Menu Close

โรคสุกรที่สำคัญต่อการส่งออก

โรคสุกร

โรคสุกรที่สำคัญต่อการส่งออก

ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพและความปลอดภัยทางด้านอาหาร
โดย น.สพ.ไชยยง กฤษณเกรียงไกร (หมอหน่อย)


จากการที่ประเทศไทยได้ส่งออกสุกรไปยังประเทศรัสเซีย และอาจจะได้มีโอกาสขยายตลาดส่งออกไปยังต่างประเทศเพิ่มมากขึ้นในอนาคต ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จึงต้องมีการเตรียมพร้อมด้านความรู้ และสิ่งที่ผู้บริโภคทั่วโลกให้ความสนใจ เช่น ความรู้ในเรื่องโรคที่มีความสำคัญต่อการส่งออก ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ และความปลอดภัยทางด้านอาหาร เป็นต้น ซึ่งการพัฒนาการเลี้ยงสุกรให้เป็นฟาร์มสุกรมาตรฐาน มีสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มเป็นผู้กำกับดูแลให้ความรู้ คำแนะนำ แก่ผู้ประกอบการฟาร์มสุกร เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร สัตวบาล และผู้เกี่ยวข้อง จะเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรของประเทศไทย

 

โรคสุกรที่มีความสำคัญต่อการส่งออก
โรคสุกรที่มีความสำคัญต่อการส่งออก ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะโรคสุกรเพียงบางส่วน ซึ่งเป็นโรคที่มีความสำคัญตามองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE-Listed diseases) และโรคสุกรซึ่งมักจะเป็นข้อกำหนดของประเทศคู่ค้า เช่น Foot and mouth disease, Classical swine fever, African swine fever, Trichinosis และ Antrax เป็นต้น

Temp Pigatron 13

 

Foot and mouth disease สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสใน Genus Apthovirus ก่อโรคในสัตว์กีบคู่ สุกร ช้าง และสัตว์เคี้ยวเอื้อง สุกรป่วยจะพบอาการไข้สูง มีตุ่มใสเกิดขึ้นที่ปากและไรกีบ อัตราการตายต่ำ ในลูกสัตว์อาจพบการตายอย่างเฉียบพลัน เนื่องจากหัวใจล้มเหลว การติดต่อโดยการหายใจ การกินเชื้อโรคที่ปนเปื้อนอยู่กับสิ่งแวดล้อม อาหาร น้ำ หรือหญ้า และการสัมผัสกับสัตว์ป่วย การป้องกันโรคโดยการให้วัคซีนอย่างมีประสิทธิภาพ เข้มงวดระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ และควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์


Classical swine fever สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสใน Genus Pestivirus สุกรป่วยจะมีอาการไข้ ซึม เบื่ออาหาร ท้องเสีย เดินโซเซและพบจุดเลือดออกที่ผิวหนัง ต่อมน้ำเหลือง ไต และพบเนื้อตายจากการขาดเลือดที่ม้าม สุกรขับเชื้อไวรัสทางน้ำมูก น้ำลาย ปัสสาวะ อุจจาระ และน้ำเชื้อสุกร การป้องกันโรคโดยการให้วัคซีนอย่างมีประสิทธิภาพ และเข้มงวดระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ

 

African swine fever สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสใน Genus Asfivirus สุกรป่วยจะมีอาการไข้สูง พบจุดเลือดออกที่ผิวหนังและอวัยวะภายใน อัตราการตายอาจสูงถึง 100% การติดต่อโดยการสัมผัสกับสุกรป่วย อุปกรณ์ที่ปนเปื้อนเชื้อโรค หรือสุกรถูกกัดโดยเห็บอ่อนซึ่งเป็นพาหนะนำโรคใน genus Ornithodoros การวินิจฉัยโรคจากอาการ และการตรวจทางซีรั่มวิทยา การป้องกันโรคโดยมาตรการตรวจสอบ การจำกัด และควบคุมการนำเข้าผลิตภัณฑ์สุกร

 

Trichinosis เป็นโรคพยาธิในกล้ามเนื้อสุกร พบโรคในสุกรน้อยแต่มีความสำคัญทางด้านสาธารณสุข การตรวจโรคโดยการตรวจดูตัวอ่อนพยาธิที่ cyst ของกล้ามเนื้อสุกร ที่โรงงานแปรรูปสุกร และการตรวจทางซีรั่มวิทยา การป้องกันโรคโดยการควบคุมและกำจัดหนูภายในฟาร์ม

 

Antrax เป็นโรคที่ไม่ค่อยพบในสุกร สาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Bacillus anthracis ที่ปนเปื้อนมากับอาหารและน้ำ สุกรป่วยพบอาการ มีไข้ เลือดออกจมูก ถ่ายเป็นเลือด หายใจลำบาก คอบวม ผิวหนังเป็นสีม่วง และป่วยตายแบบเฉียบพลัน การวินิจฉัยโรคจากอาการป่วย การผ่าซาก และการเพาะแยกเชื้อ การป้องกันโรคโดยการป้องกันการปนเปื้อนสปอร์ของเชื้อโรคจากสิ่งแวดล้อม และสัตว์ป่วยในพื้นที่พบการเกิดโรค

 
Temp Pigatron 13

 

ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ


ฟาร์มเลี้ยงสุกร ทั้งฟาร์มขนาดใหญ่จนถึงฟาร์มเกษตรกรรายย่อย หากจะอยู่ในอุตสาหกรรมสุกรได้อย่างยั่งยืน จะต้องมีการพัฒนาระบบความปลอดภัยทางชีวภาพที่มีประสิทธิภาพ โดยจะต้องมีรั้ว ประตู ระบบสเปรย์น้ำยาฆ่าเชื้อ การควบคุมบุคคลเข้าออก การเปลี่ยนชุด รองเท้าบู้ท การควบคุมรถขนส่ง 

 

การควบคุมสัตว์พาหะนำโรค การบำบัดน้ำ และการจัดการของเสีย ซึ่งจะต้องมีการจัดการที่ชัดเจนสำหรับผู้ปฏิบัติงานภายในฟาร์ม ลูกค้า และแขกเยี่ยมฟาร์ม ทั้งนี้สัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มจะมีบทบาทในการให้ความรู้ คำแนะนำ การตรวจติดตาม และการประเมินผลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้สุกรภายในฟาร์มเกิดโรค และลดโอกาสการนำเชื้อโรคเข้าสู่ฟาร์ม โดยการสร้างระบบการตรวจประเมินอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้ระบบป้องกันโรคของฟาร์มสุกรมีประสิทธิภาพ

 

ความปลอดภัยทางด้านอาหาร
ปัจจุบันผู้บริโภคทั้งต่างประเทศและในประเทศไทยได้ให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยทางด้านอาหาร โดยผลิตภัณฑ์สุกรจะต้องสด สะอาด ปลอดภัยจากสิ่งปนเปื้อนเศษโลหะ เข็มฉีดยา สารตกค้างยาสัตว์ ยาฆ่าแมลง และเชื้อโรคต่างๆ ซึ่งจะต้องมีระบบการควบคุมและป้องกันตั้งแต่ที่ฟาร์มเลี้ยงสุกร การขนส่ง จนถึงโรงงานแปรรูปสุกร โดยจะต้องมีวิธีการปฏิบัติที่ดีสำหรับความปลอดภัยทางด้านอาหาร ทั้งในด้านกายภาพ เคมี และชีวภาพ เช่นการเตรียมโรงเรือนที่ดีปราศจากสิ่งอันตรายตกค้าง การควบคุมการใช้เข็มฉีดยา วิธีการให้ยาและวัคซีน การควบคุมการใช้ยา ระยะหยุดยา การป้องกันปัญหาฝีหนองในกล้ามเนื้อสุกร การป้องกันปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค และพยาธิ เป็นต้น 

 
 

โรคสุกรที่สำคัญต่อการส่งออก

ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพและความปลอดภัยทางด้านอาหาร
โดย น.สพ.ไชยยง กฤษณเกรียงไกร (หมอหน่อย)

จากการที่ประเทศไทยได้ส่งออกสุกรไปยังประเทศรัสเซีย และอาจจะได้มีโอกาสขยายตลาดส่งออกไปยังต่างประเทศเพิ่มมากขึ้นในอนาคต ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จึงต้องมีการเตรียมพร้อมด้านความรู้ และสิ่งที่ผู้บริโภคทั่วโลกให้ความสนใจ เช่น ความรู้ในเรื่องโรคที่มีความสำคัญต่อการส่งออก ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ และความปลอดภัยทางด้านอาหาร เป็นต้น ซึ่งการพัฒนาการเลี้ยงสุกรให้เป็นฟาร์มสุกรมาตรฐาน มีสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มเป็นผู้กำกับดูแลให้ความรู้ คำแนะนำ แก่ผู้ประกอบการฟาร์มสุกร เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร สัตวบาล และผู้เกี่ยวข้อง จะเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรของประเทศไทย

โรคสุกรที่มีความสำคัญต่อการส่งออก
โรคสุกรที่มีความสำคัญต่อการส่งออก ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะโรคสุกรเพียงบางส่วน ซึ่งเป็นโรคที่มีความสำคัญตามองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE-Listed diseases) และโรคสุกรซึ่งมักจะเป็นข้อกำหนดของประเทศคู่ค้า เช่น Foot and mouth disease, Classical swine fever, African swine fever, Trichinosis และ Antrax เป็นต้น
Temp Pigatron 13
 
Foot and mouth disease สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสใน Genus Apthovirus ก่อโรคในสัตว์กีบคู่ สุกร ช้าง และสัตว์เคี้ยวเอื้อง สุกรป่วยจะพบอาการไข้สูง มีตุ่มใสเกิดขึ้นที่ปากและไรกีบ อัตราการตายต่ำ ในลูกสัตว์อาจพบการตายอย่างเฉียบพลัน เนื่องจากหัวใจล้มเหลว การติดต่อโดยการหายใจ การกินเชื้อโรคที่ปนเปื้อนอยู่กับสิ่งแวดล้อม อาหาร น้ำ หรือหญ้า และการสัมผัสกับสัตว์ป่วย การป้องกันโรคโดยการให้วัคซีนอย่างมีประสิทธิภาพ เข้มงวดระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ และควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์

Classical swine fever สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสใน Genus Pestivirus สุกรป่วยจะมีอาการไข้ ซึม เบื่ออาหาร ท้องเสีย เดินโซเซและพบจุดเลือดออกที่ผิวหนัง ต่อมน้ำเหลือง ไต และพบเนื้อตายจากการขาดเลือดที่ม้าม สุกรขับเชื้อไวรัสทางน้ำมูก น้ำลาย ปัสสาวะ อุจจาระ และน้ำเชื้อสุกร การป้องกันโรคโดยการให้วัคซีนอย่างมีประสิทธิภาพ และเข้มงวดระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ

African swine fever สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสใน Genus Asfivirus สุกรป่วยจะมีอาการไข้สูง พบจุดเลือดออกที่ผิวหนังและอวัยวะภายใน อัตราการตายอาจสูงถึง 100% การติดต่อโดยการสัมผัสกับสุกรป่วย อุปกรณ์ที่ปนเปื้อนเชื้อโรค หรือสุกรถูกกัดโดยเห็บอ่อนซึ่งเป็นพาหนะนำโรคใน genus Ornithodoros การวินิจฉัยโรคจากอาการ และการตรวจทางซีรั่มวิทยา การป้องกันโรคโดยมาตรการตรวจสอบ การจำกัด และควบคุมการนำเข้าผลิตภัณฑ์สุกร

Trichinosis เป็นโรคพยาธิในกล้ามเนื้อสุกร พบโรคในสุกรน้อยแต่มีความสำคัญทางด้านสาธารณสุข การตรวจโรคโดยการตรวจดูตัวอ่อนพยาธิที่ cyst ของกล้ามเนื้อสุกร ที่โรงงานแปรรูปสุกร และการตรวจทางซีรั่มวิทยา การป้องกันโรคโดยการควบคุมและกำจัดหนูภายในฟาร์ม

Antrax เป็นโรคที่ไม่ค่อยพบในสุกร สาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Bacillus anthracis ที่ปนเปื้อนมากับอาหารและน้ำ สุกรป่วยพบอาการ มีไข้ เลือดออกจมูก ถ่ายเป็นเลือด หายใจลำบาก คอบวม ผิวหนังเป็นสีม่วง และป่วยตายแบบเฉียบพลัน การวินิจฉัยโรคจากอาการป่วย การผ่าซาก และการเพาะแยกเชื้อ การป้องกันโรคโดยการป้องกันการปนเปื้อนสปอร์ของเชื้อโรคจากสิ่งแวดล้อม และสัตว์ป่วยในพื้นที่พบการเกิดโรค
 
Temp Pigatron 13
 
ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ
ฟาร์มเลี้ยงสุกร ทั้งฟาร์มขนาดใหญ่จนถึงฟาร์มเกษตรกรรายย่อย หากจะอยู่ในอุตสาหกรรมสุกรได้อย่างยั่งยืน จะต้องมีการพัฒนาระบบความปลอดภัยทางชีวภาพที่มีประสิทธิภาพ โดยจะต้องมีรั้ว ประตู ระบบสเปรย์น้ำยาฆ่าเชื้อ การควบคุมบุคคลเข้าออก การเปลี่ยนชุด รองเท้าบู้ท การควบคุมรถขนส่ง การควบคุมสัตว์พาหะนำโรค การบำบัดน้ำ และการจัดการของเสีย ซึ่งจะต้องมีการจัดการที่ชัดเจนสำหรับผู้ปฏิบัติงานภายในฟาร์ม ลูกค้า และแขกเยี่ยมฟาร์ม ทั้งนี้สัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มจะมีบทบาทในการให้ความรู้ คำแนะนำ การตรวจติดตาม และการประเมินผลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้สุกรภายในฟาร์มเกิดโรค และลดโอกาสการนำเชื้อโรคเข้าสู่ฟาร์ม โดยการสร้างระบบการตรวจประเมินอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้ระบบป้องกันโรคของฟาร์มสุกรมีประสิทธิภาพ
 
ความปลอดภัยทางด้านอาหาร
ปัจจุบันผู้บริโภคทั้งต่างประเทศและในประเทศไทยได้ให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยทางด้านอาหาร โดยผลิตภัณฑ์สุกรจะต้องสด สะอาด ปลอดภัยจากสิ่งปนเปื้อนเศษโลหะ เข็มฉีดยา สารตกค้างยาสัตว์ ยาฆ่าแมลง และเชื้อโรคต่างๆ ซึ่งจะต้องมีระบบการควบคุมและป้องกันตั้งแต่ที่ฟาร์มเลี้ยงสุกร การขนส่ง จนถึงโรงงานแปรรูปสุกร โดยจะต้องมีวิธีการปฏิบัติที่ดีสำหรับความปลอดภัยทางด้านอาหาร ทั้งในด้านกายภาพ เคมี และชีวภาพ เช่นการเตรียมโรงเรือนที่ดีปราศจากสิ่งอันตรายตกค้าง การควบคุมการใช้เข็มฉีดยา วิธีการให้ยาและวัคซีน การควบคุมการใช้ยา ระยะหยุดยา การป้องกันปัญหาฝีหนองในกล้ามเนื้อสุกร การป้องกันปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค และพยาธิ เป็นต้น 
 

 

โรคสุกรที่สำคัญต่อการส่งออก

ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพและความปลอดภัยทางด้านอาหาร

โดย น.สพ.ไชยยง กฤษณเกรียงไกร (หมอหน่อย)
จากการที่ประเทศไทยได้ส่งออกสุกรไปยังประเทศรัสเซีย และอาจจะได้มีโอกาสขยายตลาดส่งออกไปยังต่างประเทศเพิ่มมากขึ้นในอนาคต ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จึงต้องมีการเตรียมพร้อมด้านความรู้ และสิ่งที่ผู้บริโภคทั่วโลกให้ความสนใจ เช่น ความรู้ในเรื่องโรคที่มีความสำคัญต่อการส่งออก 
 
ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ และความปลอดภัยทางด้านอาหาร เป็นต้น ซึ่งการพัฒนาการเลี้ยงสุกรให้เป็นฟาร์มสุกรมาตรฐาน มีสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มเป็นผู้กำกับดูแลให้ความรู้ คำแนะนำ แก่ผู้ประกอบการฟาร์มสุกร เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร สัตวบาล และผู้เกี่ยวข้อง จะเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรของประเทศไทย
 
 
โรคสุกรที่มีความสำคัญต่อการส่งออก
โรคสุกรที่มีความสำคัญต่อการส่งออก ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะโรคสุกรเพียงบางส่วน ซึ่งเป็นโรคที่มีความสำคัญตามองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE-Listed diseases) และโรคสุกรซึ่งมักจะเป็นข้อกำหนดของประเทศคู่ค้า เช่น Foot and mouth disease, Classical swine fever, African swine fever, Trichinosis และ Antrax เป็นต้น
 
Temp Pigatron 13
 
Foot and mouth disease สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสใน Genus Apthovirus ก่อโรคในสัตว์กีบคู่ สุกร ช้าง และสัตว์เคี้ยวเอื้อง สุกรป่วยจะพบอาการไข้สูง มีตุ่มใสเกิดขึ้นที่ปากและไรกีบ อัตราการตายต่ำ ในลูกสัตว์อาจพบการตายอย่างเฉียบพลัน เนื่องจากหัวใจล้มเหลว การติดต่อโดยการหายใจ การกินเชื้อโรคที่ปนเปื้อนอยู่กับสิ่งแวดล้อม อาหาร น้ำ หรือหญ้า และการสัมผัสกับสัตว์ป่วย การป้องกันโรคโดยการให้วัคซีนอย่างมีประสิทธิภาพ เข้มงวดระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ และควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์

Classical swine fever สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสใน Genus Pestivirus สุกรป่วยจะมีอาการไข้ ซึม เบื่ออาหาร ท้องเสีย เดินโซเซและพบจุดเลือดออกที่ผิวหนัง ต่อมน้ำเหลือง ไต และพบเนื้อตายจากการขาดเลือดที่ม้าม สุกรขับเชื้อไวรัสทางน้ำมูก น้ำลาย ปัสสาวะ อุจจาระ และน้ำเชื้อสุกร การป้องกันโรคโดยการให้วัคซีนอย่างมีประสิทธิภาพ และเข้มงวดระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ
 
African swine fever สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสใน Genus Asfivirus สุกรป่วยจะมีอาการไข้สูง พบจุดเลือดออกที่ผิวหนังและอวัยวะภายใน อัตราการตายอาจสูงถึง 100% การติดต่อโดยการสัมผัสกับสุกรป่วย อุปกรณ์ที่ปนเปื้อนเชื้อโรค หรือสุกรถูกกัดโดยเห็บอ่อนซึ่งเป็นพาหนะนำโรคใน genus
 
 Ornithodoros การวินิจฉัยโรคจากอาการ และการตรวจทางซีรั่มวิทยา การป้องกันโรคโดยมาตรการตรวจสอบ การจำกัด และควบคุมการนำเข้าผลิตภัณฑ์สุกร

Trichinosis เป็นโรคพยาธิในกล้ามเนื้อสุกร พบโรคในสุกรน้อยแต่มีความสำคัญทางด้านสาธารณสุข การตรวจโรคโดยการตรวจดูตัวอ่อนพยาธิที่ cyst ของกล้ามเนื้อสุกร ที่โรงงานแปรรูปสุกร และการตรวจทางซีรั่มวิทยา การป้องกันโรคโดยการควบคุมและกำจัดหนูภายในฟาร์ม

Antrax เป็นโรคที่ไม่ค่อยพบในสุกร สาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Bacillus anthracis ที่ปนเปื้อนมากับอาหารและน้ำ สุกรป่วยพบอาการ มีไข้ เลือดออกจมูก ถ่ายเป็นเลือด หายใจลำบาก คอบวม ผิวหนังเป็นสีม่วง และป่วยตายแบบเฉียบพลัน การวินิจฉัยโรคจากอาการป่วย การผ่าซาก และการเพาะแยกเชื้อ การป้องกันโรคโดยการป้องกันการปนเปื้อนสปอร์ของเชื้อโรคจากสิ่งแวดล้อม และสัตว์ป่วยในพื้นที่พบการเกิดโรค
 
Temp Pigatron 13
 
ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ
ฟาร์มเลี้ยงสุกร ทั้งฟาร์มขนาดใหญ่จนถึงฟาร์มเกษตรกรรายย่อย หากจะอยู่ในอุตสาหกรรมสุกรได้อย่างยั่งยืน จะต้องมีการพัฒนาระบบความปลอดภัยทางชีวภาพที่มีประสิทธิภาพ โดยจะต้องมีรั้ว ประตู ระบบสเปรย์น้ำยาฆ่าเชื้อ 
 
การควบคุมบุคคลเข้าออก การเปลี่ยนชุด รองเท้าบู้ท การควบคุมรถขนส่ง การควบคุมสัตว์พาหะนำโรค การบำบัดน้ำ และการจัดการของเสีย ซึ่งจะต้องมีการจัดการที่ชัดเจนสำหรับผู้ปฏิบัติงานภายในฟาร์ม ลูกค้า และแขกเยี่ยมฟาร์ม ทั้งนี้สัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มจะมีบทบาทในการให้ความรู้ คำแนะนำ การตรวจติดตาม และการประเมินผลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้สุกรภายในฟาร์มเกิดโรค และลดโอกาสการนำเชื้อโรคเข้าสู่ฟาร์ม โดยการสร้างระบบการตรวจประเมินอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้ระบบป้องกันโรคของฟาร์มสุกรมีประสิทธิภาพ
 
ความปลอดภัยทางด้านอาหาร
ปัจจุบันผู้บริโภคทั้งต่างประเทศและในประเทศไทยได้ให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยทางด้านอาหาร โดยผลิตภัณฑ์สุกรจะต้องสด สะอาด ปลอดภัยจากสิ่งปนเปื้อนเศษโลหะ เข็มฉีดยา สารตกค้างยาสัตว์ ยาฆ่าแมลง และเชื้อโรคต่างๆ ซึ่งจะต้องมีระบบการควบคุมและป้องกันตั้งแต่ที่ฟาร์มเลี้ยงสุกร การขนส่ง จนถึงโรงงานแปรรูปสุกร 
 
โดยจะต้องมีวิธีการปฏิบัติที่ดีสำหรับความปลอดภัยทางด้านอาหาร ทั้งในด้านกายภาพ เคมี และชีวภาพ เช่นการเตรียมโรงเรือนที่ดีปราศจากสิ่งอันตรายตกค้าง การควบคุมการใช้เข็มฉีดยา วิธีการให้ยาและวัคซีน การควบคุมการใช้ยา ระยะหยุดยา การป้องกันปัญหาฝีหนองในกล้ามเนื้อสุกร การป้องกันปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค และพยาธิ เป็นต้น 
 
 
error: เนื้อหาได้รับการคุ้มครอง !!