Menu Close

ระบบ ไนโตรเจน กำจัดมอด -ด้วงงวงข้าว

ระบบ ไนโตรเจน กำจัดมอด-ด้วงงวงข้าว

ท่ามกลางปัญหาวุ่น ๆ เกี่ยวกับความปลอดภัยของข้าวไทย เนื่องจากความวิตกกังวลถึงอันตรายจากการตกค้างของสารที่ใช้ในกระบวนการผลิตข้าวสารถุง
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)ร่วมกับบริษัทเอกชน บริษัท สยามวอเตอร์เฟลม ( Siam water Flame) เปิดเผยผลงานวิจัยระบบใหม่ซึ่งใช้ก๊าซไนโตรเจน คาดว่า จะเป็นทางเลือกใหม่เพื่อให้ได้ข้าวที่ปลอดภัยถึงมือผู้บริโภคทั่วไป
เดิมการกำจัดมอดและด้วงในข้าวสารที่ใช้กันมี 3 วิธีด้วยกัน ได้แก่
 
ระบบไนโตรเจน กำจัดมอด-ด้วงงวงข้าว
 
1. การใช้สารเคมีเมธิลโบรไมด์ ที่จะห้ามใช้ภายในปี พ.ศ. 2558 นี้ ซึ่งเป็นไปตามพิธีสารมอนทรีออลว่าด้วยการลดและเลิกสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน ที่กำหนดให้ประเทศภาคีสมาชิกจำนวน 177 ประเทศ ดำเนินการลดและเลิกการใช้สารเมทิลโบรไมด์ โดยกำหนดให้กลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วต้องยกเลิกใช้ภายในปี 2548 สำหรับกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาได้รับการผ่อนผัน
และต้องยกเลิกการใช้ภายในปี 2558
 
2 เป็นการใช้สารเคมีฟอสฟีนหรืออะลูมิเนียมฟอสไฟด์ที่กำลังเป็นที่นิยมใช้สำหรับข้าวสารทั่วไปเนื่องจากมีต้นทุนต่ำและกำจัดได้เร็ว 
 
3. การเพิ่มปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้สิ่งมีชีวิตเบื่ออาหาร เพลีย หมดสติและตายไปเอง แต่วิธีนี้ต้นทุนการกำจัดสูงกว่าวิธีอื่น ใช้เวลาประมาณ 15 วัน ข้อกำหนดของการผลิตข้าวอินทรีย์ระบุให้ใช้วิธีนี้ เพราะไม่ต้องใช้สารเคมีในกระบวนการผลิต เวลานี้มีวิธีใหม่เพิ่มมาอีก ซึ่งเป็นผลงานของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) สนับสนุนทุนให้บริษัท สยาม วอเตอร์เฟลม จำกัด เป็นผู้พัฒนาระบบใหม่ให้บริษัท นครหลวงค้าข้าว จำกัด นำไปใช้ในการผลิตข้าวอินทรีย์ส่งออก โดยมีกรมวิชาการเกษตรเป็นผู้ร่วมวิจัยและวิเคราะห์ผลการทดสอบประสิทธิภาพของระบบใหม่ด้วย
 
ทั้งนี้ระบบที่พัฒนาขึ้นใหม่เกิดขึ้นภายใต้“โครงการระบบกำจัดมอดและด้วงงวงข้าวโดยใช้ก๊าซไนโตรเจน” ซึ่งมีต้นทุนการกำจัดต่ำกว่าการใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และใช้เวลาเร็วกว่าเดิม อีกทั้งยังเหมาะกับการใช้กับข้าวอินทรีย์เช่นกัน
 
วิธี กำจัดมอด ใหม่มาจากแนวคิดที่ว่า อากาศที่อยู่รอบตัวเรามีปริมาณก๊าซไนโตรเจน 77% ก๊าซออกซิเจน 21% ที่เหลือเป็นก๊าซอื่นๆ สิ่งมีชีวิตจำเป็นต้องใช้ก๊าซออกซิเจนในการหายใจ
ดังนั้นหากมีปริมาณก๊าซออกซิเจนในระดับต่ำมาก สิ่งมีชิวิตจะเริ่มหายใจถี่เร็วขึ้นและตายในที่สุด
ระบบใหม่ที่พัฒนาขึ้นจึงมีกระบวนการทำงานโดยใช้วิธีดูดอากาศภายในห้องที่เก็บข้าวสารมาผ่านเครื่องดูดซับก๊าซออกซิเจนและปล่อยก๊าซที่เหลือกลับสู่ห้องเก็บอีกครั้ง โดยขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 6-8 ชั่วโมง
ทำให้ปริมาณก๊าซออกซิเจนเหลือต่ำกว่า 0.5% จากนั้นปล่อยทิ้งไว้ที่สัดส่วนนี้ ซึ่งจะมีผลทำให้มอดแป้งและด้วงงวงข้าวตายภายใน 7 วัน โดยตัวเต็มวัยตายก่อน และตามด้วยตัวอ่อน ไข่และดักแด้ ตามลำดับ
ซึ่งในระยะดักแด้ที่จะฝังตัวเข้าไปในเมล็ดข้าวและสร้างใยรอบตัวเองตายยากที่สุด
 
นอกจากมีข้อดีเป็นวิธีที่ปลอดภัย เพราะเกิดจากดัดแปลงอากาศตามธรรมชาติ ก๊าซไนโตรเจนเป็นก๊าซ เฉื่อย ไม่เป็นพิษเป็นภัย ไม่ทำปฏิกิริยากับธาตุอื่นและไม่ใช้เคมีแล้ว ยังเป็นวิธีที่มีค่าใช้จ่ายถูกกว่า
โดยมีค่าใช้จ่ายด้านก๊าซราว 10 บาทต่อตัน เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่าย 110 บาทต่อตันของวิธีใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
คาดว่า ระบบใหม่นี้จะเป็นประโยชน์ทั้งต่อประชาชนผู้บริโภคข้าวในประเทศทั่วไปและต่อการส่งออกข้าวอินทรีย์ของประเทศด้วย
ซึ่งไทยส่งออกข้าวจำนวน 5,966 ตันต่อปี รวมมูลค่าประมาณ 243 ล้านบาท จากการผลิตข้าวอินทรีย์ในประเทศทั้งหมดประมาณ 69,000 ตัน ซึ่งมีผลผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 500 กิโลกรัมต่อไร่
 
ที่มาข้อมูล : http://www.acnews.net/detailcsr.php?news_id=N255602578
 https://www.thairath.co.th/content/368927

ระบบ ไนโตรเจน กำจัดมอด-ด้วงงวงข้าว

 
ท่ามกลางปัญหาวุ่น ๆ เกี่ยวกับความปลอดภัยของข้าวไทย เนื่องจากความวิตกกังวลถึงอันตรายจากการตกค้างของสารที่ใช้ในกระบวนการผลิตข้าวสารถุง
 
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)ร่วมกับบริษัทเอกชน บริษัท สยามวอเตอร์เฟลม ( Siam water Flame) เปิดเผยผลงานวิจัยระบบใหม่ซึ่งใช้ก๊าซไนโตรเจน คาดว่า จะเป็นทางเลือกใหม่เพื่อให้ได้ข้าวที่ปลอดภัยถึงมือผู้บริโภคทั่วไป
เดิมการกำจัดมอดและด้วงในข้าวสารที่ใช้กันมี 3 วิธีด้วยกัน ได้แก่
 
ระบบไนโตรเจน กำจัดมอด-ด้วงงวงข้าว
 
1. การใช้สารเคมีเมธิลโบรไมด์ ที่จะห้ามใช้ภายในปี พ.ศ. 2558 นี้ ซึ่งเป็นไปตามพิธีสารมอนทรีออลว่าด้วยการลดและเลิกสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน ที่กำหนดให้ประเทศภาคีสมาชิกจำนวน 177 ประเทศ ดำเนินการลดและเลิกการใช้สารเมทิลโบรไมด์ โดยกำหนดให้กลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วต้องยกเลิกใช้ภายในปี 2548 สำหรับกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาได้รับการผ่อนผัน และต้องยกเลิกการใช้ภายในปี 2558
 
2 เป็นการใช้สารเคมีฟอสฟีนหรืออะลูมิเนียมฟอสไฟด์ที่กำลังเป็นที่นิยมใช้สำหรับข้าวสารทั่วไปเนื่องจากมีต้นทุนต่ำและกำจัดได้เร็ว 
 
3. การเพิ่มปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้สิ่งมีชีวิตเบื่ออาหาร เพลีย หมดสติและตายไปเอง แต่วิธีนี้ต้นทุนการกำจัดสูงกว่าวิธีอื่น ใช้เวลาประมาณ 15 วัน ข้อกำหนดของการผลิตข้าวอินทรีย์ระบุให้ใช้วิธีนี้ เพราะไม่ต้องใช้สารเคมีในกระบวนการผลิต เวลานี้มีวิธีใหม่เพิ่มมาอีก ซึ่งเป็นผลงานของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) สนับสนุนทุนให้บริษัท สยาม วอเตอร์เฟลม จำกัด 
 
เป็นผู้พัฒนาระบบใหม่ให้บริษัท นครหลวงค้าข้าว จำกัด นำไปใช้ในการผลิตข้าวอินทรีย์ส่งออก โดยมีกรมวิชาการเกษตรเป็นผู้ร่วมวิจัยและวิเคราะห์ผลการทดสอบประสิทธิภาพของระบบใหม่ด้วย
 
ทั้งนี้ระบบที่พัฒนาขึ้นใหม่เกิดขึ้นภายใต้“โครงการระบบกำจัดมอดและด้วงงวงข้าวโดยใช้ก๊าซไนโตรเจน” ซึ่งมีต้นทุนการกำจัดต่ำกว่าการใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และใช้เวลาเร็วกว่าเดิม อีกทั้งยังเหมาะกับการใช้กับข้าวอินทรีย์เช่นกัน
 
วิธี กำจัดมอด ใหม่มาจากแนวคิดที่ว่า อากาศที่อยู่รอบตัวเรามีปริมาณก๊าซไนโตรเจน 77% ก๊าซออกซิเจน 21% ที่เหลือเป็นก๊าซอื่นๆ สิ่งมีชีวิตจำเป็นต้องใช้ก๊าซออกซิเจนในการหายใจ

ดังนั้นหากมีปริมาณก๊าซออกซิเจนในระดับต่ำมาก สิ่งมีชิวิตจะเริ่มหายใจถี่เร็วขึ้นและตายในที่สุด
 
ระบบใหม่ที่พัฒนาขึ้นจึงมีกระบวนการทำงานโดยใช้วิธีดูดอากาศภายในห้องที่เก็บข้าวสารมาผ่านเครื่องดูดซับก๊าซออกซิเจนและปล่อยก๊าซที่เหลือกลับสู่ห้องเก็บอีกครั้ง โดยขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 6-8 ชั่วโมง
 
ทำให้ปริมาณก๊าซออกซิเจนเหลือต่ำกว่า 0.5% จากนั้นปล่อยทิ้งไว้ที่สัดส่วนนี้ ซึ่งจะมีผลทำให้มอดแป้งและด้วงงวงข้าวตายภายใน 7 วัน โดยตัวเต็มวัยตายก่อน และตามด้วยตัวอ่อน ไข่และดักแด้ ตามลำดับ
 
ซึ่งในระยะดักแด้ที่จะฝังตัวเข้าไปในเมล็ดข้าวและสร้างใยรอบตัวเองตายยากที่สุด
 
นอกจากมีข้อดีเป็นวิธีที่ปลอดภัย เพราะเกิดจากดัดแปลงอากาศตามธรรมชาติ ก๊าซไนโตรเจนเป็นก๊าซ เฉื่อย ไม่เป็นพิษเป็นภัย ไม่ทำปฏิกิริยากับธาตุอื่นและไม่ใช้เคมีแล้ว ยังเป็นวิธีที่มีค่าใช้จ่ายถูกกว่า
 
โดยมีค่าใช้จ่ายด้านก๊าซราว 10 บาทต่อตัน เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่าย 110 บาทต่อตันของวิธีใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

คาดว่า ระบบใหม่นี้จะเป็นประโยชน์ทั้งต่อประชาชนผู้บริโภคข้าวในประเทศทั่วไปและต่อการส่งออกข้าวอินทรีย์ของประเทศด้วย

ซึ่งไทยส่งออกข้าวจำนวน 5,966 ตันต่อปี รวมมูลค่าประมาณ 243 ล้านบาท จากการผลิตข้าวอินทรีย์ในประเทศทั้งหมดประมาณ 69,000 ตัน ซึ่งมีผลผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 500 กิโลกรัมต่อไร่
 
ที่มาข้อมูล : http://www.acnews.net/detailcsr.php?news_id=N255602578
 https://www.thairath.co.th/content/368927
 
Siam water Flame เรายังมีเครื่อง Nitrogen generator  ไว้บริการสำหรับท่านที่สนใจ
error: เนื้อหาได้รับการคุ้มครอง !!