริ่มให้ไข่ใหม่ๆ นั้นจะให้ไข่ที่มีขนาดเล็กก่อน และเมื่อไก่มีอายุ การให้ไข่มากขึ้นก็จะให้ไข่ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น 
  4. อุณหภูมิ (Temperature) ในสภาพแวดล้อมที่อุณหภูมิสูงขึ้นแม่ไก่จะให้ไข่มีขนาดเล็กลง เนื่องจากแม่ไก่กินอาหารลดลง ถ้าอุณหภูมิต่ําลงแม่ไก่จะให้ไข่มีขนาดใหญ่ขึ้น 
  5. ชนิดของโรงเรือน (Type of housing) ไก่ที่เลี้ยงกรงตับจะให้ไข่ที่มีขนาดใหญ่กว่าไก่ที่เลี้ยงแบบ ปล่อยพื้นประมาณ 14 กรัมต่อไข่ 1 โหล และไก่ที่เลี้ยงบนพื้นแบบยกพื้น (Slat) จะให้ไข่ที่มีขนาดใหญ่กว่าไก่ที่ เลี้ยงบนวัสดุรองพื้น 
  6. อาหารและน้ํา (Feed and water) แม่ไก่ที่ได้รับอาหารที่มีโภชนะครบบริบูรณ์และมีปริมาณ เพียงพอกับความต้องการก็จะให้ไข่มีขนาดปกติถ้าไก่ได้รับน้ําไม่เพียงพอเนื่องจากน้ําร้อนหรือเย็นเกินไป หรือ มีรสชาติไม่น่ากิน (Un palatability) หรือการไม่มีน้ํากินจะมีผลทําให้ไข่ มีขนาดเล็ก และยังทําให้ผลผลิตไข่ ลดลงด้วย 
  7. โรค (Diseases) โรคบางโรค เช่น นิวคาสเซิล (Newcastle)และโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง (Infectious bronchitic) มีผลทําให้ผลผลิตไข่ลดลง ขนาดไข่เล็กลงและฟองไข่มักมีรูปร่างผิดปกติไก่ที่เป็น โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังแม่ไก่จะให้ไข่ที่มีขนาดเล็กลง 
  8. สารเคมีสารเคมีที่ใช้ในการอบเมล็ดธัญพืช (Grain fumigants) เพื่อรักษาเมล็ดธัญพืช เช่น Ethylene dibromide มีผลทําให้ไกไข่ให้ไข่ที่มีขนาดเล็กลงเป็นอย่างมาก 
  9. ลําดับของไข่ในตับไข่ (Clutch order) ลําดับของไข่ในตับไข่จะมีผลต่อน้ําหนักของไข่คือไข่ฟอง แรกในตับไข่นั้น ๆ จะมีขนาดใหญ่ที่สุดและขนาดของไข่ฟองถัดไปก็จะมีขนาดเล็กลงตามลําดับของไข่ในตับไข่ นั้น 
  10. จํานวนไข่ที่ให้ในปีนั้น ตามปกติไก่ที่ให้ไข่ใหม่ๆ จะให้ไข่ขนาดเล็กก่อนแล้วขนาดของฟองไข่ ถัดมาก็จะมีขนาดใหญ่ขึ้น จนถึงมาตรฐานเป็นระยะเวลานาน ต่อจากนั้นเมื่อไก่มีอายุมากมีแนวโน้มที่ไข่มีขนาด เล็กลงเรื่อย ๆ ตามลําดับ 
  11. อายุของแม่ไก่ที่ให้ไข่ฟองแรก แม่ไก่ที่ให้ไข่ฟองแรกช้าจะให้ไข่ขนาดมาตรฐานได้เร็วกว่าแม่ไก่ ที่ให้ไข่ฟองแรกเร็ว 
ความผิดปกติของไข่ (Egg abnormality)  
ในบางครั้งแม่ไก่จะให้ไข่ที่มีลักษณะผิดปกติเหมือนกัน ลักษณะที่นับว่าเป็นไข่ผิดปกติที่พบเห็นบ่อย ๆ ได้ไก่ไข่ดังต่อไปนี้ 
  1. ไข่แฝด (Double-yolked Egg) เกิดขึ้นเนื่องจากความผิดปกติในการเจริญของไข่แบะการตกไข่ (Ovulation) ถ้ามีไข่แดงเจริญขึ้นพร้อมกันและเกิดการตกไข่ขึ้นพร้อมกัน 2 ฟอง เรียกว่า ไข่แฝดมักจะเกิด ขึ้นกับแม่ไก่ที่เริ่มให้ไข่เนื่องจากระบบการผลิตไข่ยังทํางานไม่ปกติ 
  2. ไข่มีจุดเลือด (Blood spots) เกิดขึ้นเนื่องจากในขณะที่เกิดการตกไข่ขึ้นนั้นมีเส้นเลือดฝอยที่ถุง หุ้มไข่หรือนําไข่ตอนต้นฉีกขาดมีเลือดไหลออกมา เมื่อมีการสร้างฟองไข่ในท่อนําไข่ก็จะมีจุดเลือดอยู่ในฟองไข่ นั้นด้วย มักพบในไข่ที่ได้จากแม่ไก่ที่ให้ผลผลิตสูง 
  3. ไข่มีจุดเนื้อ (Meat spots) เกิดขึ้นเนื่องจากในขณะไข่ตกนั้นมีบางส่วนของถุงหุ้มไข่ฉีดขาดหลุด ลงมาพร้อมกับไข่แดง มักเป็นจุดที่มีสีเข้ม ลักษณะการมีจุดเลือดหรือจุดเนื้อในฟองไข่เป็นลักษณะที่สามารถ ถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรมและเราสามารถปรับปรุงไก่ไม่ให้มีลักษณะนี้ได้โดยการคัดพันธุ์ลักษณะทั้งสองนี้มี ความสําคัญทางเศรษฐกิจในการผลิตไก่ไข่มากเช่นเดียวกัน 
  4. ไข่ไม่มีไข่แดง (Yolkless eggs) เกิดขึ้นเนื่องจากการมีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในท่อนําไข่ ต่อจากนั้นก็จะมีการสร้างฟองไข่ส่วนอื่น ๆ ต่อไปโดยที่ไม่มีไข่แดงในฟองนั้น ตามปกติไข่ที่ไม่มีไข่แดงนั้น จะมี ขนาดเล็กกว่าฟองไข่ปกติเสมอ บางครั้งอาจเรียกว่า “ไข่หิน”  
  5. ไข่มีรอยย่นที่เปลือก (Dented eggshell) เกิดขึ้นเนื่องจากในบางครั้งฟองไข่ฟองแรกอยู่ใน Uterus นานกว่าปกติและแม่ไก่ยังไม่ออกไข่ขณะเดียวกันก็มีการสร้างไข่ฟองถัดไปเกิดขึ้นเมื่อไข่ฟองใหม่ถูก สร้างจนถึงส่วน Uterus ก็จะไปชนไข่ฟองแรกซึ่งมีเปลือกแข็งอยู่แล้ว เมื่อไข่ฟองหลังถูกสร้างเรียบร้อยแล้วจะ มีลักษณะเป็นรอยย่นอยู่ที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของฟองไข่ 
  6. ไข่ไม่มีเปลือก (Soft-shelled eggs) เกิดขึ้นเนื่องจากไม่มีเปลือกไข่ชั้นนอกหุ้มห่อฟองไข่ ซึ่ง อาจจะมีสาเหตุเนื่องจากการขาดธาตุอาหารบางชนิดที่จําเป็นสําหรับการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกายได้แก่ วิตามินดีหรือขาดธาตุแคลเซียมซึ่งจําเป็นสําหรับการสร้างแคลเซียมคาร์บอเนตของเปลือกไข่ หรือมักพบใน กรณีที่สัตว์เกิดความเครียด เช่น หลังการให้วัคซีน จะทําให้กระขบวนการสร้างไข่ผิดปกติได้หรือบางครั้งอาจ เรียกว่า “ไข่หนัง” 
เอกสารอ้างอิง
เกียรติศักดิ์สรอยส ้ ุวรรณ. 2545. การฟักไขและการจ ่ ัดการโรงฟัก. คณะวิชาสัตวศาสตร์สถาบัน เทคโนโลยี ราชมงคล วิทยาเขตนครศรีธรรมราช, นครศรีธรรมราช. 230 น.  
เฉลิมชัย สังข์มณฑล. 2554. คู่มือไก่ไข่. เกษตรสยาม, กรุงเทพฯ.  
วรวิทย์วณิชาภิชาติ. 2531. ไข่และการฟักไข่. เค.ยู.บุ๊คเซนเตอร ็ ์. กรุงเทพฯ.  
วิโรจน์จันทรัตน์. 2537. กายวิภาคและสรีระวิทยาของสัตว์ปีก. มหาวิทยาลัยแม่โจ, ้เชียงใหม่.  สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2551. สถติิการเกษตรของประเทศไทยปี 2550. ศูนย์สารสนเทศสานํ ักงาน เศรษฐกิจการเกษตร, กรุงเทพฯ.  
อรวรรณ ชินราศรี. 2547. เทคโนโลยีการผลิตสัตว์ปีก. หจก. อภิชาตการพิมพ์, มหาสารคาม.  อาวุธ ตันโช. 2540. การผลิตสัตว์ปีก. พิมพคร์ ั้งที่ 2. ภาควิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์สถาบันเทคโนโลยีพระ จอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, กรุงเทพฯ.
Temp Chickatron 20 Climate Controller
⚡อิสระที่คุณควบคุมได้⚡
💥ทำลายทุกข้อจำกัด ฉีกทุกการเลี้ยงแบบเดิมๆ เราขอเสนอ

✨ Temp Chickatron 20 Climate Controller ✨

✅อิสระในการเลือก 16 Output ของคุณได้ตามลักษณะการใช้งาน
✅อิสระในการบริหารจัดการ สามารถดูข้อมูลสรุปการเลี้ยงและการตั้งค่าของเครื่องได้
✅อิสระในการเลือกวันที่จะให้หรือไม่ให้อาหารได้
✅อิสระในการตั้งค่าโปรแกรมการเลี้ยงได้ตามใจผู้ใช้
✅จอแสดงผลสี หน้าจอสัมผัสขนาด 7 นิ้ว
⚡Freedom that you can Control⚡
💥Beat every limitation with our brand new climate controller: ✨Temp Chickatron20.✨
✅Free to choose desired 16 Outputs according to the user’s application.
✅Free to set the feeding program according to the user’s application.
✅Free to select feeding day and fasting day.
✅Free to review and edit the feeding programs and settings.
✅With color display touchscreen 7 inches.
📣เข้าชมสินค้าของเราเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์
👇👇👇Click the link below for more information👇👇👇
https://tempclimatecontroller.com/
#climatecontroller #poultry #farm #smartfarm #temperaturecontroller #chickenfarm #climate #humiditycontroller #controller #carbondioxide #ammonia #sensors #automaticcontroller #chicken #pig #ฟาร์ม #ฟาร์มไก่ #สมาร์ทฟาร์ม #เลี้ยงไก่ #ไก่ไข่ #ไก่เนื้อ #คอนโทรลเลอร์ #เซนเซอร์อุณหภูมิ #เซนเซอร์ความชื้น
error: เนื้อหาได้รับการคุ้มครอง !!