Menu Close

ฟาร์มยุคใหม่ ลดโรค เพิ่มรายได้

ฟาร์มยุคใหม่ ลดโรค เพิ่มรายได้

ฟาร์มสุกรยุคใหม่ เน้นลดโรค เพิ่มรายได้

โดย ผศ.น.สพ.ดร.ปริวรรต  พูลเพิ่ม คณะสัตวแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

       เป็นที่ทราบกันดีว่า สิ่งที่ผู้เลี้ยงสุกรต้องการ คือ “กำไร” ที่มาจากรายได้หักลบด้วยต้นทุนการผลิต แต่รายรับถูกกำหนดด้วยราคาขาย ซึ่งผันผวนขึ้นลงตามกลไกตลาด เกษตรกรควบคุมไม่ได้ จึงต้องให้ความสำคัญกับการจัดการต้นทุนการผลิต ดังนั้น ต้องให้ความสำคัญกับการจัดการป้องกันโรคในฟาร์ม เพื่อลดความสูญเสียในกระบวนการผลิตให้ต่ำที่สุด เพราะยิ่งมีสุกรขายมากเท่าใด ยิ่งมีรายได้มากขึ้นเท่านั้น

          ผศ.น.สพ.ดร.ปริวรรต  พูลเพิ่ม คณะสัตวแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยว่า กำไร คือ สิ่งที่เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรต้องการ แต่ราคาหน้าฟาร์มเป็นสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ เพราะเป็นไปตามกลไกตลาด จึงต้องหันมาให้ความสำคัญกับการจัดการต้นทุนการผลิต ด้วยการลดความสูญเสีย ทำให้มีสุกรขายมากที่สุด ซึ่งต้องเริ่มจากการเปลี่ยนวิธีคิด เพราะเดิมหลายฟาร์มหากลูกสุกรออกมาตัวเล็ก น้ำหนักต่ำกว่า 0.8 กิโลกรัม ก็คัดทิ้งทันที แต่ทุกวันนี้ต้องคิดว่า ลูกสุกรเมื่อคลอดมามีชีวิตแล้ว ไม่ว่าน้ำหนักเพียง 0.4-0.6 กิโลกรัม ก็ต้องหาทางทำให้รอดไปจนถึงขุนขายให้มากที่สุด

Temp Pigatron 13

       สำหรับโรคที่ต้องให้ความสำคัญในการผลิตสุกร คือ โรคพีอาร์อาร์เอสที่ยังมองข้ามไม่ได้ โรคเซอร์โคไวรัสที่ยังก่อความเสียหายได้เป็นระยะ เช่นเดียวกับโรคพีอีดีที่ยังพบปะปรายอยู่บ้าง โรคไข้หนังแดงที่อาจพบได้ในฟาร์มที่ไม่ได้ทำวัคซีนป้องกันโรค โรคพิษสุนัขบ้าเทียมพบน้อยมากเนื่องจากการทำวัคซีนป้องกันโรค โรคอหิวาต์สุกรยังบ้างประปราย แต่ไม่ควรพบในลูกสุกรดูดนม และอนุบาล เพราะแสดงว่าลูกไม่ได้รับนมน้ำเหลือง โรคปากและเท้าเปื่อยก็เป็นอีกโรคที่ยังพบอยู่เป็นระยะ เน้นการทำวัคซีนตามโปรแกรมโรคพีอีดีก็ยังพบประปราย ขณะที่โรคเอพีพีหากพบก็ใช้ยารักษาได้ และยังมีโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร หรือ ASF ที่แม้ยังไม่มีการระบาดในประเทศไทยแต่ก็ต้องเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด ซึ่งการจัดการโรคต้องเริ่มจากระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) ที่หลายฟาร์มละเลย ทั้งๆ ที่ ไม่ได้ยากในการปฏิบัติเริ่มจากการมีระยะพักโรคก่อนเข้าฟาร์ม มีการอาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้าและรองเท้า รถยนต์ภายนอกจอดห่างจากฟาร์ม โดยการป้องกันโรคจากภายนอก การป้องกันการแพร่โรคภายในฟาร์ม และการเพิ่มความต้านทานโรคให้สุกร ถือเป็นสิ่งที่ฟาร์มต้องทำเป็นประจำ

 

    นมน้ำเหลือง ถือเป็นอีกปัจจัยที่ต้องให้ความสำคัญ เพราะลูกสุกรได้รับภูมิคุ้มกันจากแม่ผ่านทางนมน้ำเหลืองเท่านั้น จึงต้องจัดการให้ลูกสุกรได้รับนมน้ำเหลืองจากแม่ของมันเองอย่างเพียงพออย่างน้อย 6 ชั่วโมง ซึ่งนมน้ำเหลืองจะผลิตก่อนคลอดประมาณ 1-2 วัน ดังนั้น ต้องให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพแม่ก่อนคลอดทำให้อยู่สบาย ไม่เครียด และไม่หอบ เพื่อผลิตนมน้ำเหลืองได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ ต้องทราบภาวะสุขภาพของฝูงว่ามีปัญหาโรคใดบ้าง แต่ละโรคก่อปัญหาในช่วงใด ซึ่งเป็นสิ่งที่แตกต่างกันไปในแต่ละฟาร์ม

       ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ เน้นการป้องกันโรคจากภายนอก ซึ่งรถยนต์ ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการนำเชื้อโรคเข้าสู่ฟาร์มจากการศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคปากและเท้าเปื่อย พบว่าปัจจัยที่นำเชื้อได้ดีที่สุด คือ รถยนต์ทั้ง รถจับสุกร รถส่งสุกร และรถขนอาหารสัตว์ ซึ่งจากการระบาดของโรค ASF ในประเทศจีน เวียดนาม และล่าสุดมีรายงานที่ประเทศกัมพูชา จึงต้องเฝ้าระวังรถขนส่งสุกรมีชีวิต ด้วยการทำโรงพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคและล้างทำความสะอาดที่บริเวณด้านสำคัญ 5 แห่ง คือ ด่านเชียงแสน ด่านเชียงของ ด่านหนองคาย ด่านมุกดาหาร และด่านปอยเปต

temp controller

 

       รถจับสุกรเป็นปัจจัยที่มีความเสี่ยงต่อการนำเชื้อเข้าฟาร์ม จึงต้องจัดการให้รถจับสุกรต้องผ่านการล้างทำความสะอาด และฆ่าเชื้อโรคก่อนจับสุกร ยกตัวอย่างในประเทศจีน ฟาร์มบริษัทที่อยู่ในพื้นที่โรค ASF ระบาด แต่ไม่ได้เสียหาย ใช้วิธีการซื้อที่ทำเป็นจุดจำหน่ายสุกรที่ห่างจากฟาร์มแล้วใช้รถขนส่งจากฟาร์มขนสุกรมาที่จุดจำหน่ายแล้วให้รถจับมารับโดยไม่ต้องเข้าไปถึงหน้าฟาร์ม ดังนั้นหากทุกฟาร์มให้ความสำคัญกับรถจับสุกร ไม่ให้เข้าไปในบริเวณฟาร์ม หรือต้องล้างทำความสะอาด ฆ่าเชื้อก่อนเข้าฟาร์ม ก็สร้างความมั่นใจได้ว่า ไม่มีเชื้อโรคจากภายนอกระบาดเข้าสู่ฟาร์ม ดังนั้นรถจับสุกร รถขนอาหาร ถือเป็นปัจจัยที่เจ้าของฟาร์มต้องใส่ใจ

ผลิตภัณฑ์ ของเรา
 

ฟาร์มสุกรยุคใหม่ เน้นลดโรค เพิ่มรายได้

 
โดย ผศ.น.สพ.ดร.ปริวรรต  พูลเพิ่ม คณะสัตวแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
       เป็นที่ทราบกันดีว่า สิ่งที่ผู้เลี้ยงสุกรต้องการ คือ “กำไร” ที่มาจากรายได้หักลบด้วยต้นทุนการผลิต แต่รายรับถูกกำหนดด้วยราคาขาย ซึ่งผันผวนขึ้นลงตามกลไกตลาด เกษตรกรควบคุมไม่ได้ จึงต้องให้ความสำคัญกับการจัดการต้นทุนการผลิต ดังนั้น ต้องให้ความสำคัญกับการจัดการป้องกันโรคในฟาร์ม เพื่อลดความสูญเสียในกระบวนการผลิตให้ต่ำที่สุด เพราะยิ่งมีสุกรขายมากเท่าใด ยิ่งมีรายได้มากขึ้นเท่านั้น
 
          ผศ.น.สพ.ดร.ปริวรรต  พูลเพิ่ม คณะสัตวแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยว่า กำไร คือ สิ่งที่เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรต้องการ แต่ราคาหน้าฟาร์มเป็นสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ เพราะเป็นไปตามกลไกตลาด จึงต้องหันมาให้ความสำคัญกับการจัดการต้นทุนการผลิต ด้วยการลดความสูญเสีย ทำให้มีสุกรขายมากที่สุด ซึ่งต้องเริ่มจากการเปลี่ยนวิธีคิด เพราะเดิมหลายฟาร์มหากลูกสุกรออกมาตัวเล็ก น้ำหนักต่ำกว่า 0.8 กิโลกรัม ก็คัดทิ้งทันที แต่ทุกวันนี้ต้องคิดว่า ลูกสุกรเมื่อคลอดมามีชีวิตแล้ว ไม่ว่าน้ำหนักเพียง 0.4-0.6 กิโลกรัม ก็ต้องหาทางทำให้รอดไปจนถึงขุนขายให้มากที่สุด
Temp Pigatron 13
       สำหรับโรคที่ต้องให้ความสำคัญในการผลิตสุกร คือ โรคพีอาร์อาร์เอสที่ยังมองข้ามไม่ได้ โรคเซอร์โคไวรัสที่ยังก่อความเสียหายได้เป็นระยะ เช่นเดียวกับโรคพีอีดีที่ยังพบปะปรายอยู่บ้าง โรคไข้หนังแดงที่อาจพบได้ในฟาร์มที่ไม่ได้ทำวัคซีนป้องกันโรค โรคพิษสุนัขบ้าเทียมพบน้อยมากเนื่องจากการทำวัคซีนป้องกันโรค โรคอหิวาต์สุกรยังบ้างประปราย แต่ไม่ควรพบในลูกสุกรดูดนม และอนุบาล เพราะแสดงว่าลูกไม่ได้รับนมน้ำเหลือง 
 
โรคปากและเท้าเปื่อยก็เป็นอีกโรคที่ยังพบอยู่เป็นระยะ เน้นการทำวัคซีนตามโปรแกรมโรคพีอีดีก็ยังพบประปราย ขณะที่โรคเอพีพีหากพบก็ใช้ยารักษาได้ และยังมีโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร หรือ ASF ที่แม้ยังไม่มีการระบาดในประเทศไทยแต่ก็ต้องเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด ซึ่งการจัดการโรคต้องเริ่มจากระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) ที่หลายฟาร์มละเลย ทั้งๆ ที่ ไม่ได้ยากในการปฏิบัติเริ่มจากการมีระยะพักโรคก่อนเข้าฟาร์ม มีการอาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้าและรองเท้า รถยนต์ภายนอกจอดห่างจากฟาร์ม โดยการป้องกันโรคจากภายนอก การป้องกันการแพร่โรคภายในฟาร์ม และการเพิ่มความต้านทานโรคให้สุกร ถือเป็นสิ่งที่ฟาร์มต้องทำเป็นประจำ
 
    นมน้ำเหลือง ถือเป็นอีกปัจจัยที่ต้องให้ความสำคัญ เพราะลูกสุกรได้รับภูมิคุ้มกันจากแม่ผ่านทางนมน้ำเหลืองเท่านั้น จึงต้องจัดการให้ลูกสุกรได้รับนมน้ำเหลืองจากแม่ของมันเองอย่างเพียงพออย่างน้อย 6 ชั่วโมง ซึ่งนมน้ำเหลืองจะผลิตก่อนคลอดประมาณ 1-2 วัน ดังนั้น ต้องให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพแม่ก่อนคลอดทำให้อยู่สบาย ไม่เครียด และไม่หอบ เพื่อผลิตนมน้ำเหลืองได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ ต้องทราบภาวะสุขภาพของฝูงว่ามีปัญหาโรคใดบ้าง แต่ละโรคก่อปัญหาในช่วงใด ซึ่งเป็นสิ่งที่แตกต่างกันไปในแต่ละฟาร์ม
 
       ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ เน้นการป้องกันโรคจากภายนอก ซึ่งรถยนต์ ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการนำเชื้อโรคเข้าสู่ฟาร์มจากการศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคปากและเท้าเปื่อย พบว่าปัจจัยที่นำเชื้อได้ดีที่สุด คือ รถยนต์ทั้ง รถจับสุกร รถส่งสุกร และรถขนอาหารสัตว์ ซึ่งจากการระบาดของโรค ASF ในประเทศจีน เวียดนาม และล่าสุดมีรายงานที่ประเทศกัมพูชา จึงต้องเฝ้าระวังรถขนส่งสุกรมีชีวิต ด้วยการทำโรงพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคและล้างทำความสะอาดที่บริเวณด้านสำคัญ 5 แห่ง คือ ด่านเชียงแสน ด่านเชียงของ ด่านหนองคาย ด่านมุกดาหาร และด่านปอยเปต

temp controller

 

 
       รถจับสุกรเป็นปัจจัยที่มีความเสี่ยงต่อการนำเชื้อเข้าฟาร์ม จึงต้องจัดการให้รถจับสุกรต้องผ่านการล้างทำความสะอาด และฆ่าเชื้อโรคก่อนจับสุกร ยกตัวอย่างในประเทศจีน ฟาร์มบริษัทที่อยู่ในพื้นที่โรค ASF ระบาด แต่ไม่ได้เสียหาย ใช้วิธีการซื้อที่ทำเป็นจุดจำหน่ายสุกรที่ห่างจากฟาร์มแล้วใช้รถขนส่งจากฟาร์มขนสุกรมาที่จุดจำหน่ายแล้วให้รถจับมารับโดยไม่ต้องเข้าไปถึงหน้าฟาร์ม ดังนั้นหากทุกฟาร์มให้ความสำคัญกับรถจับสุกร ไม่ให้เข้าไปในบริเวณฟาร์ม หรือต้องล้างทำความสะอาด ฆ่าเชื้อก่อนเข้าฟาร์ม ก็สร้างความมั่นใจได้ว่า ไม่มีเชื้อโรคจากภายนอกระบาดเข้าสู่ฟาร์ม ดังนั้นรถจับสุกร รถขนอาหาร ถือเป็นปัจจัยที่เจ้าของฟาร์มต้องใส่ใจ
 
 
 

ฟาร์มสุกรยุคใหม่ เน้นลดโรค เพิ่มรายได้

โดย ผศ.น.สพ.ดร.ปริวรรต  พูลเพิ่ม คณะสัตวแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
 
       เป็นที่ทราบกันดีว่า สิ่งที่ผู้เลี้ยงสุกรต้องการ คือ “กำไร” ที่มาจากรายได้หักลบด้วยต้นทุนการผลิต แต่รายรับถูกกำหนดด้วยราคาขาย ซึ่งผันผวนขึ้นลงตามกลไกตลาด เกษตรกรควบคุมไม่ได้ จึงต้องให้ความสำคัญกับการจัดการต้นทุนการผลิต ดังนั้น ต้องให้ความสำคัญกับการจัดการป้องกันโรคในฟาร์ม เพื่อลดความสูญเสียในกระบวนการผลิตให้ต่ำที่สุด เพราะยิ่งมีสุกรขายมากเท่าใด ยิ่งมีรายได้มากขึ้นเท่านั้น
 
          ผศ.น.สพ.ดร.ปริวรรต  พูลเพิ่ม คณะสัตวแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยว่า กำไร คือ สิ่งที่เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรต้องการ แต่ราคาหน้าฟาร์มเป็นสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ เพราะเป็นไปตามกลไกตลาด จึงต้องหันมาให้ความสำคัญกับการจัดการต้นทุนการผลิต ด้วยการลดความสูญเสีย ทำให้มีสุกรขายมากที่สุด ซึ่งต้องเริ่มจากการเปลี่ยนวิธีคิด เพราะเดิมหลายฟาร์มหากลูกสุกรออกมาตัวเล็ก น้ำหนักต่ำกว่า 0.8 กิโลกรัม ก็คัดทิ้งทันที แต่ทุกวันนี้ต้องคิดว่า ลูกสุกรเมื่อคลอดมามีชีวิตแล้ว ไม่ว่าน้ำหนักเพียง 0.4-0.6 กิโลกรัม ก็ต้องหาทางทำให้รอดไปจนถึงขุนขายให้มากที่สุด
Temp Pigatron 13
 
       สำหรับโรคที่ต้องให้ความสำคัญในการผลิตสุกร คือ โรคพีอาร์อาร์เอสที่ยังมองข้ามไม่ได้ โรคเซอร์โคไวรัสที่ยังก่อความเสียหายได้เป็นระยะ เช่นเดียวกับโรคพีอีดีที่ยังพบปะปรายอยู่บ้าง โรคไข้หนังแดงที่อาจพบได้ในฟาร์มที่ไม่ได้ทำวัคซีนป้องกันโรค โรคพิษสุนัขบ้าเทียมพบน้อยมากเนื่องจากการทำวัคซีนป้องกันโรค โรคอหิวาต์สุกรยังบ้างประปราย แต่ไม่ควรพบในลูกสุกรดูดนม และอนุบาล เพราะแสดงว่าลูกไม่ได้รับนมน้ำเหลือง โรคปากและเท้าเปื่อยก็เป็นอีกโรคที่ยังพบอยู่เป็นระยะ เน้นการทำวัคซีนตามโปรแกรมโรคพีอีดีก็ยังพบประปราย 
 
ขณะที่โรคเอพีพีหากพบก็ใช้ยารักษาได้ และยังมีโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร หรือ ASF ที่แม้ยังไม่มีการระบาดในประเทศไทยแต่ก็ต้องเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด ซึ่งการจัดการโรคต้องเริ่มจากระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) ที่หลายฟาร์มละเลย ทั้งๆ ที่ ไม่ได้ยากในการปฏิบัติเริ่มจากการมีระยะพักโรคก่อนเข้าฟาร์ม มีการอาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้าและรองเท้า รถยนต์ภายนอกจอดห่างจากฟาร์ม โดยการป้องกันโรคจากภายนอก การป้องกันการแพร่โรคภายในฟาร์ม และการเพิ่มความต้านทานโรคให้สุกร ถือเป็นสิ่งที่ฟาร์มต้องทำเป็นประจำ
 
 
    นมน้ำเหลือง ถือเป็นอีกปัจจัยที่ต้องให้ความสำคัญ เพราะลูกสุกรได้รับภูมิคุ้มกันจากแม่ผ่านทางนมน้ำเหลืองเท่านั้น จึงต้องจัดการให้ลูกสุกรได้รับนมน้ำเหลืองจากแม่ของมันเองอย่างเพียงพออย่างน้อย 6 ชั่วโมง ซึ่งนมน้ำเหลืองจะผลิตก่อนคลอดประมาณ 1-2 วัน ดังนั้น ต้องให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพแม่ก่อนคลอดทำให้อยู่สบาย ไม่เครียด และไม่หอบ เพื่อผลิตนมน้ำเหลืองได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ ต้องทราบภาวะสุขภาพของฝูงว่ามีปัญหาโรคใดบ้าง แต่ละโรคก่อปัญหาในช่วงใด ซึ่งเป็นสิ่งที่แตกต่างกันไปในแต่ละฟาร์ม
 
       ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ เน้นการป้องกันโรคจากภายนอก ซึ่งรถยนต์ ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการนำเชื้อโรคเข้าสู่ฟาร์มจากการศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคปากและเท้าเปื่อย พบว่าปัจจัยที่นำเชื้อได้ดีที่สุด คือ รถยนต์ทั้ง รถจับสุกร รถส่งสุกร และรถขนอาหารสัตว์ ซึ่งจากการระบาดของโรค ASF ในประเทศจีน เวียดนาม และล่าสุดมีรายงานที่ประเทศกัมพูชา จึงต้องเฝ้าระวังรถขนส่งสุกรมีชีวิต ด้วยการทำโรงพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคและล้างทำความสะอาดที่บริเวณด้านสำคัญ 5 แห่ง คือ ด่านเชียงแสน ด่านเชียงของ ด่านหนองคาย ด่านมุกดาหาร และด่านปอยเปต

temp controller

 

 
       รถจับสุกรเป็นปัจจัยที่มีความเสี่ยงต่อการนำเชื้อเข้าฟาร์ม จึงต้องจัดการให้รถจับสุกรต้องผ่านการล้างทำความสะอาด และฆ่าเชื้อโรคก่อนจับสุกร ยกตัวอย่างในประเทศจีน ฟาร์มบริษัทที่อยู่ในพื้นที่โรค ASF ระบาด แต่ไม่ได้เสียหาย ใช้วิธีการซื้อที่ทำเป็นจุดจำหน่ายสุกรที่ห่างจากฟาร์มแล้วใช้รถขนส่งจากฟาร์มขนสุกรมาที่จุดจำหน่ายแล้วให้รถจับมารับโดยไม่ต้องเข้าไปถึงหน้าฟาร์ม ดังนั้นหากทุกฟาร์มให้ความสำคัญกับรถจับสุกร ไม่ให้เข้าไปในบริเวณฟาร์ม หรือต้องล้างทำความสะอาด ฆ่าเชื้อก่อนเข้าฟาร์ม ก็สร้างความมั่นใจได้ว่า ไม่มีเชื้อโรคจากภายนอกระบาดเข้าสู่ฟาร์ม ดังนั้นรถจับสุกร รถขนอาหาร ถือเป็นปัจจัยที่เจ้าของฟาร์มต้องใส่ใจ
 

1 Comment

  1. Pingback:New generation of swine farms - Siam Water Flame

Comments are closed.

error: เนื้อหาได้รับการคุ้มครอง !!